Home ข่าวสารสภาทนายความส่วนภูมิภาค ข้อควรรู้เกี่ยวกับการหมั้น ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการหมั้น ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

2105

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการหมั้น ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

มาตรา ๑๔๓๕ การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ

อธิบาย

๑. มาตรา ๑๔๓๕ หมายถึง สัญญาหมั้น โดยชายและหญิงจะทำสัญญาหมั้นกันได้ทั้งคู่ต้องมีอายุครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์แล้วเท่านั้น หากอายุยังไม่ครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์สัญญาหมั้นที่ชายและหญิงทำกันขึ้นยอมเป็นโมฆะ

๒. กรณีจะเป็นสัญญาหมั้นตามมาตรา ๑๔๓๕ ที่ไม่ตกเป็นโมฆะแม้ชายและหญิงจะมีอายุครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์แล้วนั้น ต้องเป็นกรณีที่ชายและหญิงต่างมีเจตนาร่วมกันจะไปจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย จึงได้ตกลงทำการหมั้นหมายกันไว้ ในชั้นหนึ่งก่อน

๓. แม้จะมีการทำสัญญาหมั้นกันแต่ถ้าชายและหญิงไม่มีเจตนาจะไปจดทะเบียนสมรสกัน สัญญาดังกล่าวย่อมไม่ใช่ สัญญาหมั้นตามกฎหมายลักษณะครอบครัว ทรัพย์สินที่ได้ส่งมอบให้แก่กันฝ่ายชายจะเรียกคืนไม่ได้และต้องถือว่าทรัพย์สิน ที่ให้กันไม่ใช่ของหมั้น (ฎ.๘๕๕๔/๒๕๔๔)

ฎ.๒๕๕๔/๒๕๔๙ ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำพิธีหมั้นตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจด ทะเบียนสมรสต่อกัน ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่าย โจทก์เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น และประกันว่าจะสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๓๗ วรรคหนึ่ง ดังนั้น เงินสดจำนวน ๑,๔๔๔,000 บาท และทองคำรูปพรรณที่จำเลยที่ ๑ นำไปมอบให้แก่ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหม่ โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องเรียกคืนฐานผิดสัญญาหมั้นได้ มน

๔. มาตรา ๑๔๓๕ ใช้ถ้อยคำว่า “ชายและหญิง” ดังนี้ การหมั้นตามกฎหมายลักษณะครอบครัวจะมีได้ก็แต่เฉพาะ ชายกับหญิงเท่านั้น การที่ชายกับชายหรือหญิงกับหญิงทำการหมั้นหมายกันก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการหมั้นตามกฎหมาย ลักษณะครอบครัว

๕. การที่ชายหรือหญิงอายุไม่ครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์การหมั้นย่อมเป็นโมฆะ ดังนี้ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบไว้ให้เป็น ของหมั้นแก่ฝ่ายหญิงย่อมต้องนำหลักเรื่องลาภมิควรได้มาปรับใช้ หากได้ข้อเท็จจริงว่า ชายทราบดีอยู่แล้วว่าตนเองหรือ หญิงอายุไม่ถึง ๑๗ ปี บริบูรณ์ กรณีเช่นนี้จะต้องถือว่าทรัพย์สินที่ให้แก่หญิงเป็นของหมั้นนั้นถือว่าเป็นการชำระหนี้ตาม อำเภอใจตามมาตรา ๔๐๗ หากฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับชาย ฝ่ายชายย่อมไม่อาจเรียกคืนของ หมั้นหรือไม่สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนตามมาตรา ๑๔๓๔๙ ได้เพราะไม่ถือว่ามีสัญญาหมั้นเกิดขึ้น

ฎ.๑๑๑๗/๒๕๓๕ โจทก์ที่ ๒ กับจำเลยที่ ๓ เพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตาม ประเพณีโดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเงินทั้งหลายที่ฝ่ายโจทก์มอบให้ฝ่ายหญิง จึงไม่ใช่ของหมั้นและ สินสอดตามกฎหมาย แม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะจำเลยที่ ๓ อายุยังไม่ครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์ โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments