Home คดีครอบครัว ฟ้องหย่าด้วยเหตุประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มีหลักในการพิจารณาคดีอย่างไรบ้าง

ฟ้องหย่าด้วยเหตุประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มีหลักในการพิจารณาคดีอย่างไรบ้าง

3740

ฟ้องหย่าด้วยเหตุประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มีหลักในการพิจารณาคดีอย่างไรบ้าง

หลักกฎหมาย

มาตรา ๑๕๑๖ (๒)สามีหรือภริยาประพฤติชั่วไม่ว่าความประพฤติชั่วจะเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่

(ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง)

(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือของฝ่ายที่ ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและ ความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องนั้นหย่าได้

ตัวอย่างที่ถือว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่า

จำเลยมีอาชีพผิดกฎหมายค้ายาเสพติด โจทก์ซึ่งเป็นภริยารู้เห็นและร่วมกระทำ ด้วย โจทก์ให้ญาติโจทก์นำยาเสพติดเฮโรอีนมาจากภาคเหนือ จนญาติโจทก์และจำเลยถูกจับ ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย ๒๐ ปี ถือได้ว่าโจทก์ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำ ของจำเลยที่เป็นเหตุหย่านั้น โจทก์จะยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยหาได้ไม่ (ฎ.๓๒๘๘/๒๕๒๓) (๒.๒) จำเลยปลุกปล้ำและทำร้าย ท. ลูกจ้างโดยส่อเจตนาว่าจะใช้กำลังบังคับข่มขืน ใจให้ ท. ยินยอมให้จำเลยร่วมประเวณี แม้จะเกิดขึ้นภายในบ้านไม่มีบุคคลภายนอกรู้เห็น ก็ถือ ได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นภริยาได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง ต่อ ท. โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้ (ฎ.๑๘๔๕/๒๕๒๙)

ตัวอย่างที่ไม่ถือว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่า

การที่จำเลยไม่ยอมพูดกับโจทก์ หากมีเรื่องที่จะต้องปรึกษาหารือกับจำเลยจะ เขียนจดหมายแทนการพูดกันกับโจทก์เนื่องจากความผิดของโจทก์ที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับ หญิงอื่น และเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้บุตรได้ยินการทะเลาะกันระหว่างโจทก์กับจำเลยและมิให้โจทก์ ทำร้ายร่างกายจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นเหตุอันสมควรที่จะทำให้อาการดูถูกเกลียดชังโจทก์ และไม่พูดจากับโจทก์ได้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติชั่ว และถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำการ เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุหย่า (ฎ.๑๓๓๕/๒๕๓๓)

เดิมโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาจดทะเบียนสมรสกันมีบุตรด้วยกัน ๑ คน ต่อมา จดทะเบียนหย่าแล้วจดทะเบียนสมรสกันอีก ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์จำเลยแยกกันอยู่ โดยโจทก์ กับบุตรอยู่ในประเทศไทย ส่วนจำเลยพักอาศัยอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาตามลำพัง โจทก์พา บุตรเดินทางไปเยี่ยมจำเลยตามปกติพบชายอื่นพักอาศัยอยู่รวมห้องกับจำเลยในอพาร์ตเมนต์ ของจำเลย โจทก์จำเลยมีปากเสียงกัน หลังจากนั้นประมาณ ๓ ปี โจทก์พาบุตรเดินทางไปพบ จำเลยเนื่องจากต้องการให้จำเลยลงชื่อให้ความยินยอมในการขายตึกแถวสินสมรส โจทก์ก็พบ จำเลยพักอาศัยอยู่ร่วมห้องกับชายอีกคนหนึ่งในอพาร์ตเมนต์ของจำเลยอีก โจทก์จำเลยมีปากเสียงกันเช่นเคย เมื่อจำเลยเดินทางจากประเทศสหรัฐอเมริกามาที่ประเทศไทย ชายอื่นและเข่าอพาร์ตเมนต์อยู่ด้วยกันแทนที่จำเลยจะพักอยู่บ้านโจทก์ผู้เป็นสามี พฤติการณ์ ของจำเลยจึงเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอย่างร้ายแรง ทั้ง เป็นการกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องหย่า ได้ตามมาตรา ๑๕๑๖ (๒) (ก) (ข) และ (5) แม้ในระหว่างที่จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วย กฎหมายของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นและให้ความอุปการะเลี้ยงดูด้วย ซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลย ก็ชอบที่จำเลยจะยกขึ้นว่ากล่าวเอาความกับโจทก์ตาม สิทธิที่มีอยู่ กรณีหาเป็นเหตุทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์สิ้นไปไม่ (ฎ.๑๙๕/๒๕๔๓) วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุในมาตรา

จำเลยก็มากับ

อายุความและระยะเวลาในการฟ้องหย่า

มาตรา ๑๕๒๙ ๑๕๑๖ (๒) ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปี นับแต่วันผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตน อาจยกขึ้นกล่าวอ้าง แต่วรรคสองของมาตรา ๑๕๒๔ บัญญัติว่า เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้ สนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่งอาศัยเหตุอย่างอื่น แล้วนั้น อาจนำสืบ อนึ่ง หากสามีหรือภริยาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลานี้แล้ว อีกฝ่ายหนึ่งมิได้ยกเหตุแห่ง การระงับสิทธิฟ้องร้องขึ้นต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่อาจหยิบยกขึ้นได้ (ฎ.๕๓๙/๒๕๑๑) เพราะ เป็น บทบัญญัติในเรื่องสิทธิฟ้องร้องอันเป็นกำหนดอายุความ

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments