Home คดีครอบครัว ขั้นตอนการทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง มีอะไรบ้างมีขั้นตอนอย่างไร

ขั้นตอนการทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง มีอะไรบ้างมีขั้นตอนอย่างไร

6518

ขั้นตอนการทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง มีอะไรบ้างมีขั้นตอนอย่างไร

๑.ให้ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอ (นายอำเภอ) ต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน

๒. นายอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบแล้วนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้น ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง

๓. เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่นายอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกัน กับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

๔. ข้อความที่นายอำเภอจดไว้นั้น ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี จดลงไว้ด้วยตนเอง เป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุมาตรา ๑ ถึง ๓ ของมาตรา ๑๖๕๔ คือ หลักเกณฑ์ ๓ ข้อ ตามที่ระบุไว้ข้างต้นนี้ แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ

๕. การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ไม่จำเป็นต้องทำในที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอเสมอไป ถ้าผู้ทำร้องขอจะทำนอกที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอก็ได้

๖. เมื่อทำพินัยกรรมเสร็จแล้ว ถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่มีความประสงค์จะขอรับเอาไปเก็บรักษาเอง โดยทันทีแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอจัดเก็บรักษาพินัยกรรมนั้นไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ โดยใช้ความระมัดระวังเช่นเดียวกับการเก็บหนังสือสำคัญในราชการ ในกรณีนี้ ให้นายอำเภอออกใบรับ ให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมยึดถือไว้เพื่อเป็นหลักฐาน

๗. เมื่อความปรากฏว่า ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายแล้ว ผู้จัดการมรดกหรือผู้ได้รับทรัพย์มรดก โดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด หรือผู้ซึ่งทำพินัยกรรมสั่งให้มอบพินัยกรรมให้ จะขอรับพินัยกรรมไปได้ โดยแสดงหลักฐานการตายของผู้ทำพินัยกรรมเมื่อสอบสวนเป็นที่พอใจแล้ว ให้ นายอำเภอมอบพินัยกรรมนั้นให้ไปโดยให้ผู้รับลงชื่อในทะเบียนพินัยกรรมและต้นขั้วใบรับ แล้วเก็บใบ ท่อนปลายนั้นรวมเรื่องไว้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments