Home บทความ กรณีสัญญาก่อสร้าง เป็นสัญญาขัดต่อกฎหมาย หรือไม่ ?

กรณีสัญญาก่อสร้าง เป็นสัญญาขัดต่อกฎหมาย หรือไม่ ?

1423

กรณีสัญญาก่อสร้าง เป็นสัญญาขัดต่อกฎหมาย หรือไม่ ?

บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้คือ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๔๑๑  บุคคลใด ได้กระทำการ เพื่อชำระหนี้ เป็นการอันฝ่าฝืน ข้อห้ามตามกฎหมาย หรือ ศีลธรรมอันดี ท่านว่า บุคคลนั้น หาอาจจะ เรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่

 

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นตัวอย่างให้ศึกษา มีดังต่อไปนี้  คือ

คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๑๑๙๐/๒๕๖๐

โจทก์กับ บ. และ ว. ร่วมกันทำกิจการค้าใช้ชื่อว่า “กิจการร่วมค้า ซ.” เข้าทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา – บางพลี – บางประกง กับจำเลย ต่อมาเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7277/2549 ระหว่าง บ. กับพวก ผู้ร้อง ก. ผู้คัดค้าน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย และปฏิเสธไม่รับบังคับให้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อกิจการร่วมค้า ซ. ไม่ได้รับราคาที่เพิ่มเติมจากจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า ซ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในสัญญาจ้างเหมาดังกล่าวย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินราคาคงที่เพิ่มเติมและดอกผลค่าผ่านทางด่วนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้ โดยไม่จำเป็น ต้องฟ้องร่วมกับ บ. และ ว. และเมื่อคดีนี้ โจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7277/2549 ซึ่งได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้แล้วว่าโจทก์กับนิติบุคคลต่างประเทศ 2 ราย ดังกล่าว ทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนกับจำเลยโดยไม่สุจริตมาตั้งแต่ต้น โจทก์จึงมีส่วนร่วมในการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นผลให้สัญญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลย แม้โจทก์กับพวกจะทำงานตามสัญญาจ้างเหมานั้นเสร็จสิ้นแล้วโดยส่งมอบโครงการทางด่วนให้จำเลยรับไปและมีราคาคงที่เพิ่มเติมภายหลังก็ตาม ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการเพื่อชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกราคาคงที่เพิ่มเติมและค่าดอกผลในค่าผ่านทางด่วนจากจำเลยในฐานะลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411

 

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงิน 9,683,686,389.76 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 6,039,893,254 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนกิจการร่วมค้าบีบีซีดี และในนามของกิจการร่วมค้าบีบีซีดี และให้จำเลยส่งมอบดอกผลอันเกิดจากทางด่วนสายบางนา – บางพลี – บางปะกง คือ ค่าผ่านทางซึ่งจำเลยเรียกเก็บจากผู้ใช้ทางด่วนสายบางนา – บางพลี – บางปะกง นับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้นให้แก่โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนกิจการร่วมค้าบีบีซีดี และในนามกิจการร่วมค้าบีบีซีดีเสร็จสิ้น

 

 

 

Facebook Comments