เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น หมายความว่าผู้นั้นได้ออกเช็ค
เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตามองค์ประกอบข้อ 1 และ 2 แล้วแต่มี เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
ผู้นั้นก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค ถ้าหากการกระทำไม่เข้าองค์ประกอบข้อ 1 และหรือไม่เข้าองค์ประกอบ ข้อ 2 ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบข้อ 3 เพราะเมื่อไม่เข้าองค์ประกอบข้อ 1 และ หรือข้อ 2 แล้วการกระทำนั้นก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิด จากการใช้เช็ค
ต่อเมื่อการกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว จึงพิจารณาว่า เข้าองค์ประกอบข้อ 3 ซึ่งแยกเป็น 5 ข้อย่อยข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่
ถ้าเข้าองค์ประกอบข้อย่อย ข้อใดข้อหนึ่งในข้อ 3 ก็เป็นความผิดทางอาญาได้ องค์ประกอบข้อ 3.1 ที่บัญญัติว่าเจตนา ที่จะไม่ให้มีการใช้เช็คตามเช็คนั้น
หมายความว่าผู้ออกเช็คต้องมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงิน ตามเช็คนั้น เช่น จำเลยออกเช็คโดยกรอกรายการลงในแบบพิมพ์เช็คสำเร็จรูปที่ธนาคาร
มอบให้เฉพาะรายการผู้รับเงินโดยเขียนว่าจ่ายสดขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออกดังนี้ “จ่ายสด… หรือผู้ถือ” เป็นเหตุให้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น เพราะเท่ากับเช็คฉบับนี้ไม่มีชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงินอีกทั้งไม่มีคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือตามที่กำหนดไว้ในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 988 (4)
ตราสารดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นเช็ค เมื่อไม่มี ลักษณะเป็นเช็คธนาคารตามเช็คก็ย่อมไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้นแม้เงินในบัญชีของจำเลยผู้ออกเช็ค
จะมีเงินพอจ่าย ดังนี้จึงเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยกระทำการเช่นนี้โดยมีเจตนาที่จะไม่ให้ ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คที่ตนสั่งจ่าย
จึงเป็นการออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาตามมาตรา 4(1) (คำพิพากษาฎีกาที่ 2719/2525, ที่ 1577/2523)
ในกรณีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงิน ตามเช็ค เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 988
บังคับว่าเช็คต้องมีรายการ ต่างๆ โดยเฉพาะต้องมีรายการ (4) คือต้องระบุชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรืออย่างน้อยต้องมี คำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ซึ่งในแบบพิมพ์เช็คสำเร็จรูปที่ธนาคารมอบให้ก็จะมีข้อความ