หลอกขอเอาโฉนดที่ดินไปถ่ายเอกสาร แล้วเอาโฉนดปลอมมาเปลี่ยนให้ เอาโฉนดจริงไป เป็นลักทรัพย์โดยใช้อุบาย
ฎีกาที่ ๔๔๙๐/๒๕๕๒ (ฎ.ส.ล. ๑๑, น. ๒๕๕๒) ข้อเท็จจริงคือ นายแดงมาพบนางดำ สอบถามราคาที่ดินซึ่งนางดำประสงค์จะขาย โดยขอสำเนาโฉนดไปเพื่อนำไปปรึกษากับหุ้นส่วน ต่อมานายแดงมาพบ
นางดำอีก โดยแจ้งแก่นางดำว่านายแดงตกลงซื้อที่ดินโดยขอนำโฉนด ที่ดินฉบับจริง สำเนาทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปถ่ายเอกสารที่ร้านในตลาด นางดำมอบ เอกสารเหล่านั้นให้นายแดง
หลังจากนั้นนายแดงนำมาคืนโดยสับเปลี่ยนเอาโฉนดปลอมมอบ ให้นางดำโดยเอาโฉนดฉบับจริงเก็บไว้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำเป็นความผิดตาม มาตรา ๑๔๘ และมาตรา ๓๓๔ เพราะเป็นการ
“ลักโฉนดที่ดินโดยวิธีใช้กลอุบาย” ข้อสังเกต การหลอกเอาโฉนดที่ดินฉบับจริงไปขอถ่ายเอกสาร ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบ โฉนดให้ เป็นการ “หลอกเอาทรครอบครอง” จึงเป็นการลักทรัพย์โดยใช้อุบาย ตรงตามที่
ศาลฎีกาวินิจฉัย
ข้อสังเกต คำว่า “ลักทรัพย์โดยใช้อุบาย” (หมายเหตุ บางทีก็เรียกกันว่า “ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย”) เป็นคำที่ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย และศาลฎีกาก็ไม่ได้ใช้ คำนี้ตรงๆ
ถ้อยคำที่ใกล้เคียงที่สุดคือ ฎีกาที่ ๑๔๖๓/๒๕๐๓ น. ๑๖๓๑ (เรื่องหลอกให้ ผู้รับฝากจักรยานส่งมอบการครอบครองจักรยานให้โดยบอกว่าเพื่อนซึ่งเป็นเจ้าของจักรยาน ให้เปลี่ยนกัน
ซึ่งศาลฎีกากล่าวว่า การหลอกดังกล่าวเป็น “อุบายประกอบส่วนหนึ่งใน อันที่จะทำให้การลักทรัพย์ที่จำเลยได้กระทำมาแล้วเป็นขั้นๆ นั้น เป็นผลสำเร็จเท่านั้นเอง”
ปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานนคร สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ