วิธีกำหนดค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาพิจารณาจากสิ่งใดบ้าง
วิธีกำหนดค่าสินไหมทดแทน การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ มาตรา ๔ ๓ ๔ กำหนดให้ใช้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด บางครั้งถ้าหากผู้เสียหายมีส่วนผิดศาลก็อาจจะแบ่งส่วนรับผิดได้ตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา ๔๔๒ หรือว่าความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำของคนหลายคนที่ ไม่ใช่ร่วมกันทำละเมิดตามมาตรา ๔๓๒ ศาลก็อาจจะกำหนดว่าให้คนไหนรับผิด เท่าไรได้ ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๓๔ นี้
ซึ่งในการพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
ประการที่ ๑ โดยสถานใด
หมายถึงให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนวิธีไหน ขึ้นอยู่กับการทำ ละเมิดของจำเลย และความเสียหายที่โจทก์ได้รับ จะให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ ที่ ราคาทรัพย์ หรือว่าจะให้ใช้ค่าเสียหาย หรือว่าจะให้โฆษณาทางหน้าหนังสือพิมพ์ ให้จำเลยออกจากที่พิพาท ให้จำเลยหยุดการกระทำต่อไปซึ่งละเมิด
ประการที่ ๒ เพียงใด
จะให้ใช้เป็นจำนวนเงินเท่าไร กฎหมายกำหนดให้ศาลใช้ ดุลพินิจตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็น ถึงความเสียหายที่ได้รับ เป็นจำนวนเท่าไร หากสืบให้ศาลเห็นไม่ได้ ศาลอาจ กำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เคยมีคดีที่ศาลฎีกาไม่กำหนดค่าเสียหายให้ เพราะโจทก์ไม่สืบค่าเสียหาย ศาลพิพากษาห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท โดยไม่กำหนดค่าเสียหายให้ ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง ศาลต้อง ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้โดยการประมาณเอา ในกรณีเสียหายแก่ชื่อเสียง ศาลอาจะให้โฆษณาขอโทษทางหนังสือพิมพ์ฉบับใด เป็นเวลากี่วัน
ประการที่ ๓ พฤติการณ์แห่งละเมิด
หมายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของ จำเลยเป็นอย่างไร มีความประมาทเลินเล่อมากหรือน้อยเพียงใด หรือเป็นการ กระทำโดยจงใจอุกอาจ หรือตามพฤติการณ์อื่น ๆ เช่นว่าขับรถเข้าไปในที่คน พลุกพล่นก็ยังขับอย่างเร็ว หรือว่าอยู่ใกล้บริเวณเชื้อเพลิงมากยังไปจุดบุหรี่
ประการที่๔ ความร้ายแรงแห่งการทำละเมิด
หมายถึงจำเลยกระทำละเมิดโดยอุกอาจทารุณและโหดร้ายหรือไม่ มีพฤติการณ์ร้ายแรงเพียงใด