Home บทความคดีแพ่ง การใส่ความต่อบุคคลที่สามในคดีหมิ่นประมาทศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

การใส่ความต่อบุคคลที่สามในคดีหมิ่นประมาทศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

1356

การใส่ความต่อบุคคลที่สามในคดีหมิ่นประมาทศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

การใส่ความจะเป็นหมิ่นประมาทจะต้องกระทำต่อบุคคลที่สามซึ่งมิใช่ตัวผู้ถูก ใส่ความเอง กล่าวคือถ้ากระทำต่อผู้ถูกใส่ความโดยตรงไม่มีบุคคลที่สามหรือบุคคลทั่วไป อยู่ด้วยเลย เช่นใส่ความหรือด่าเขาเสีย ๆ หาย ๆ เพียงสองคน เช่นนี้ไม่มีความผิดฐาน หมิ่นประมาท (แต่อาจมีความผิดฐานดูหมิ่นได้) เช่น สมศรีว่าสุดสวยเป็นชู้กับสามีสรรเสริญ เช่นนี้ถ้าว่ากันสองต่อสองไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ถ้ามีสรรเสริญอยู่หรือคนอื่น อีกได้ยินได้ฟังด้วยจึงจะผิด ข้อสำคัญก็คือต้องมีคนที่สามอยู่ด้วย เช่นกรณีนี้สมศรีว่า สุดสวยให้สรรเสริญฟังหรือให้คนอื่นฟังแม้จะไม่มีตัวสุดสวยอยู่ด้วยแต่มีบุคคลที่สามฟังอยู่ ก็ผิดแล้ว

บุคคลที่สามต้องอยู่ในฐานะที่จะเข้าใจข้อความที่ใส่ความได้ ถ้าฟังภาษา ไม่เข้าใจ เด็กไร้เดียงสา พูดให้คนหูหนวกฟัง ก็ไม่ถือว่าเป็นบุคคลที่สาม แต่ถ้าบุคคลที่สาม อยู่ด้วยแต่ไม่สนใจฟัง เขาใส่ความว่าอย่างไรก็จับใจความไม่ได้ (แต่หาหลักฐานว่ามีการ ใส่ความว่าอย่างไรได้) กรณีนี้ถือว่ามีการใส่ความต่อบุคคลที่สามสมบูรณ์แล้ว

ตัวอย่าง

จำเลยโกรธและร้องด่าผู้เสียหายว่า “ถึงเป็นเมียน้อยสารวัตร ศ. อย่ามา ทำใหญ่ให้กูเห็นนะ” ต่อหน้า พ. ซึ่งมากับผู้เสียหาย พ. เป็นบุคคลที่สาม การกระทำ ของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (ฎีกาที่ ๔๗/๒๕๕๑)

๒. จำเลยส่งข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนถึงโจทก์ โดยตรง ณ สำนักงานโจทก์ แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะให้โจทก์เท่านั้นทราบข้อความ ในจดหมาย มิใช่เจตนาเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม แม้เสมียนของโจทก์ทราบ ข้อความจากจดหมายที่จำเลยส่งไป ก็เป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของจำเลย การกระทำของ จำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (ฎีกาที่ ๑๑๐/๒๕๑๖)

๓. กรณีที่มีผู้เสียหายหลายคน การที่จำเลยส่งจดหมาย หมิ่นประมาทผู้เสียหาย เหล่านั้นไปให้ผู้เสียหายบางคน (ไปให้ ส. ที่ถูกใส่ความด้วย) ต้องถือว่าผู้เสียหายคนที่

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

Facebook Comments