Home บทความคดีแพ่ง หลักฐานแห่งการกู้ยืมศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

หลักฐานแห่งการกู้ยืมศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

1915

หลักฐานแห่งการกู้ยืมศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

มาตรา ๖๕๓ เดิม บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้า มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืม

เป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งประกาศใน ร

าชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ได้แก้ไขมาตรานี้โดยมาตรา ๔ ของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมตั้งกล่าว บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๖๕๓

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้ มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับ

คดีหาได้ไม่” ดังนั้นตามกฎหมายปัจจุบันการกู้ยืมเงินมากกว่า ๒,๐๐๐ บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม ถ้ากู้ยืมเงินเพียง ๒,๐๐๐ บาท หรือน้อยกว่า ๒,๐๐๐ บาท

ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือการที่จะนำมาตรานี้มาใช้บังคับจะต้องเป็นการฟ้องขอให้บังคับชำระหนี้ตาม สัญญากู้ ถ้าฟ้องให้ชำระหนี้ตามมูลหนี้อื่น

เช่น ฟ้องให้ชำระหนี้ตั๋วเงินที่ออกเพื่อชำระหนี้ ตามสัญญากู้ ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ

คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๑๒๔/๒๕๔๒ โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค ซึ่งมี มูลหนี้จากการที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์ หาใช่ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมเงินโดยตรง ไม่

จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็น พยานต่อศาล (วินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๕๐/๒๕๓๔ ซึ่งเป็นเรื่องฟ้องให้

ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ถ้าฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค จะต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๒๖/๒๕๕๐)

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4 (อยู่ระหว่างซอย10 และซอย 8)
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

Facebook Comments