Home บทความคดีแพ่ง ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าเล่นแชร์จะเป็นความผิดหรือไม่

ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าเล่นแชร์จะเป็นความผิดหรือไม่

2353

ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าเล่นแชร์จะเป็นความผิดหรือไม่

ต้องพิจารณาตาม พรบ.การเล่นแชร์ การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งเกิดจากการตกลงกันระหว่าง ผู้เล่น มีผลผูกพันและบังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2543

การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าเล่นแชร์ต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติเป็นใจความสำคัญว่า ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์

หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะ ฯลฯมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวด รวมกันทุกวง เป็นมูลค่ามากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง… และตามกฎกระทรวงการคลัง พ.ศ.2534

ได้กำหนดทุนกองกลางที่ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์ หรือจัดให้มีการ เล่นแชร์ต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่า 3 แสนบาท ดังนั้น หากการเล่นแชร์ของ โจทก์จำเลยกับพวกมีผู้ร่วมเล่น 15 คน

และมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันมีมูลค่ามากกว่า 3 แสนบาท จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น หากฝ่าฝืนมีการเล่นแชร์ ดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150

เช็คที่จำเลย ออกเพื่อชำระหนี้ค่าเล่นแชร์ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้ พ.ศ.2534 มาตรา 4

(ฎ. 427/2542) และผู้ทรงเช็คจะฟ้องผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังให้รับผิดทางแพ่ง ก็ไม่ได้ ถือว่าเช็คดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย (ฎ. 6/2545)

การเล่นแชร์จึงต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6 ด้วย หากเล่นแชร์โดยฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว เช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้เนื่องจากการเล่นแชร์ ถือว่า

เป็นหนี้ที่ไม่อาจจะบังคับได้ตามกฎหมาย ผู้ออกเช็คไม่มีความผิดทางอาญา หากเล่นแชร์ ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ค่าเล่นแชร์ก็ถือว่าเป็นหนี้ที่มี อยู่จริงและบังคับกันได้ตามกฎหมาย

หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ผู้ออกเช็คมี ความผิดทางอาญา ในกรณีดังกล่าวต้องพิจารณาให้ดีเพราะบางกรณีผู้ที่ประมูลแชร์ได้ต้อง ออกเช็คให้แก่หัวหน้าวงแชร์เป็นจำนวนเท่ากับผู้ที่ยังประมูลไม่ได้เพื่อยึดถือไว้

ครั้งต่อไปเมื่อ มีผู้ประมูลได้ ผู้ที่ประมูลได้คนก่อนก็ต้องนำเงินตามเช็คมาจ่ายให้แก่หัวหน้าวงแชร์ เมื่อนำเงิน มาจ่ายให้แล้วก็ต้องคืนเช็คฉบับนั้นให้แก่ผู้ออกเช็ค

ในกรณีเช่นนี้ถือว่าเช็คฉบับดังกล่าวไม่มี มูลหนี้ต่อกัน หากมีการนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ผู้สั่งจ่าย หรือผู้ออกเช็คก็ไม่มีความผิดทางอาญา (คำพิพากษาฎีกาที่ 1378/2515)

 

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4 (อยู่ระหว่างซอย10 และซอย 8)
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

Facebook Comments