ออกเช็คโดยไม่มีเจตนาเพื่อชำระหนี้ต่อกันมีฎีกา
หนี้นั้น ต้องเป็นกรณีที่คู่กรณีมีเจตนาจะให้ผูกพัน และเจตนาจะชำระหนี้กันได้ตามกฎหมายด้วย ถ้านำสืบได้ความว่าเจตนาออกเช็คให้แก่กัน เพื่อใช้เป็นหลักฐานแทนสัญญากู้เงิน
ดังนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริง (เทียบคำ พิพากษาฎีกาที่ 275-276/2506, 317/2508, 8622512, 1828/2512) ข้อนี้จึงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง
ที่จะนำสืบและที่ศาลจะรับฟังเป็นยุติว่าเป็นการออกเช็คโดยเจตนาเพื่อชำระหนี้หรือไม่ ถ้าฟัง เป็นยุติว่าเป็นการออกเช็คเพื่อประกันหนี้หรือออกเช็คโดยมีข้อตกลงกันว่าจะไม่เอาเช็คนั้นไป ขึ้นเงิน ดังนี้ก็ไม่เป็นความผิดทางอาญา
(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2128/2525, 1177/2517) เช่น ทำสัญญากู้เงินโดยมีข้อความระบุว่าเพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้า ได้นำเช็ค 1 ฉบับแนบคู่สัญญาให้ท่านยึดไว้เป็นประกันด้วย ดังนี้ถือว่าจำเลยออกเช็คให้
โจทก์เป็นหลักประกันในการกู้เงิน จึงมิใช่ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง จำเลยไม่มีความผิด ทางอาญา ( คำพิพากษาฎีกาที่ 1351/2542) หมายความว่าศาลฎีกาวินิจฉัยโดยสรุปว่ากรณี
สำหรับการออกเช็คเพื่อชำระเช่นนี้ไม่เป็นการออกเช็คโดยเจตนามิให้มีการใช้เงินตามเช็ค จึงไม่เป็นความผิดทางอาญา (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1783-1799/2519) เช่น
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้งและออกเช็ค ชำระเงินกู้แต่เช็คเหล่านั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังให้จำเลยกู้เงิน อีกและทำสัญญากู้ขึ้นใหม่
โดยการกู้แต่ละครั้งจำเลยก็นำเงินสดมาชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ ด้วยพร้อมกับนำเช็คฉบับใหม่มาชำระหนี้เงินกู้เหล่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้ดำเนินคดีอาญา กับเช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
ดังนี้แสดงว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีความประสงค์จะให้ ผูกพันกันตามเช็คพิพาท ถือว่าโจทก์รับเช็คไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้น จำเลยไม่มีความผิด คำพิพากษาฎีกาที่ 7187/2544)
ปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานนคร สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ