ยินยอมให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่ขับรถต้องรับผิดหรือไม่
– จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ ๑ ผู้เยาว์ นำสืบข้อเท็จจริงได้ ความเพียงว่าจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ไม่เคยอนุญาตให้จำเลยที่ ๑ ขับรถจักรยานยนต์ที่บ้าน ไปโรงเรียน รถจักรยานยนต์คันที่จำเลยที่ ๑ ขับเป็นของเพื่อนจำเลยที่ ๑ และขณะเกิดเหตุ อยู่ในช่วงเวลาไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนของจำเลยที่ ๑ เท่านั้น มิได้พิสูจน์ว่าตนได้ใช้ ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นตาม ป.พ.พ.ม.๔๒๙ เพราะการใช้ อำนาจปกครองของบิดามารดารวมถึงการที่จะต้องคอยอบรมสั่งสอนดูแลตลอดจนควบคุม บุตรผู้เยาว์มิให้ออกไปประพฤติตนเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย การที่บุตร ผู้เยาว์ทำละเมิดในระหว่างที่ไปเรียนหนังสือย่อมมิใช่ข้อที่บิดามารดาจะยกขึ้นปฏิเสธความ รับผิดได้ จำเลยที่ ๑ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์และที่บ้านของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ มีรถจักรยานยนต์ ปกติจำเลยที่ ๑ จะขับออกไปหาซื้อของนอกบ้าน แสดงว่าจำเลยที่ ๒ และ ที่ ๓ ทราบดีว่าจำเลยที่ ๑ สามารถขับรถจักรยานยนต์ได้และเคยขับรถจักรยานยนต์ออก นอกบ้าน แต่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตร ผู้เยาว์ โดยปล่อยปละละเลยให้บุตรผู้เยาว์ของตนขับรถจักรยานยนต์ออกนอกบ้านทั้งที่ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ควรรู้ว่าการขับรถจักรยานยนต์โดยผู้เยาว์ที่ยัง ไม่ผ่านการสอบใบอนุญาตขับขี่นั้นย่อมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือเกิดอันตรายต่อบุคคลหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย การที่จำเลยที่ ๑ สามารถไปขับรถจักรยานยนต์ของผู้อื่นใน วันเกิดเหตุจึงมีส่วนมาจากการปล่อยปละละเลยไม่ดูแลหรือห้ามปรามจำเลยที่ หน้าที่ของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ มาแต่ต้น เมื่อจำเลยที่ ๑ ไปขับรถจักรยานยนต์ชนรถของ ตามผู้อื่นเสียหาย เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จึงต้องร่วมในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย
-โจทก์เป็นบิดาของ ป. โจทก์ยอมให้ ป. ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์อายุ ๑๖ ปี และยังไม่มีใบ อนุญาตขับรถขับรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะออกไปตามถนนสาธารณะเป็นการเสี่ยงที่จะ เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ถือว่าโจทก์มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์ โจทก์จึงต้องร่วมกับ ป. รับผิดในผลที่ ป. ทำละเมิดต่อจำเลยด้วย
สรุป
ยินยอมให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่ขับรถ ถือว่ามิได้ใช้ความระมัดระวัง