Home บทความคดีแพ่ง ด่าฟรีไม่มี อาจมีผิดทางกฎหมายได้  ?

ด่าฟรีไม่มี อาจมีผิดทางกฎหมายได้  ?

1044

ด่าฟรีไม่มี อาจมีผิดทางกฎหมายได้  ?

บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้คือ

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 326  ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328   ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

  • โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

 

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)

(๒) (๓) หรือ (๔)

ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (๑) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้

 

 

หากคิดจะด่าใคร ถ้าไม่ได้แค่คิดอยู่ในใจก็คงต้องระวังกันหน่อย ไม่เช่นนั้นก็อาจจะต้องเสียเวลาไปขึ้นโรงขึ้นศาล และเสียทรัพย์โดยไม่จำเป็น อย่าคิดว่าแค่เขียนเล่นสนุก ๆ ไม่เห็นจะเป็นอะไร เพราะสิ่งที่เราเขียนบนโลกออนไลน์ มีสิทธิ์เข้าข่ายการหมิ่นประมาทผู้อื่นได้

 

แม้ว่าการแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ทุกคนสามารถแสดงออกกันได้ และมีบัญญัติในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน แต่ก็ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นด้วยเช่นกัน

และเมื่อข้อความที่แสดงความคิดเห็นเหล่านั้นทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง และไม่มีมูลความจริง ผู้เสียหายก็มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะดำเนินการตามกฎหมายได้  นะครับ

 

เอาผิดทางใดได้บ้าง?

การหมิ่นประมาทผู้อื่นทางอินเทอร์เน็ต ถือเป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยการหมิ่นประมาทด้วยโฆษณา

แบบไหนที่เรียกว่า “หมิ่นประมาท”

หากไม่แน่ใจว่าการกระทำแบบใดจะเข้าข่ายหมิ่นประมาท ให้อ่านตรงนี้ให้ดี ๆ การใส่ความผู้อื่น ถือเป็นการหมิ่นประมาท ซึ่งหมายถึงการแสดงพฤติกรรมอันเป็นข้อเท็จจริงประการใดประการหนึ่งของผู้ถูกหมิ่นประมาท

 

โดยอาจกระทำด้วยวาจา กิริยาท่าทาง การเขียน พิมพ์ หรือวิธีการใด ที่ปรากฏเป็นภาพ หรือลักษณะอื่นใดที่ทำให้บุคคลที่สามเข้าใจได้ว่าหมายถึงใคร ซึ่งอาจทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง

 

 

ส่วนผู้ที่ถูกใส่ความ ต้องทำให้เข้าใจได้ว่าหมายถึงใคร ซึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง แม้ไม่ได้ระบุชื่อออกมาอย่างชัดเจน แต่สามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่าคนคนนั้นเป็นใคร และต้องเป็นการใส่ความกับบุคคลที่สามที่สามารถเข้าใจเรื่องราวที่ใส่ความกันได้

 

 

 

 

 

หมิ่นประมาท “ยอมความ” กันได้

 

ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 สามารถยอมความได้ และมีอายุความ 3 เดือน หากผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดจะเป็นอันขาดอายุความ

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นตัวอย่างให้ศึกษาดังต่อไปนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2562

 

การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น  หรือถูกเกลียดชัง อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328 ต้องเป็นการใส่ความระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความ  เป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าบุคคลที่ถูกใส่ความเป็นใคร  หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง  การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2551

 

การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 นั้น จะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ และความผิดฐานหมิ่นประมาทที่ได้กระทำโดยการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์นั้นต้องพิเคราะห์จากข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามคำฟ้องเท่านั้นว่า ผู้อ่านสามารถทราบได้หรือไม่ว่าบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างตามที่ลงพิมพ์นั้นเป็นผู้ใด

 

ข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ไม่มีข้อความในที่ใดที่ระบุชื่อและนามสกุลของโจทก์หรือพอจะให้ทราบได้ว่าเป็นโจทก์ผู้บังคับการ พ. กองบังคับการหมายเลข 5 ที่กำลังจะเกษียณในปี 2546 ได้ไป 3 ล้านบาท ทำทุนหลังเกษียณนั้น ก็ไม่ได้ระบุชื่อโดยชัดแจ้งว่าเป็นผู้ใด ชื่อที่ระบุเป็นเพียงอักษรย่อเท่านั้น และมิได้ระบุนามสกุล ทั้งสถานที่ทำงานกองบังคับการหมายเลข 5 ก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นที่ใดบุคคลทั่วไปที่อ่านข้อความย่อมไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าอักษรย่อ พ. หมายความถึงผู้ใดและเป็นเรื่องจริงตามที่ลงพิมพ์หรือไม่ หากต้องการรู้ความหมายว่าเป็นผู้ใดก็ต้องไปสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมทั้งไม่แน่ว่าหลังจากสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมแล้วจะเป็นตัวโจทก์จริงหรือไม่และหากหลังจากสืบเสาะค้นหาแล้วจึงทราบว่าหมายความถึงโจทก์ก็มิใช่ทราบจากข้อความที่ลงพิมพ์ แต่ทราบจากการที่บุคคลผู้นั้นได้สืบเสาะค้นหาข้อเท็จจริงมาเองในภายหลัง มิได้ทราบว่าหมายความถึงโจทก์โดยอาศัยข้อความจากหนังสือพิมพ์ ลำพังเพียงข้อความตามที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์จึงยังไม่เป็นข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์

 

ดังนั้นพอสรุปได้ว่า เมื่อข้อความที่แสดงความคิดเห็นเหล่านั้นทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง ผู้เสียหายก็มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะดำเนินการตามกฎหมายได้ 

 

 

 

 

 

 

 

Facebook Comments