Home ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพทนายความ หนี้ละเมิดระงับนายจ้างหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

หนี้ละเมิดระงับนายจ้างหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

1685

หนี้ละเมิดระงับนายจ้างหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

หนี้ละเมิดระงับนายจ้างหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ เมื่อเป็นละเมิดในทางการที่จ้างแล้ว ตามมาตรา ๔๒๕ นายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่ลูกจ้างได้ทำไปใน ทางการที่จ้างนั้น คือเป็นลูกหนี้ร่วม ผู้เสียหายจะฟ้องเรียกจากนายจ้างคนเดียว หรือฟ้องทั้งนายจ้างและลูกจ้างก็ได้ แต่นายจ้างต้องร่วมรับผิดไม่เกินกว่าที่ลูกจ้าง ต้องรับผิด ฉะนั้นในกรณีฟ้องต่อศาลและศาลล่างพิพากษาให้ลูกจ้างรับผิดชำระ เงินจำนวนหนึ่ง โจทก์อุทธรณ์ฎีกาเฉพาะนายจ้าง แม้โจทก์จะเสียหายมากกว่านั้น ก็จะให้นายจ้างรับผิดเกินกว่าลูกจ้างไม่ได้

ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญในคดีมากๆนะครับ มีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยในเรื่องนี้ไว้

คำพิพากาาศาลฎีกาที่ ๒๔๐๔/๒๕๒๔ “คดีสำหรับจำเลยที่ ๑ ลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ และ ที่ ถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่า ให้จำเลยที่ ๑ ร่วมกันกับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ชำระเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท ให้โจทก์ที่ ๑ อีกจำนวนหนึ่ง และชำระเงิน ๑๑๐,๐๐๐ บาท ให้โจทก์ที่ ๒ และที่ ๓ อีกจำนวนหนึ่ง หนี้ทั้งสองจำนวนนี้ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ลูกจ้าง ผู้กระทำละเมิด และเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาโดยมติที่ ประชุมใหญ่เห็นว่า จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ ๑ เท่ากับ จำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กล่าวคือไม่ต้องรับผิดเกิน กว่าที่ลูกจ้างจะต้องรับผิด”

คำพิพากาาศาลฎีกาที่ .๒๔๐๔/๒๕๒๔ นี้ โจทก์ได้รับอนุญาตให้ถอนฎีกาสำหรับลูกจ้าง แล้ว คดีเกี่ยวกับลูกจ้างเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าให้ลูกจ้าง ร่วมกับนายจ้างชำระเงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่ง อันเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจ แบ่งแยกได้ แม้โจทก์ยังคงฎีกาให้นายจ้างรับผิดเพิ่มขึ้น นายจ้างก็ต้องร่วมรับผิด กับลูกจ้างเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้น นายจ้างไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าที่ลูกจ้างจะต้องรับผิด

แต่ข้อสำคัญ การที่จะให้นายจ้างร่วมรับผิดในหนี้ละเมิดของลูกจ้าง หนี้ ละเมิดนั้นจะต้องยังมีอยู่ หากหนี้ละเมิดนั้นระงับแล้ว นายจ้างก็หลุดพ้นจาก ความรับผิดไปด้วย

Facebook Comments