กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
กระทำโดยประมาทเลินเล่อ กล่าวคือ การกระทำโดยไม่จงใจ แต่ผู้กระทำได้ กระทำโดยขาดความระมัดระวังตามสมควร คือ เป็นการกระทำที่อยู่ในลักษณะที่ บุคคลผู้มีความระมัดระวังไม่กระทำด้วย เพราะฉะนั้นการที่เขาทำไป ถือว่าเป็น การกระทำที่ขาดความระมัดระวัง เรียกว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แล้ว
เมื่อเปรียบกับคำว่า “ประมาท”
ตามที่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ วรรคสี่ ว่า “กระทำ โดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจาก ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และ ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
มีปัญหาว่าประมาทเลินเล่อในทางแพ่งกับประมาทในทางอาญา เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ในเรื่องนี้ศาสตราจารย์ประมูล สุวรรณศร ได้ อธิบายว่า “ความจริงประมาทในทางอาญากับประมาทเลินเล่อในทางแพ่งนั้น ว่า ตามทฤษฎีระดับไม่เท่ากัน กล่าวคือประมาทเลินเล่อในทางแพ่งนั้นเพ่งอยู่ที่การ ทำให้เกิดความเสียหายโดยไม่ระมัดระวังตามที่คนธรรมดาควรจะระวังเท่านั้น ส่วนประมาทในทางอาญานั้นเพ่งถึงการไม่ระมัดระวังถึงขนาดที่จะเป็นภัยแก่ ชุมชน กฎหมายทางอาญาจึงหาทางป้องกันโดยกำหนดโทษไว้ ฉะนั้นประมาท เลินเล่อในทางแพ่งอาจจะไม่ถึงขนาดที่จะเป็นความผิดทางอาญาก็ได้
แต่ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ มีความเห็นต่างไปโดยอธิบายว่า “แต่ ในทางแพ่งอาจมีความระวังที่ต้องใช้หลายขนาดแตกต่างกันแล้วแต่กรณี ที่ กฎหมายบัญญัติไว้ให้ใช้ความระวังขนาดใด อาจต้องรับผิดในอุบัติเหตุ ตามมาตรา ๒๑๗,๕๓๙ หรือต้องระมัดระวังอย่างวิญญชน ตามมาตรา ๓๒๓ หรือ ระมัดระวังอย่างที่เคยประพฤติในกิจการของตนเองหรืออย่างวิญญชนใน พฤติการณ์เช่นเดียวกัน รวมทั้งการใช้ฝีมือพิเศษในพฤติการณ์เช่นเดียวกัน หรือในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างเดียวกันนั้น (มาตรา ๖๕๙) แต่กรณีที่ กฎหมายบัญญัติถึงประมาทเลินเล่อโดยทั่วไปเช่นตามมาตรา ๔๒๐ ก็หมายถึง ระดับความระวังอย่างวิญญชนในภาวะเช่นเดียวกันนั้นเอง ซึ่งในลักษณะทั่วไป