ความรับผิดในการกระทำของผู้รับจ้าง ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
ความรับผิดในการกระทำของผู้รับจ้าง มาตรา ๔๒๘ “ผู้ว่าจ้างทำ ของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่ บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดใน ส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง”
ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างนี้ หมายถึงสัญญาจ้างทำของตามมาตรา ๕๔๗ ซึ่งบัญญัติว่า “อันว่าจ้างทำของนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น” ผู้รับจ้างทำของมีหนี้ที่จะต้องส่งมอบผลสำเร็จแห่งการงานที่จ้างให้แก่ผู้ว่าจ้าง จึงต่างกับนายจ้างลูกจ้างและตัวการตัวแทนตรงที่ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิออกคำสั่ง บังคับบัญชาผู้รับจ้าง โดยหลักแล้วผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้ รับจ้างได้ทำขึ้นแก่ผู้อื่น เพราะผู้รับจ้างเป็นผู้กระทำให้เกิดความเสียหาย มิใช่ ผู้ว่าจ้างเป็นผู้กระทำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ .๑๑๗๖/๒๕๑๐ “ช่างซ่อมรถไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของ เจ้าของรถยนต์ เพราะตามสัญญาจ้างทำของ ผู้รับจ้างตกลงจะท่างานสิ่งใดสิ่ง หนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุมบังคับบัญชา ของผู้ว่าจ้างแต่ประการใด และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงานหรือบงการแก่ผู้รับ จ้างได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ใช่ลูกจ้างของเจ้าของรถยนต์ตามความหมายในมาตรา ๔๒๕ การที่ผู้รับจ้างขับรถยนต์คันที่มาว่าจ้างให้ซ่อมไปส่งเจ้าของรถยนต์แล้ว ขากลับมาอู่ซ่อมรถ ผู้รับจ้างขับรถไปชนกับรถจักรยานยนต์นั้นเป็นการกระทำ ละเมิดของผู้รับจ้างโดยลำพัง เจ้าของรถยนต์ไม่ได้นั่งไปในรถด้วย จึงไม่ต้อง รับผิดต่อโจทก์ในการกระทำละเมิดของผู้รับจ้าง
ตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ..๑๑๗๖/๒๕๑๐ นี้เป็นการอธิบายให้เห็นชัดว่าการขับรถไปแทน โดยเขาใช้หรือวานไม่ใช่เป็นการทำกิจการกับบุคคลที่สาม จึงไม่ต้องรับผิดใน ฐานะตัวการตัวแทน และไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างด้วย และแม้ว่าเจ้าของรถจะว่าจ้าง ซ่อมรถ แต่การที่ผู้รับจ้างขับรถไปส่งเจ้าของรถที่บ้าน กิจการนี้ไม่ใช่กิจการจ้าง ทำของ และเหตุเกิดในระหว่างกลับอู่โดยเจ้าของรถไม่ได้นั่งมาด้วย
iber.me/tanai-athip