วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกันจะขออนุญาตอธิบายในกรณีที่เกิดคดีละเมิด หากมีค่ารักษษพยาบาล ใครบ้างมีสิทธิเรีมีสิทธิเรียกค่ารักษา สำหรับการเรียกค่ารักษาพยาบาล ใครมีสิทธิ เรียกได้บ้าง
๑. คนถูกทำละเมิด
๒. ผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล เช่น กรณีบิดา มารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ เพราะฉะนั้นเมื่อผู้เยาว์ถูกทำละเมิด บิดามารดาจ่ายค่ารักษาพยาบาลบุตรไปเท่าไร ย่อมฟ้องเรียกจากผู้ทำละเมิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกา ๑๑๔๕/๒๕๑๒ “บุตรโจทก์ถูกรถยนต์ชนได้รับบาดเจ็บสาหัส โจทก์ ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีหน้าที่รักษาพยาบาล เมื่อต้องเสีย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆไปแล้ว จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จ่ายไป ซึ่งเป็น ค่าเสียหายส่วนตัวโดยตรงได้”
๓.ผู้มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องชำระค่ารักษาพยาบาลแทนผู้ถูกทำ ละเมิด คือพวกบริษัทประกันภัย เมื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกันซึ่ง ถูกทำละเมิดแล้วย่อมได้รับช่วงสิทธิตามมาตรา ๘๔๐ ที่จะฟ้องเรียกจากผู้ทำ ละเมิดได้
สรุปว่า ผู้ที่จะฟ้องเรียกจากผู้ทำละเมิดได้มี ๓ ประเภทคือ ผู้ถูกทำ ละเมิด ผู้มีหน้าที่ตามกฎหมาย ผู้มีหน้าที่ตามสัญญา นอกจากนี้ฟ้องไม่ได้ แม้ บุคคลนั้นจะช่วยค่ารักษาพยาบาล เช่น จ่ายค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นสวัสดิการ ให้แก่ลูกจ้างหรือแม้แต่คู่สมรสของผู้จ่ายค่ารักษา ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๙/๒๕๓๘ หรือ หน่วยงานที่ให้สวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่ของตนในการเบิกค่ารักษาพยาบาล ซึ่ง ไม่ใช่เป็นหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นเรื่องให้สวัสดิการช่วยเหลือ ฉะนั้นผู้ที่จ่ายค่า รักษาพยาบาลไปแล้วก็ไม่ได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องผู้ทำละเมิด ผู้ถูกทำละเมิดก็ยังมี สิทธิที่จะฟ้องผู้ทำละเมิดได้