เสียหายแก่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอันตรายแก่กายหรือไม่เป็นอันตรายแก่ กาย การข่มขืนกระทำชำเราหรืออนาจาร เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องเสียหายแก่ ร่างกาย สำหรับความเสียหายต่อจิตใจหมายถึงเป็นอันตรายแก่จิตใจ ทำให้ตกใจ จนช็อก จิตใจในที่นี้แม้จะไม่มีรูปร่างแต่ไม่ใช่อารมณ์ เช่น ดีใจ เสียใจ รัก โกรธ อับอาย เศร้าโศก ว้าเหว่ เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เป็นอันตรายต่อจิตใจ
คำพิพากษาศาลฎีกา ๒๗๓/๒๕๐๙ “อันตรายต่อจิตใจต้องเป็นผลจากการทำร้ายเพราะ ตาม ปอ. มาตรา ๒๙๕ บัญญัติว่า เป็นเหตุให้เกิดอันตราย แต่ความรู้สึกว่าถูก เหยียดหยาม เจ็บใจ แค้นใจเหล่านี้เป็นอารมณ์ ไม่เป็นอันตรายต่อจิตใจ”
คำพิพากษาศาลฎีกา ๒๕๑๖/๒๕๒๘ “โจทก์ได้รับโทรเลขที่จำเลยที่ ๑ ปรุข้อความผิด เป็นว่าบุตรสาวโจทก์ถึงแก่กรรมแล้ว ความเศร้าโศกเสียใจของโจทก์เป็นเพียง อารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อทราบข่าวร้าย ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้สิทธิโจทก์ เรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้ได้”
ท่านอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้บันทึกหมายเหตุไว้ท้าย คำพิพากษาศาลฎีกา.๒๔๑๖/๒๕๒๕ นี้ ไม่เห็นด้วยกับในข้อกฎหมายที่ว่าความเศร้าโศกเสียใจในกรณีนี้เรียก ค่าเสียหายไม่ได้ โดยให้เหตุผลอย่างละเอียดน่าศึกษา ซึ่งพอสรุปได้ว่า “ปัญหา เรื่องความเสียหายทางจิตใจมีได้ในทางกฎหมายเพียงใดหรื อไม่ เพราะความ เสียหายทางจิตใจไม่มีรูปร่าง มองไม่เห็นได้อย่างความเสียหายชนิดที่มีรูปร่าง ทางร่างกายหรือทรัพย์สิน ในทางอาญายังมีความผิดเมื่อเป็นอันตรายต่อจิตใจ ได้ จนถึงจิตพิการอย่างติดตัว ในทางแพ่งก็มีความเสียหายทางจิตใจอย่างชัด แจ้ง เช่น ในมาตรา ๔๔๖ เรียกว่า ความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในกรณีละเมิดต่อ ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือทุรศีลธรรมแก่หญิง การไม่รับรู้ความเสียหายทาง จิตใจนั้น ไม่ตรงกับความเป็นจริงแห่งพฤติการณ์ของมนุษย์ ความเสียหายทาง จิตใจนั้นอาจร้ายแรงกว่าความเสียหายที่มีรูปร่างเสียอีก ที่ว่าความเศร้าโศก เสียใจเป็นแต่อารมณ์เมื่อทราบข่าวร้ายนั้น อารมณ์ก็เป็นที่เวทนาที่เกิดแก่ใจ มาตรา ๔๒๐ มิได้จำกัดว่าต้องเป็นความเสียหายที่มีรูปร่าง ความในตอนท้ายของ มาตรา ๔๒๐ ที่ว่า “จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น มิได้จำกัดว่าต้อง เป็นความเสียหายมีรูปร่าง และกว้างพอที่จะคลุมถึงความเสียหายต่อจิตใจด้วย
iber.me/tanai-athip