Home บทความคดีแพ่ง การทำปลอมที่มีผิดกฎหมาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

การทำปลอมที่มีผิดกฎหมาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

1392

การทำปลอมที่มีผิดกฎหมาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

คำว่า “ทำปลอม” หมายความว่า กระทำโดยตั้งใจให้เหมือนของจริง คือดู ที่เจตนาของผู้กระทำ ไม่ได้ดูที่ผลว่าเหมือนของจริงมากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้ท่าน ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้อธิบายต่อไปว่า การทำปลอมนั้นต้องเป็นการทำใน ประการที่จะให้มีลักษณะอย่างเดียวกับเงินตราที่รัฐบาลกำหนด

โดยกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ. เงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ เช่น มีลวดลาย สี ขนาด ลักษณะของโลหะอย่างเดียวกัน เป็นต้น ซึ่งต้องประกอบกันพอที่จะลวงตาให้เห็นว่าเป็นเงินตรา

แต่ไม่จำต้องลวงถึง กับต้องพิจารณาจึงจะรู้ว่าปลอม หมายถึงว่าถ้าพิจารณาไม่ดีก็อาจหลงเข้าใจว่าเป็น เงินตราได้ก็ถือว่าเป็นการทำปลอมขึ้นแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๔๔/๒๕๒๑ วินิจฉัยว่า การปลอมผิดจากของจริงที่ตั้งใจ ทำให้เหมือนมากน้อยเพียงใดไม่สำคัญ เส้นสีแดงที่กระดาษของกลางต่างกับของแท้

ไม่จำเป็นต้องให้เหมือนกับของแท้ จนไม่รู้ว่าเป็นของแท้หรือของปลอมก็เป็นความผิด มมาตรานี้ ทดลองทำเหรียญ ๕๐ สตางค์ปลอม แต่ยังไม่เหมือนของจริง ต้อง

ทดลองทำอีก ดังนี้เป็นความผิดสำเร็จแล้ว (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๙๓/๒๕๓๒) แต่ คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๑/๒๕๕๙ วินิจฉัยว่า เพียงแต่เอาทองแดงแท่งมาหลอม เพื่อให้เป็นเงินดี แล้วจะนำไปทำเงินปลอม

ยังไม่ได้ใส่แม่พิมพ์เงินปลอมเป็นแต่เพียง ตระเตรียม ยังไม่เป็นความผิดฐานพยายามปลอมเงินตรา

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4 (อยู่ระหว่างซอย10 และซอย 8)
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

Facebook Comments