Home คดีครอบครัว เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายแบบเข้าใจง่าย

เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายแบบเข้าใจง่าย

เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายแบบเข้าใจง่าย

3532

เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายแบบเข้าใจง่าย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ศูนย์ทนายความฟ้องหย่าจะมาแนะนำเกี่ยวกับเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายแบบเข้าใจง่าย ว่ามีเหตุใดบ้าง มีขั้นตอนแบบใดบ้าง มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

เกี่ยวกับการฟ้องหย่า

การฟ้องหย่าถือเป็นการที่คู่รักตัดสินใจยุติ ความสัมพันธ์สามีภริยาทางกฎหมายแบบไม่สมัครใจหย่า ซึ่งกระบวนการหรือขั้นตอนไม่ได้ยุ่งยากมากความเลย เพียงท่านมีเหตุตามกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพื่อให้ฟ้องหย่าได้ ท่านก็สามารถยุติความเป็นสามีภริยาตามกฎหมาย ที่ถูกต้องและเป็นกระบวนการสันติวิธี

ศาลที่รับฟ้องหย่า

ศาลที่จะรับพิจารณาคดีฟ้องหย่าของท่าน มีด้วยกันสองที่กล่าวคือ ศาลที่สามีหรือภริยาท่านมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน

หรือศาลที่อยู่ในสถานที่มูลคดีเกิด เช่นสถานที่ที่เป็นชู้หรือมีชู้ สถานที่ที่เคยอยู่กินหรือทิ้งร้าง

เหตุหย่าตามกฎหมาย

  1. เป็นชู้ หรือ มีชู้ ยกย่องหญิงอื่น
  2. ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ซึ่งทำให้อับอาย เสียหาย  ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
  3. ทำร้ายหรือทรมานจิตใจอย่างร้ายแรง เหยียดหยามหรือดูหมิ่นบุพการีอย่างร้ายแรง
  4. ทิ้งร้างเกินหนึ่งปี
  5. สมัครใจแยกกันอยู่เกิน ๓ ปี
  6. เป็นคนสาบสูญ
  7. ถูกศาลพิพากษาจำคุกเกิน ๑ ปี
  8. ไม่ช่วยเหลือหรืออุปการะเกิน ๑ ปี หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
  9. วิกลจริตเกินสามปี
  10. ผิดทัณฑ์บนที่เป็นหนังสือ
  11. เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง
  12. ไม่สามารถร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

ส่วนใหญ่ในคดีหย่าใช้เหตุใดในการฟ้องหย่า

ส่วนมากจะเป็นการทิ้งร้าง หรือ สมัครใจแยกกันอยู่เกิน ๓ ปี

เอกสารที่ควรมอบให้ทนายความหรือเตรียมตัวในการฟ้องหย่า

  1. บัตรประชาชน
  2. ทะเบียนบ้าน
  3. สูติบัตร
  4. ใบสมรส
  5. รูปถ่ายการอยู่กิน
  6. พยานหลักฐานที่เกี่ยวกับเหตุหย่า
  7. หลักฐานค่าเลี้ยงชีพ
  8. หลักฐานค่าเลี้ยงดู
  9. หลักฐานเกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครอง

ค่าธรรมเนียมศาลที่ใช้ในการฟ้องหย่า

หากฟ้องหย่าอย่างเดียวมีค่าธรรมเนียม ๒๐๐ บาท

หากมีสินสมรสร้อยละ ๒ ของทุนทรัพย์

ค่าเลี้ยงดูและค่าเลี้ยงชีพได้รับยกเว้น

ค่าส่งหมายศาลอยู่ประมาณ ๓๐๐-๑๐๐๐ บาท

ระยะเวลาในการฟ้องคดี

หากเป็นคดีทั่วไปที่ไม่มีการต่อสู้คดี หรือพิจารณาคดีฝ่ายเดียว มีระยะเวลาอยู่ประมาณ ๔๕ วัน

หากเป็นคดีที่มีความยุ่งยากในการสู้คดี อยู่ประมาณ ๓เดือน ถึง ๑ ปี

จดทะเบียนในต่างประเทศฟ้องหย่าที่ไทยได้หรือไม่

ฟ้องได้มีกฎหมายรองรับ

สามารอุทธรณ์ฎีกาได้หรือไม่ในการฟ้องหย่า

สามารถอุทธรณ์ได้ตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีตามกฎหมาย แต่ส่วนมากจะจบในชั้นอุทธรณ์

ขั้นตอนหลังศาลตัดสินให้หย่าต้องทำอะไรบ้าง

นำคำพิพากษา และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดไปจดทะเบียนหย่า

ควรฟ้องหย่าหรือไม่ หรือให้อีกฝ่ายฟ้อง

ทางทีมงานแนะนำว่าควรปรึกษาทนายและวางแผนในการฟ้องคดี

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments