ความรับผิดในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
ความรับผิดในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ แยกเป็นความรับผิด ของบิดา มารดา และผู้อนุบาลตาม มาตรา ๔๒๙ และความรับผิดของผู้ดูแล คือ ครู นายจ้าง และผู้รับดูแล ตาม มาตรา ๔๓๐
ผู้อนุบาล มาตรา ๔๒๙ “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือ วิกลจริต ก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของ บุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
ความรับผิดของบิดา มารดา และ ผู้ไร้ความสามารถรับผิด มาตรานี้ยืนยันว่าคนที่ไร้ความสามารถไม่ว่า จะเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ต้องรับผิดในผลละเมิดที่ตนได้ก่อให้เกิดขึ้น เรื่อง ความสามารถของผู้ไร้ความสามารถเพราะเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตตามกฎหมาย มีเฉพาะเรื่องการทำนิติกรรม กล่าวคือ ผู้ไร้ความสามารถมีแต่ถูกจำกัดในการ ใช้สิทธิโดยลำพัง จึงอาจไม่ต้องรับผิดในการแสดงเจตนาทำนิติกรรม แต่ ในทางละเมิดเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิ ผู้ไร้ความสามารถจึงต้องรับผิดในทาง ละเมิดเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
ผู้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์ คือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่ว่าจะโดยอายุหรือโดยการสมรส ส่วนบุคคลวิกลจริตหมายรวมทั้งบุคคลที่ศาล สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและที่มิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถด้วย ส่วนบุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถและหญิงมีสามีต้องรับผิดในการทำละเมิด เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ผู้พิทักษ์หรือสามีไม่ต้องมาร่วมรับผิดด้วย
ที่มาตรา ๔๒๙ ให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลร่วมรับผิดด้วยนี้ หมายถึง ว่าผู้เสียหายจะเลือกฟ้องบิดามารดาหรือผู้อนุบาลให้รับผิดโดยเฉพาะ โดยไม่ ต้องฟ้องผู้ไร้ความสามารถซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดด้วย (ฎ.๙๓๔/๒๕๑๗) หรือจะ ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับผู้ไร้ความสามารถด้วยก็ได้
บิดามารดารับผิด เหตุที่กฎหมายให้บิดามารดารับผิดเพราะบิดา มารดามีหน้าที่ควบคุมดูแลและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ตามมาตรา ๑๕๖๔
iber.me/tanai-athip