ลงบันทึกประจำวันตกลงจบค่าเสียหายเรื่องรถชน นายจ้างหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่
มีบ่อย ๆ คือเรื่องขับรถประมาททำให้เขาเสียหาย เมื่อไปถึงสถานีตำรวจมี การลงบันทึกรายงานประจำวันไว้ว่า คนขับยอมรับว่าขับรถโดยประมาท ยอมใช้ ค่าเสียหายเป็นเงินเท่าไร แล้วคู่กรณีทั้งสองฝ่ายลงชื่อไว้ ต่อมาไปทวงคนขับรถก็ ไม่ยอมชำระ หากฟ้องศาลก็ไม่มีหลักทรัพย์อะไรที่จะบังคับคดี แถมถูกนายจ้างไล่ ออกจากงาน คู่กรณีจึงฟ้องนายจ้างให้รับผิดตามมาตรา ๔๒๕ ในกรณีที่นายจ้าง ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้ทำไปในทางการที่จ้าง หนี้ละเมิดต้องมีอยู่ หากหนี้ละเมิดระงับแล้ว นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด บันทึกรายงานประจำวันที่ทั้งสอง ฝ่ายลงชื่อด้วยกัน ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ละเมิดก็ระงับ เพราะเป็นการแปลงหนี้ใหม่ กลายเป็นหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นายจ้างก็หลุดทันที หนี้ตามสัญญาฟ้องคนขับได้เพียงคนเดียว
ฎ.๑๓ ๙๙/๒๕๒๖ “จำเลยที่ ๑ ขับรถชนรถของ ป. เสียหายจึงทำ ข้อตกลงค่าเสียหายในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี มีความว่า ป. เรียกร้องให้ จำเลยที่ ๑ นำรถของ ป. ไปซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดี จำเลยที่ ๑ ตกลงตามที่ ป. เรียกร้อง คู่กรณีตกลงกันได้ ไม่ประสงค์จะฟ้องร้องกันในทางแพ่งและทาง อาญาต่อกันอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลให้มูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ ๑ ทำระงับสิ้นไป ดังนั้นจำเลยที่ ๒ ผู้เป็น นายจ้างของจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๓ ผู้รับประกันภัยรถของจำเลยที่ ๒ จึง พลอยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วย”
การลงบันทึกรายงานประจำวันโดยคู่กรณีลงลายมือชื่อไว้ด้วยจะเป็น สัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ ต้องไปดูเรื่องสัญญาประนีประนอมยอม ความตามมาตรา ๘๕๐ หากทำเพื่อระงับข้อพิพาท หนี้ละเมิดก็ระงับ ในกรณีที่ บันทึกว่า ยอมรับว่าเป็นฝ่ายผิดที่ทำให้อีกฝ่ายได้รับความเสียหายและยินดีที่จะ ชดใช้ค่าเสียหายให้ แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดจำนวนค่าเสียหายไว้ กรณีนี้ข้อ พิพาทยังไม่ระงับ มูลหนี้ละเมิดยังคงมีอยู่ จึงฟ้องนายจ้างได้
iber.me/tanai-athip