Home บทความคดีแพ่ง หนี้ที่ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นหนังสือ มีความผิดทางอาญาหรือไม่

หนี้ที่ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นหนังสือ มีความผิดทางอาญาหรือไม่

1273

หนี้ที่ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นหนังสือ มีความผิดทางอาญาหรือไม่

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ขอให้นับโทษจำเลยทั้งสองคดีนี้ต่อกันด้วย

จำเลยให้การปฏิเสธ

ระหว่างพิจารณา นางเซี้ยะเกียง ศิริวาจา ผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4(1) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 2 กรรม จำคุกกระทงละ 4 เดือน รวมจำคุก 8 เดือน ส่วนคำขอให้นับโทษจำเลยนี้ต่อกันนั้น เนื่องจากศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันจึงไม่สามารถนับโทษต่อให้ได้ ให้ยกคำขอในส่วนนี้

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาที่จำเลยฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่าเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับจำเลยออกเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์ ตามสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 นั้น โจทก์ร่วมมิใช่เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ ทั้งมิได้ทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์จากผู้มีลิขสิทธิ์โดยถูกต้องตามกฎหมายสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์ตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 จึงตกเป็นโมฆะหนี้ตามสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์ตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 จึงเป็นหนี้ที่ไม่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อฟิล์มภาพยนตร์จากโจทก์ร่วมตามสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 4 บัญญัติว่า “ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ และคำว่า “ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นแต่ตามสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 มีข้อความว่าข้อ 1. ผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในเขต 8 จังหวัดและกากฟิล์มชานเมืองขนาด 35 มม. ชื่อภาษาไทย เรื่อง ข้อ 2. ระบุว่า ผู้ขายกับผู้ซื้อตกลงซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์ตามข้อ 1 โดยผู้ขายจะส่งฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้วตามจำนวนที่ตกลงกัน ข้อ 3. ระบุว่า ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะนำภาพยนตร์ออกทำการฉายได้ในเขตสาย 8 จังหวัด และชานเมืองเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด ดังนี้ ข้อ 6. ผู้ซื้อมีสิทธิในการนำฟิล์มภาพยนตร์ที่ซื้อออกจำหน่ายให้เช่า ให้ยืม ทำการฉายแพร่ภาพในเขตของผู้ซื้อที่ระบุไว้ใน ข้อ 3. มีกำหนดระยะเวลาในการครอบครองสิทธิเป็นเวลา12 เดือน นับจากวันทำสัญญาที่ผู้ขายมีต่อผู้สร้างสรรค์เดิมที่ผู้ขายซื้อมา ฯลฯ ดังนี้จะเห็นได้ว่า ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ซื้อผลงานจากผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมีเงื่อนไขการให้นำไปฉายในสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ตกลงกับเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์อนุญาตให้โจทก์ร่วมใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามสัญญาเท่านั้น เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่ การที่โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์ให้ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท แล้วขายต่อให้จำเลยจึงหมายถึงการขายฟิล์มภาพยนตร์ทั้ง 12 เรื่อง เพื่อให้จำเลยนำไปฉายในจังหวัดต่าง ๆ ในเขตที่กำหนดและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 6 กรณีจึงมิใช่ผู้สร้างสรรค์อันเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โอนลิขสิทธิ์ของตนให้แก่บุคคลอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนอันจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 17 วรรคสาม ทั้งจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีอำนาจโอนขายลิขสิทธิ์ฟิล์มภาพยนตร์และจำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ไม่ได้ สัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์ตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 จึงใช้บังคับกันได้ เมื่อโจทก์ร่วมส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์แก่จำเลยครบถ้วนแล้วจำเลยออกเช็คชำระหนี้ค่าฟิล์มภาพยนตร์แก่โจทก์ จึงเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย

พิพากษายืน

  • สรุป
  • จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อฟิล์มภาพยนตร์จากโจทก์ร่วม และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ตามสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์มีข้อความว่า ข้อ 1. ผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในเขต 8 จังหวัด และกากฟิล์มชานเมืองขนาด 35 มม. ชื่อภาษาไทย เรื่อง ข้อ 2. ระบุว่า ผู้ขายกับผู้ซื้อตกลงซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์ตามข้อ 1 โดยผู้ขายจะส่งฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้วตามจำนวนที่ตกลงกันข้อ 3. ระบุว่า ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะนำภาพยนตร์ออกทำการฉายได้ในเขตสาย 8 จังหวัดและชานเมืองเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด ดังนี้ ข้อ 6. ผู้ซื้อมีสิทธิในการนำฟิล์มภาพยนตร์ที่ซื้อออกจำหน่าย ให้เช่า ให้ยืม ทำการฉายแพร่ภาพในเขตของผู้ซื้อที่ระบุไว้ใน ข้อ 3. มีกำหนดระยะเวลาในการครอบครองสิทธิเป็นเวลา 12 เดือนนับจากวันทำสัญญาที่ผู้ขายมีต่อผู้สร้างสรรค์เดิมที่ผู้ขายซื้อมา ฯลฯตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ซื้อผลงานจากผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมีเงื่อนไขการให้นำไปฉายในสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ตกลงกับเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์อนุญาตให้โจทก์ร่วมใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามสัญญาเท่านั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่ การที่โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์ให้ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท แล้วขายต่อให้จำเลยจึงหมายถึงการขายฟิล์มภาพยนตร์ทั้ง 12 เรื่องเพื่อให้จำเลยนำไปฉายในจังหวัดต่าง ๆ ในเขตที่กำหนดและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 6 กรณีจึงมิใช่ผู้สร้างสรรค์อันเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โอนลิขสิทธิ์ของตนให้แก่บุคคลอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนอันจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 17 วรรคสาม จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีอำนาจโอนขายลิขสิทธิ์ฟิล์มภาพยนตร์ และจำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 156 ไม่ได้เมื่อสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์มีผลใช้บังคับกันได้ และโจทก์ร่วมส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยออกเช็คชำระหนี้ค่าฟิล์มภาพยนตร์แก่โจทก์ จึงเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
Facebook Comments