การหย่า หรือ การสมรสสิ้นสุดลง มีหลักกฎหมายว่าอย่างไร
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการสิ้นสุดการสมรส
มาตรา ๑๕๐๑ การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสิ้นสุดการสมรส
หลักการที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงด้วยวิธีใดบ้าง
หลักการของมาตรา ๑๕๐๑ เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการสิ้นสุดของการสมรส โดย กำหนดให้เหตุที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงมี ๓ ประการ คือ (๑) ด้วยความตาย (๒) การหย่า (๓) ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส
“การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน”
ตัวอย่าง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์ไปจด ทะเบียนหย่าให้จำเลยตามข้อตกลง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้รับฟ้องแย้งไว้ พิจารณา แต่หลังจากยื่นฎีกาแล้วจำเลยถึงแก่กรรม การสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยย่อม สิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๕๐๑ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาจำเลยต่อไป ศาลฎีกาให้ จำหน่ายคดีจากสารบบความ (ฎ.๒๔๕๓/๒๕๓๓)
๑) เมื่อการสมรสยังไม่สิ้นสุดลงตามกฎหมาย ก็ไม่อาจแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยา
ฎ.๒๑๔๔/๒๕๔๗ โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสต่อกันและซื้อที่ดินพิพาทมาใน ระหว่างสมรส ที่ดินพิพาทย่อมเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย แม้ต่อมาโจทก์จำเลยจะแยก กันอยู่หรือหย่ากันในทางศาสนาอิสลามก็จะถือว่าโจทก์จำเลยขาดจากการเป็นสามีภริยาโดย ชอบด้วยกฎหมายมิได้ เพราะมูลคดีเกิดขึ้นที่จังหวัดนครนายก มิได้เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล จึงจะนำ พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. ๒๔๘๙ มาปรับใช้มิได้ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่อง ทรัพย์สินต้องบังคับตามมาตรา ๑๕๓๓ เมื่อโจทก์จำเลยยังมีสถานะเป็นสามีภริยาต่อกันตาม กฎหมาย จำเลยจึงฟ้องขอแบ่งสินสมรสมิได้