Home คดีครอบครัว ฟ้องหย่าชาวเยอรมัน มีเหตุใดบ้าง มีวิธีการอย่างไร

ฟ้องหย่าชาวเยอรมัน มีเหตุใดบ้าง มีวิธีการอย่างไร

5839

ฟ้องหย่าชาวเยอรมัน มีเหตุใดบ้าง มีวิธีการอย่างไร

ประเทศเยอรมัน ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี ๒๐๐๒ ได้ กำหนด สมรสจะนำความยากลำบากหรือเดือดร้อนเสียหายแก่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้การสมรส ย่อมยังไม่สิ้นสุดลง

หลักเกณฑ์และวิธีการหย่าในทำนองเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรป โดยยกเลิกหลักการ หย่าที่เป็นการลงโทษคู่สมรสฝ่ายที่กระทำผิดมาเป็นการหย่าที่เป็นมาตรการแก้ไขการสมรสที่แตก สลายไปแล้ว ในปัจจุบันนี้เหตุแห่งการหย่าตามมาตรา ๑๕๑๕ มีเพียงประการเดียวที่คู่สมรส จะนำมากล่าวอ้างเพื่อฟ้องหย่าต่อศาลคือ การสมรสได้แตกสลายโดยการใช้ชีวิตร่วมกันของคู่ สมรสนั้นไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปได้ และโอกาสที่จะกลับคืนดีกันของคู่สมรสก็ไม่อาจคาดหวัง ได้เช่นเดียวกัน โดยมาตรา ๑๕๖๖ ได้กำหนดข้อสันนิษฐานว่าการสมรสได้แตกสลายไปแล้ว ๒ ประการคือ (๑) คู่สมรสได้แยกกันอยู่เป็นเวลา ๑ ปี และคู่สมรสทั้งสองฝ่ายยื่นคำร้องขอหย่า หรือคู่สมรสฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องขอหย่าและอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับการยื่นคำร้องนั้น หรือ (๒) คู่สมรส ได้แยกกันอยู่เป็นเวลา ๓ ปี อย่างไรก็ดี แม้การสมรสได้แตกสลายไปแล้วก็ตาม แต่หากปรากฏว่า การดำรงชีวิตสมรสต่อไปเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อประโยชน์สุขของบุตรผู้เยาว์ หรือการสิ้นสุดของการ

–>1.ฟ้องหย่าที่ศาลไหน

ฟ้องที่ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ ในจังหวัดหรือเขตที่ตั้งอยู่อยู่กินกัน หรือ ศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของภูมิลำเนาจำเลย ที่จำเลยมีทะเบียนบ้านอยู่

–>2.ฟ้องหย่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

  • สำเนาบัตรประชาชน ของตนเอง และจำเลย
  • ทะเบียนบ้าน ของตนเอง และจำเลย
  • ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรส
  • รูปถ่ายการอยู่กิน
  • พยานหลักฐานที่เกี่ยวกับเหตุหย่า
  • สูติบัตรบุตร
  • หลักฐานหรือตารางรายการสินสมรส
  • หลักฐานที่เกี่ยวกับหนี้สินในระหว่างสมรส
  • หลักฐานค่าเลี้ยงชีพ
  • หลักฐานค่าเลี้ยงดูบุตร

–>3.เหตุแห่งการฟ้องหย่ามีเอกสารอะไรบ้าง

  1. ยกย่องหญิงอื่น/ชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้
  2. ประพฤติชั่ว ไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่
    1. ได้รับความอับอาย
    2. ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง
    3. ได้รับความเสียหายเกินควร
  3. ทำร้ายร่างกาย หรือทรมานจิตใจ หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามบุพการี
  4. ทิ้งล้างอีกฝ่ายเกินหนึ่งปี
    1. ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี
    2. สมัครใจแยกกันอยู่เกิน3ปี
  5. ถูกศาลสั่งให้สาบสูญ
  6. ไม่ให้ความช่วยเหลือหรืออุปการะเลี้ยงดู หรือทำตนเป็นปฏิปักษ์
  7. วิกลจริตมาเกิน 3 ปี
  8. ผิดฑัณฑ์บนที่เคยตกลงกันไว้เป็นหนังสือ
  9. เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
  10. ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

–>4.เสียค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ในคดีฟ้องหย่า

  • หย่าอย่างเดียว 200 บาท ค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ
  • หย่ามีสินสมรส เสียค่าธรรมเนียม 2 เปอร์เซ็นต์ และค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ
  • หย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ เสีย 200 บาท และค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ
  • หย่าเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร เสีย 200 บาท และค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ

–>5ฟ้องหย่า ใช้ระยะเวลาประมาณเท่าใด

  • ประมาณ2-6เดือนในศาลชั้นต้น
  • ประมาณ3เดือนถึง6เดือนในศาลอุทธรณ์

–>6ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้หรือไม่

ได้มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. คู่ความผู้ขอไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ โดยขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้อง หรือ ต่อสู้คดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือ ชั้นฎีกา ก็ได้ ตามมาตรา 155

2. กำหนดเวลายื่นคำร้อง ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่จะฟ้อง หรือที่ได้ฟ้องคดีไว้แล้ว พร้อมกับคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์หรือคำฟ้องฎีกา คำร้องสอดหรือคำให้การ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าบุคคลนั้นตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในภายหลัง จะยื่นคำร้องในเวลาใดๆก็ได้ มาตรา 156 วรรคหนึ่ง

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments