โจทก์ ฟ้อง ว่า นาย ผ่าน หลานสุดตา ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ขับขี่รถยนต์ บรรทุก ไป ใน ทาง การ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 โดย ประมาทชน รถยนต์ ของ โจทก์ ได้ รับ ความเสียหาย โจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ที่1 ใน ฐานะ นายจ้าง และ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้รับ ประกันภัย ให้ ชำระเงิน ค่าเสียหาย แล้ว จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉย ขอ ให้ บังคับ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ มิใช่ เจ้าของ รถยนต์ คัน ที่ เสียหายนาย ผ่าน มิใช่ ลูกจ้าง จำเลย ที่ 1 และ มิได้ ขับรถ ไป ใน ทาง การที่ จ้าง เหตุ ที่ รถ ชน เป็น เพราะ ความ ประมาท ของ ผู้ ขับขี่ รถยนต์โจทก์ ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ เงิน 50,000 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ เงิน40,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า การ ที่ นายจ้าง อนุญาต ให้ ลูกจ้าง นำ รถกลับบ้าน นับ ได้ ว่า เป็น การ ให้ ความ สะดวก ที่ นายจ้าง พึง ให้แก่ ลูกจ้าง เมื่อ ลูกจ้าง นำ รถ นั้น ไป จึง เป็น การ ปฏิบัติ ตามคำสั่ง ของ นายจ้าง ซึ่ง เป็น ประโยชน์ แก่ นายจ้าง เอง อีก ด้วยใน เมื่อ ลูกจ้าง กลับมา ทำงาน ให้ นายจ้าง ใน วัน รุ่งขึ้น การ ที่นาย ผ่าน ขับขี่ รถ กลับบ้าน หลัง เกิดเหตุ จึง ต้อง ถือ ว่า อยู่ ในกรอบ แห่ง ทาง การ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 มิใช่ เป็น เพียง การให้ ยืม ไป ใช้ เป็น ส่วนตัว ของ นาย ผ่าน ดัง ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกาจำเลย ทั้ง สอง ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ที่ เกิดขึ้น แก่ โจทก์
พิพากษายืน.
สรุป
นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างนำรถกลับบ้านนับได้ว่าเป็นความสะดวกที่นายจ้างพึงให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างนำรถนั้นไปจึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งเป็นประโยชน์แก่นายจ้างเองอีกด้วยในเมื่อลูกจ้างจะได้อาศัยรถกลับมาทำงานให้นายจ้างในวันรุ่งขึ้นการที่ลูกจ้างขับรถกลับบ้านแล้วเกิดเหตุจึงต้องถือว่าอยู่ในกรอบแห่งทางการที่จ้างของนายจ้างมิใช่เพียงการให้ยืมไปใช้เป็นส่วนตัวของลูกจ้างนายจ้างและผู้รับประกันภัยจากนายจ้างจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ถูกทำละเมิด.