Home ทั้งหมด ศาลฎีกาวางหลัก เรื่องการหักวันคุมขัง ออกจากโทษจำคุกในคดีที่มีหลายสำนวนอย่างไร

ศาลฎีกาวางหลัก เรื่องการหักวันคุมขัง ออกจากโทษจำคุกในคดีที่มีหลายสำนวนอย่างไร

2608

ศาลฎีกาวางหลัก เรื่องการหักวันคุมขัง ออกจากโทษจำคุกในคดีที่มีหลายสำนวนอย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799-4856/2564

ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ ๔ ถึงที่ 5 ร่วมกันปลอมคำขอกู้เงิน หนังสือกู้เงินและใบรับเงินกู้เพื่อให้ได้เงินมาจาก ผู้เสียหาย แล้วร่วมกันลักเอาเงินดังกล่าวไปตามฟ้อง จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ก็ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ ๔ ถึงที่ ๗ ปลอมคำขอกู้เงิน หนังสือกู้เงินและใบรับเงินกู้เพื่อให้ได้เงินมาจากผู้เสียหาย แล้วร่วมกันลักเอาเงินดังกล่าวไป มีการปลอมคำขอกู้เงิน หนังสือกู้เงินและใบรับเงินกู้แล้วเอาเงินของผู้เสียหายไปหลายร้อยฉบับ การปลอมเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหญ่ ทำกันเป็น ขบวนการ ยากที่จะปกปิดมิให้คนในองค์กรรู้เรื่องได้ ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ ๗ อายุประมาณ ๖๐ ปี เข้ามาเป็นกรรมการ ในคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้สมัยที่ ๒ หรือที่ ๓ บางช่วงดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ จำเลยที่ ๗ ย่อมรู้กิจการภายในโดยเฉพาะในเรื่องการกู้เงินของผู้เสียหายเป็นอย่างดี และรู้อยู่ว่าเอกสารการกู้ยืมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม การที่จำเลยที่ ๗ ลงลายมือชื่อในหนังสือกู้เงินปลอมดังกล่าวจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ ๗ ร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ที่ ๗ แล้วลักเอาเงินตามหนังสือกู้เงินดังกล่าวไปจริง

ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ศาลต้องหักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาเสมอไป การหักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๒ เป็นดุลพินิจ ของศาลที่จะพิจารณาว่าสมควรหรือไม่ในแต่ละคดี หากเห็นว่าไม่สมควรหักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุก ตามคำพิพากษาก็ให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษา จำเลยที่ ๗ ถูกขังระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณาในคดีทั้งห้าสิบแปด สำนวนนี้และสำนวนอื่นในเวลาเดียวกัน รวม ๒๒๗ คดี เป็นการขังซ้อนกันไป คำพิพากษาศาลชั้นต้นระบุว่า ศาลได้หักจำนวน วันที่จำเลยที่ ๗ ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในคดีกลุ่มอื่นแล้ว การที่จะหักจำนวนวันที่จำเลยที่ ๗ ถูกคุมขังออกจากระยะเวลา จำคุกทั้งห้าสิบแปดสำนวนนี้อีก จึงเป็นการหักที่ซ้ำซ้อนไม่เป็นไปตามความจริง ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจโดยกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า ไม่หักวันคุมขังคดีนี้ออกจากโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ ๓ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี และยุติธรรมดีแล้ว มิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไป 2ด้วยความยุติธรรม หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗

Facebook Comments