Home บทความคดีแพ่ง ออกเช็คชำระค่าซื้อที่ดิน โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมีความผิดตามกฎหมายอาญาหรือไม่

ออกเช็คชำระค่าซื้อที่ดิน โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมีความผิดตามกฎหมายอาญาหรือไม่

1192

ออกเช็คชำระค่าซื้อที่ดิน โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมีความผิดตามกฎหมายอาญาหรือไม่

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2539 จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน30,000 บาท และได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา ตกลงชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน หลังจากกู้ยืมเงินไปแล้ว จำเลยชำระต้นเงินคืนจำนวน 10,000บาท และชำระดอกเบี้ยเรื่อยมาจนถึงเดือนกรกฎาคม 2540 หลังจากนั้นไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอีก โจทก์ทวงถามแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยขอคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ต่อปีของต้นเงิน 20,000 บาท นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2540 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน1,420 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 21,420 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 20,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามฟ้อง ความจริงแล้วโจทก์นำเงินไปลงหุ้นในกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตาโดยได้รับผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำเลยลงชื่อผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินในฐานะเป็นประธานกรรมการของกองทุน ไม่ใช่ในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว โจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำนวน 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2540 จนถึงวันชำระเสร็จแต่ดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้อง ต้องไม่เกิน 1,420 บาท จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตา ซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1ในนามคณะกรรมการกองทุนดังกล่าว คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยประการแรกว่า จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 จะระบุคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตาเป็นผู้กู้โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนดังกล่าว แต่เมื่อคณะกรรมการกองทุนดังกล่าวไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จะสามารถรับผิดต่อโจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกสำหรับกิจการที่จำเลยกระทำไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 820 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าทำสัญญาแทนตัวการที่มีตัวอยู่จริง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ตามลำพัง ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่า โจทก์ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยได้เนื่องจากข้อสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยเป็นโมฆะ เพราะโจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ไม่ได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินแก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงินกันแล้วจำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 บาทต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระจำเลยหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไปไม่ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรที่กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 652 จึงไม่อาจถือว่าวันที่ 1 สิงหาคม2540 ซึ่งเป็นวันหลังจากที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์เป็นวันที่จำเลยผิดนัด กรณีนี้ถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน” พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับดอกเบี้ยให้จำเลยชำระอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 20,000 บาท ตั้งแต่วันฟ้อง คือ วันที่ 14 กรกฎาคม 2541 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9

สรุป

หนังสือ สัญญากู้ยืม เงิน ระบุ คณะกรรมการ กองทุน ผู้บริหาร สำนักงาน การ ประถม ศึกษา อำเภอ เป็น ผู้กู้ โดย มี จำเลย เป็น ผู้ลงนาม ใน ฐานะ ประธาน คณะกรรมการ แต่เมื่อ คณะกรรมการ ไม่มี ฐานะ เป็น นิติบุคคล ที่ จะ สามารถ รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ บุคคลภายนอก สำหรับ กิจการ ที่ จำเลย กระทำ ไป ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 จึง ถือไม่ได้ว่า จำเลย เข้า ทำ สัญญา แทน ตัวการ ที่ มี ตัว อยู่ จริง ดังนั้น จำเลย จึง ต้อง รับผิด ตาม สัญญากู้ยืม เงิน ตาม ลำพัง สัญญากู้ยืม เงิน ไม่ได้ กำหนด อัตรา ดอกเบี้ย ไว้ เพียงแต่ กำหนด ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ทุกวัน สิ้นเดือน โจทก์ จึง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ใน ระหว่าง ผิดนัด อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ อัตรา ร้อยละ 2 บาท ต่อ เดือน ก็ เป็น การ ชำระ ดอกเบี้ย ตาม อำเภอ ใจ โดย รู้ อยู่ ว่า ตน ไม่มี ความผูกพัน ที่ จะ ต้อง ชำระ จำเลย หา มีสิทธิ จะ ได้รับ ดอกเบี้ย ที่ ชำระ ไป แล้ว คืน ไม่ อย่างไร ก็ ตาม เนื่องจาก สัญญากู้ยืม เงิน มิได้ กำหนด เวลา ให้ จำเลย ใช้ คืนเงิน ที่ กู้ยืม และ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ บอกกล่าว แก่ จำเลย ให้ คืนเงิน ดังกล่าว ภายใน เวลา อันควร ตาม มาตรา 652 จึง ไม่อาจ ถือว่า วันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่ง เป็น วัน หลังจาก วันที่ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย สำหรับ เดือน สุดท้าย ให้ แก่ โจทก์ เป็น วันที่ จำเลย ผิดนัด ต้อง ถือว่า จำเลย ผิดนัด และ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น

Facebook Comments