Home บทความคดีแพ่ง ฉ้อโกงกับการผิดสัญญาต่างกันอย่างไร

ฉ้อโกงกับการผิดสัญญาต่างกันอย่างไร

2380

ฉ้อโกงกับการผิดสัญญาต่างกันอย่างไร

ขณะทำสัญญาหรือให้คำรับรองนั้นจำเลยมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือ คำรับรองนั้นหรือไม่ ถ้ามีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือคำรับรอง แม้ภายหลังไม่อาจ ปฏิบัติตามสัญญาหรือคำรับรองนั้นได้ไม่ว่าเหตุใดๆ จะถือว่าเป็นการแสดงข้อความอัน เป็นเท็งไม่ได้ คงเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น ไม่ผิดฐานฉ้อโกง

ฎ.๓๓๘๔/๒๕๓๒

จำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายจ่ายเงินค่าข้าวโพดให้จำเลย ล่วงหน้าบางส่วน ครั้นผู้เสียหายจะไปรับมอบข้าวโพด ปรากฏว่าข้าวโพดได้หายไปจากเดิมเกือบ ครึ่งหนึ่ง จำเลยบอกว่าไม่ขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายและไม่ยอมให้นำข้าวโพดไป ผู้เสียหายทวง เงินคืน จำเลยบอกว่าไม่มีเงินคืนให้ เช่นนี้ เป็นเรื่องจำเลยจะขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายแล้ว เปลี่ยนใจไม่ยอมขายข้าวโพดที่มีอยู่จริงในขณะที่เจรจาตกลงซื้อขายกัน จึงเป็นกรณีที่จำเลย ประพฤติผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

ฎ.๑๒๔/๒๕๓๕

จำเลยตกลงขายไม้ยางท่อนซุงและรับเงินค่าไม้จากผู้เสียหายโดยเจตนาขายไม้ยาง ท่อนซุงที่จำเลยได้ตกลงซื้อไว้ แต่จำเลยไม่สามารถจัดส่งไม้ยางท่อนซุงให้ผู้เสียหายได้เพราะ ทางราชการไม่อนุญาตให้ทำไม้ดังกล่าว การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดสัญญา ในทางแพ่งเท่านั้น หาเป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงไม่

โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยให้คำรับรองต่อโจทก์ต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่าจะชำระหนี้ แทน ส. ภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๔ และขอให้โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ โจทก์หลงเชื่อ จึงถอนคำร้องทุกข์ คำรับรองดังกล่าวจึงเป็นคำมั่นสัญญาที่จำเลยจะปฏิบัติในอนาคต ขณะให้ คำรับรองยังไม่ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดตามคำรับรองแล้ว จำเลยจะไม่ไปปฏิบัติตามคำรับรอง ดังกล่าว คำรับรองดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อความเท็จนอกจากจำเลยมีความตั้งใจมาแต่แรกขณะให้ คำรับรองว่าจะไม่ปฏิบัติตามคำรับรอง จึงจะถือได้ว่าจำเลยแสดงข้อความเท็จ แต่โจทก์ก็มิได้ บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีความตั้งใจมาแต่แรกขณะให้คำรับรองว่าจะไม่ปฏิบัติตามคำรับรอง ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง (ฎ.๑๒๒๕/๒๕๓๖)

Facebook Comments