Home คดีอาญา หลักการในการนับระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์

หลักการในการนับระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์

5225

กรณีการนับระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ติดต่อจะถือเอาระยะเวลาครอบครองของผู้ใด และการที่เจ้าของที่ดินนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนอง จะมีผลต่อการนับระยะเวลาครองครองปรปักย์หรือไม่

บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้ คือ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๑๓๘๒ บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นตัวอย่างให้ศึกษา ดังต่อไปนี้ คือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๔๖/๒๕๖๔

ผ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง เมื่อการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดโต้แย้ง การเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องจึงเป็นการครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของแล้ว  การนับระยะเวลาในการครอบครองติดต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒  ถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองเท่านั้น การที่ ผ. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองจึงหากระทบต่อการนับระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทไม่  เมื่อผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี ๒๕๓๕  จนถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาติดต่อเกิน ๑๐  ปี แล้ว  ผู้ร้องย่อมได้ไปวึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒

ดังนั้นพอสรุปได้ว่า การนับระยะเวลาในการครอบครองปรปักย์ ให้นับระยะเวลาฝ่ายผู้ครอบครองเท่านั้น และการจดทะเบียนจำนองไม่มีผลต่อการนับระยะเวลา

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments