ผู้เสียหายในคดีเช็ค
เนื่องจากเช็คเป็นตัวเงินชนิดหนึ่งซึ่งกฎหมายแพ่งให้โอนเปลี่ยนมือกันได้ หลายๆ ทอด แม้เช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินไปแล้วก็ยังสามารถโอนกันต่อไปได้อีก
(คำพิพากษาฎีกาที่ 313/2521) และผู้รับโอนหลังจากเช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็กลับมาเป็นผู้ทรงเช็คนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 ย่อมมีอำนาจ
ฟ้องผู้ออกเช็คหรือผู้สั่งจ่ายเช็คและบุคคลทั้งหลายที่ลงลายมือชื่อในเช็คได้ตามมาตรา 914 แต่ในทางคดีอาญานั้นถือว่าผู้เสียหายคือผู้ทรงเช็คขณะเกิดเหตุความผิดเกิดขึ้นคือ
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นเท่านั้นจึงถือว่าเป็นผู้เสียหาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 189112524) ถ้าไม่ใช่ผู้ทรงเช็คที่แท้จริงในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 945/2523, 1980/2518)
เช่น ผู้เก็บรักษาเช็คแทนผู้ทรงที่แท้จริงย่อมไม่ใช่ ผู้เสียหาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 2641/2518) จึงต้องพิจารณาให้ดีว่าบุคคลใดอยู่ในฐานะเป็นคือวันที่ผู้เสียหายในคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ค
ผู้เสียหายคนนั้นเท่านั้นจึงมีสิทธิร้องทุกข์และหรือฟ้องร้อง ดำเนินคดีอาญากับผู้ออกเช็คตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534
หากไม่ใช่ผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ ผลก็คือไม่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนิน คดีอาญาผู้ออกเช็ค เช่น จำเลยออกเช็คให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ โจทก์ร่วมสลักหลังส่งมอบ เช็คนั้นให้แก่ ซ. เมื่อถึงกำหนด
ซ. นำเช็คไปยื่นต่อธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็ค ปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้วันเกิดการกระทำผิดคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คคือวันที่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงินซึ่งในขณะนั้น ซ. เป็นผู้ทรงเช็ค ซ. จึงเป็นผู้เสียหาย
ส่วนโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย เกี่ยวกับคดีอาญา แม้หลังจากเกิดเหตุโจทก์ร่วมจะได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่ ซ. ไปแล้วก็ตาม โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ พนักงานอัยการโจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้เพราะ ถือว่าผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์นั่นเอง
(คำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 752/2520)
ปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานนคร สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ