Home บทความคดีแพ่ง หลอกลวงเอาบัตรเอทีเอ็มไปกดเงินด่วน กระทำผิดฐานฉ้อโกงได้หรือไม่

หลอกลวงเอาบัตรเอทีเอ็มไปกดเงินด่วน กระทำผิดฐานฉ้อโกงได้หรือไม่

2794

หลอกลวงเอาบัตรเอทีเอ็มไปกดเงินด่วน กระทำผิดฐานฉ้อโกงได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2539

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 335ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ จำนวน 23,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย

จำเลย ให้การ ปฏิเสธ

ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) วรรคสอง จำคุก 3 ปี และ ให้ คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์จำนวน 23,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย

จำเลย อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน

จำเลย ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำพิพากษาของ ศาลชั้นต้น ให้ ลงโทษ จำคุก จำเลย ไม่เกิน ห้า ปี ต้องห้าม มิให้ ฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง และ การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ จำเลยศาลฎีกา ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย มา แล้วจาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ทั้งนี้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก และ มาตรา 222 ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่าเมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2535 บัตร บริการ เงิน ด่วน เอ.ที.เอ็ม.ของ ธนาคาร กสิกรไทย และ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด ที่ ออก ให้ แก่ ผู้เสียหาย รวม 2 ฉบับ ได้ หาย ไป ต่อมา ผู้เสียหาย ทราบ ว่า ตกอยู่ในรถ รับจ้าง ของ ห้าง สรรพ สินค้า เซ็นทรัล สาขา รามคำแหง ที่มา ส่ง ผู้เสียหาย รุ่งขึ้น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 ผู้เสียหาย มอบ ให้นางสาวดาวเรือง ไป รับ บัตร บริการ เงิน ด่วน ดังกล่าว มา คืน ให้ ผู้เสียหาย เมื่อ เวลา ประมาณ 20 นาฬิกา แล้ว จำเลย รับ อาสา ผู้เสียหาย ว่า จะ ไปตรวจสอบ ยอดเงิน ใน บัญชี เงินฝาก ให้ เพราะ เกรง ว่า บัตร บริการ เงิน ด่วนดังกล่าว อาจ ถูก บุคคลอื่น ใช้ ถอนเงิน ไป แล้ว ผู้เสียหาย จึง ได้ มอบบัตร บริการ เงิน ด่วน ทั้ง สอง ฉบับ ให้ จำเลย พร้อม บอก หมายเลข รหัส ให้จำเลย ทราบ ต่อมา ใน คืน เดียว กัน นั้น จำเลย นำ บัตร บริการ เงิน ด่วนทั้ง สอง ฉบับ ดังกล่าว ไป ใช้ เบิก ถอนเงิน จาก ตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของ ทางธนาคาร โดย เบิก ถอนเงิน จาก บัญชี เงินฝาก ของ ผู้เสียหาย ใน ธนาคาร กสิกรไทย และ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด เป็น จำนวนเงิน 20,000 บาท และ 3,000 บาท ตามลำดับ มี ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จะ วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ จำเลย ใน ประการ แรก ว่า การกระทำ ของ จำเลย ดังกล่าว แล้ว เป็น ความผิดฐาน ลักทรัพย์ หรือ ฉ้อโกง เงิน จำนวน 20,000 บาท และ 3,000 บาทของ ผู้เสียหาย เห็นว่า การ ที่ จำเลย รับ อาสา ว่า จะ นำ บัตร บริการ เงิน ด่วนของ ผู้เสียหาย ไป ตรวจสอบ ยอดเงิน ใน บัญชี เงินฝาก แต่ กลับ นำ บัตร บริการเงิน ด่วน ดังกล่าว ไป เบิก ถอนเงิน จาก ตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของ ธนาคาร ไปเป็น พฤติการณ์ ที่ ถือได้ว่า จำเลย หลอกลวง เอา บัตร บริการ เงิน ด่วนของ ผู้เสียหาย เพื่อ นำ ไป ใช้ เบิก ถอน เอา เงิน จาก ตู้ เอ.ที.เอ็ม.ของ ทาง ธนาคาร และ การ ที่ จำเลย ใช้ บัตร บริการ เงิน ด่วน ของ ผู้เสียหายเบิก ถอนเงิน จาก ตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของ ธนาคาร โดย การ เบิก ถอนเงิน จากบัญชี เงินฝาก ใน ธนาคาร ของ ผู้เสียหาย ถือได้ว่า เงิน ที่ จำเลย เบิก ถอนเงิน จาก ตู้ เอ.ที.เอ็ม. จำนวน 20,000 บาท และ 3,000 บาท ดังกล่าวแล้ว นั้น เป็น เงิน ของ ผู้เสียหาย การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็น ความผิดฐาน ฉ้อโกง เงิน จำนวน 20,000 บาท และ 3,000 บาท ของ ผู้เสียหายซึ่ง แม้ โจทก์ จะ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ใน ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ ศาล ก็ ลงโทษจำเลย ใน ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ ลงโทษ จำเลย ใน ความผิดฐาน ลักทรัพย์ ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ใน ปัญหา นี้ฟังขึ้น บางส่วน ”

พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ให้ ลงโทษ จำคุก 1 ปี และ ปรับ 4,000 บาท จำเลย ไม่เคยได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน และ ปรากฏ ตาม คำร้องขอ งจำเลย ฉบับ ลงวันที่2 พฤษภาคม 2538 ว่า จำเลย ได้ นำ เงิน จำนวน 23,000 บาท มา วาง ไว้ ต่อศาลชั้นต้น เพื่อ ชดใช้ ให้ ผู้เสียหาย แล้ว เห็นสมควร ให้ โอกาส จำเลยได้ กลับ ประพฤติ ตน เป็น คนดี ต่อไป จึง ให้ รอการลงโทษ จำคุก จำเลย ไว้มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ถ้า จำเลย ไม่ชำระค่าปรับ ให้ บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์

สรุป

จำเลยอาสานำบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายไปตรวจสอบยอดเงินในบัญชีเงินฝากแต่กลับนำบัตรไปเบิกถอนเงินจากตู้เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารไปถือว่าจำเลยหลอกเอาบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายไปเพื่อเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากในธนาคารของผู้เสียหายจากตู้เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารเงินที่เบิกถอนนั้นเป็นของผู้เสียหายจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงเงินของผู้เสียหายแม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ศาลก็ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสาม

Facebook Comments