Home บทความคดีแพ่ง ยื่นเช็คก่อนวันที่หน้าเช็ค เช็ดเด้งมีความผิดทางอาญาหรือไม่

ยื่นเช็คก่อนวันที่หน้าเช็ค เช็ดเด้งมีความผิดทางอาญาหรือไม่

1810

ยื่นเช็คก่อนวันที่หน้าเช็ค เช็ดเด้งมีความผิดทางอาญาหรือไม่

กรณียืนเช็คก่อนถึงวันออกเช็ค หากผู้ทรงเช็คนำเช็คไปยื่นต่อธนาคารก่อนวัน กำหนดที่ลงในเช็ค และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ทรงเช็คก็ยังไม่มีสิทธิฟ้องผู้สั่งจ่าย เช่น เช็คลงวันที่ 30 ตุลาคม 2545

แต่ผู้ทรงนำไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินวันที่ 15 เดือน เดียวกันนั้นธนาคารคืนเช็คอ้างว่าเงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย ถือว่าเป็นการนำเช็คไปขึ้นเงินก่อน วันออกเช็ค โจทก์จะฟ้องจำเลยฐานออกเช็คไม่มีเงินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด

อันเกิดจากการใช้เช็คไม่ได้เพราะวันที่ผู้ทรงนำเช็คไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินนั้นไม่ใช่วัน ออกเช็ค (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2765/2522) การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น จึงต้องเป็นการปฏิเสธเนื่องจากมีการยื่นเช็คให้ใช้เงินโดยชอบคือเมื่อเช็คถึงกำหนดตามวันที่

ลงในเช็คแล้ว

ถ้าผู้ทรงนำเช็คไปเข้าบัญชีเงินฝากเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็ค ย่อมเป็นการยื่นให้ใช้เงินโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 989 ประกอบ มาตรา 914

ฉะนั้นแม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยผู้ออกเช็คถูกปิด เป็นการปฏิเสธการจ่ายเงินใน

ถึง มาก่อนที่จะมีการออกเช็คคือก่อนวันที่ที่ระบุในเช็ค ก็ยังถือไม่ได้ว่า วันที่เช็คถึงกำหนด จำเลยไม่มีความผิดทางอาญา

(เทียบคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 1261/2526)

ทางแก้

อย่างไรก็ตามในกรณีดังกล่าวถ้าผู้ทรงนำเช็คไปให้ธนาคารช่วยเรียกเก็บเงิน ก่อนวันที่ที่ลงในเช็คคือวันออกเช็ค และธนาคารรับเช็คไว้แต่รอเรียกเก็บเมื่อเช็คถึงกำหนด

ดังนี้ ย่อมเป็นการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 139/2523) ในกรณีดังกล่าวถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาได้

Facebook Comments