Home บทความคดีแพ่ง กรณีเจ้าของที่ดินต่างโต้เถียงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทกัน เป็นความผิดฐานบุกรุก   ?

กรณีเจ้าของที่ดินต่างโต้เถียงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทกัน เป็นความผิดฐานบุกรุก   ?

2573

กรณีเจ้าของที่ดินต่างโต้เถียงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทกัน เป็นความผิดฐานบุกรุก   ?

บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ คือ

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 362 ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไป กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

โจทก์อ้างว่าแนวเขตที่ดินของโจทก์กับจำเลยคือแนวต้นยูคาลิปตัสแต่จำเลยอ้างว่าแนวเขตจริงๆคือหลักหมุดใหม่หากยังโต้เถียงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ จึงเป็นเรื่องทางแพ่งยังไม่มีมูลความผิดฐานบุกรุก

 

โดยกรณีตามประเด็นดังกล่าวนี้มีคำพิพากษาตัวอย่างดังต่อไปนี้

คำพิพากษาฏีกาที่ 6006/2561

ที่ดินอันตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 เพียงแต่ทางภาระจำยอมนี้ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์นั้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 โดยจำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิในทางภาระจำยอมอันเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 เช่นเดิม เพียงแต่มาตรา 1390 ห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเท่านั้น การใช้สิทธิเหนือที่ดินส่วนที่เป็นทางภาระจำยอมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 ต่อไป แม้หากจำเลยทั้งสองก่อสร้างกำแพงคอนกรีต โครงเหล็กเป็นโรงจอดรถยนต์และบันไดคอนกรีตอันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ก็เป็นการกระทำลงบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เอง หาใช่เป็นการเข้าไปกระทำในที่ดินของโจทก์ไม่ หากโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไรชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีมูลในความผิดฐานบุกรุก

 

 

ดังนั้นพอสรุปได้ว่าหากยังโต้เถียงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ จึงเป็นเรื่องทางแพ่งยังไม่มีมูลความผิดฐานบุกรุก

Facebook Comments