Home ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพทนายความ ค่าเสื่อมราคา และค่าเช่าระหว่างซ่อม ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่

ค่าเสื่อมราคา และค่าเช่าระหว่างซ่อม ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่

1887

ค่าเสื่อมราคา และค่าเช่าระหว่างซ่อม ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่

โจทก์ฟ้องว่า ลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ในทางการที่จ้างโดยประมาทชนเสาไฟฟ้าของโจทก์หักและอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย จำเลยที่ 2รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวประเภทประกันภัยค้ำจุน ขอให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหาย72,835.91 บาท

โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1

จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุและไม่มีลูกจ้าง จำเลยที่ 1 ขับรถขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้รับประกันภัย ผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และปฏิเสธค่าเสียหาย

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม พิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงิน 72,835.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาข้อแรกว่าฟ้องของโจทก์ไม่บรรยายให้ชัดแจ้งว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน ข.ก.08156 ไว้กับจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมนั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ฟ้องของโจทก์กล่าวตอนแรกว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์หมายเลขทะเบียน ท.ก.08156 และได้กล่าวต่อมาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกันหรือแทนกันกับจำเลยที่ 1 เมื่ออ่านรวมกันพอเข้าใจความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันรถยนต์คันเกิดเหตุไว้กับจำเลยที่ 2 มิฉะนั้น จะให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้อย่างไร ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาข้อที่สองว่า ควรรับผิดเฉพาะค่าวัสดุอุปกรณ์ที่เสียหายส่วนค่าแรงงาน ค่ายานพาหนะและเครื่องมือกล ไม่ควรต้องรับผิดเพราะโจทก์มีอยู่เองนั้น เห็นว่า แม้โจทก์จะมีพนักงาน ยานพาหนะและเครื่องมือกลของโจทก์เอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ต้องใช้พนักงานและนำเครื่องมือเหล่านี้มาซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายจริง โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 2ได้เพราะถ้าไม่มีการกระทำละเมิดเกิดขึ้น โจทก์ย่อมใช้พนักงานและเครื่องมือเหล่านี้ไปทำประโยชน์อย่างอื่น หรือถ้าโจทก์จ้างเหมาให้บุคคลอื่นซ่อมแซมแทนโจทก์ก็คงจะต้องเสียเงินจำนวนเท่าเทียมกัน ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามที่โจทก์เรียกร้องชอบด้วยรูปคดีแล้ว

พิพากษายืน

สรุป

ฟ้องของโจทก์กล่าวตอนแรกว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ และได้กล่าวต่อมาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกันหรือแทนกันกับจำเลยที่ 1 เมื่ออ่านรวมกันพอเข้าใจความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้กับจำเลยที่ 2ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

ทรัพย์โจทก์เสียหายต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ในการซ่อม เสียค่าแรง ค่ายานพาหนะ และเครื่องมือกล แม้โจทก์จะมีพนักงาน ยานพาหนะ และเครื่องมือกลของโจทก์เองเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ต้องใช้พนักงานและนำเครื่องมือเหล่านั้นมาซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายจริง โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ได้ เพราะถ้าไม่มีการทำละเมิดเกิดขึ้น โจทก์ย่อมใช้พนักงานและเครื่องมือเหล่านั้นไปทำประโยชน์อย่างอื่น

Facebook Comments