Home บทความคดีแพ่ง อุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณ มีผลสมบูรณ์โดยไม่ต้องจดทะเบียนได้หรือไม่

อุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณ มีผลสมบูรณ์โดยไม่ต้องจดทะเบียนได้หรือไม่

2412

อุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณ มีผลสมบูรณ์โดยไม่ต้องจดทะเบียนได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2539

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2524 จำเลย ที่ 1 ได้ ทำหนังสือ อุทิศ ที่ดิน ของ จำเลย บางส่วน ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 13721ให้ เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ เพื่อ ประชาชน ใช้ ร่วมกัน ทางสาธารณประโยชน์ ดังกล่าว มี สภาพ เป็น ถนน ดิน ลูกรัง รวม 6 สายทั้งนี้ จำเลย ที่ 1 ได้ แสดง เจตนา อุทิศ โดย ปริยาย ให้ ประชาชน ทั่วไปใช้ ประโยชน์ ร่วมกัน ภายใน บริเวณ ที่ดิน จัดสรร ของ จำเลย ที่ 1 เป็น เวลาหลาย ปี ก่อน ที่ จะ แสดง เจตนา เป็น หนังสือ อุทิศ ให้ แก่ ทางราชการและ ประชาชน ทั่วไป ได้ ใช้ ประโยชน์ จาก ทางสาธารณะ ดังกล่าว ด้วยยานพาหนะ และ เดิน สัญจร ตลอดมา ถึง ปัจจุบัน ทาง สาธารณประโยชน์ดังกล่าว จึง ตกเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภท ทรัพย์สิน ของ แผ่นดินสำหรับ พลเมือง ใช้ ประโยชน์ ร่วมกัน และ ไม่อาจ โอน กัน ได้ เว้นแต่ อาศัยอำนาจ แห่ง บท กฎหมาย หรือ พระราชกฤษฎีกา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2), 1305 เมื่อ ปี 2525 จำเลยที่ 1 นำ ที่ดิน ซึ่ง เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ บางส่วน ไป ขอ แบ่งแยก ออก เป็นโฉนด ที่ดิน ใหม่ ซึ่ง เจ้าพนักงาน ที่ดิน ได้ ออก โฉนด ที่ดิน ให้ ใหม่เลขที่ 63881 อันเป็น การ ออก โฉนด ที่ดิน โดย คลาดเคลื่อน ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ต่อมา จำเลย ที่ 2 ซื้อ ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว จาก การ ขายทอดตลาด ของ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 7903/2523ของ ศาลชั้นต้น กับ มี การ ออก ใบแทน โฉนด ที่ดิน และ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ตามลำดับ เมื่อ เดือนสิงหาคม 2531 ซึ่ง โจทก์ ได้ คัดค้าน แล้ว การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สามเป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต และ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ จำเลยทั้ง สาม รู้ อยู่ แล้ว ว่า ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 63881 เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ อันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ครั้น เดือน กุมภาพันธ์2532 จำเลย ที่ 3 ได้ ปิด กั้น ที่ดิน โฉนด เลขที่ 63881 ไม่ให้ ประชาชนใช้ สัญจร ไป มา กับ นำ ดิน มา ถม จน เต็ม พื้นที่ โจทก์ ได้ แจ้ง ให้ จำเลยรื้อถอน รั้ว ที่ ปิด กั้น และ ขนย้าย ดิน ออกจาก ที่ดินพิพาท แล้ว แต่ จำเลยเพิกเฉย จึง ขอให้ เพิกถอน โฉนด ที่ดิน และ ใบแทน โฉนด ที่ดินพิพาทเลขที่ 63881 ให้ เพิกถอน นิติกรรม การ โอน กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 และ ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จดทะเบียน ที่ดินพิพาท เป็นทาง สาธารณประโยชน์ กับ ให้ จำเลย ที่ 3 รื้อถอน รั้ว และ ขนย้าย ดิน ออกจาก ที่ดินพิพาท ดังกล่าว

จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ หนังสือ อุทิศ บางส่วนของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 13721 ให้ แก่ โจทก์ จริง แต่ ไม่ได้ รวม ถึง ที่ดินพิพาท และ ไม่ได้ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ จึง ไม่สมบูรณ์ ตาม กฎหมายที่ดินพิพาท จึง ไม่ใช่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภท ทรัพย์สิน สำหรับพลเมือง ใช้ ร่วมกัน โจทก์ ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1 ขอ รังวัด แบ่งแยก ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ ปี 2525 แต่ โจทก์ ไม่ คัดค้าน เกิน 1 ปี คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง

จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า หาก จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ อุทิศ ที่ดินพิพาทให้ แก่ โจทก์ จริง แต่ ไม่ได้ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ นิติกรรม ดังกล่าวจึง ไม่มี ผล สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย และ โจทก์ ครอบครอง มา ไม่ถึง 10 ปีจึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ โดย การ ครอบครอง ประชาชน ไม่เคย ใช้ ที่ดินพิพาท เป็นทาง สัญจร ไป มา จน เป็น ทางสาธารณะ จำเลย ที่ 2 ซื้อ ที่ดินพิพาทจาก การ ขายทอดตลาด ของ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ตาม คำสั่ง โดยสุจริตโจทก์ ไม่เคย คัดค้าน จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง

จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า หาก จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ อุทิศ ที่ดินให้ แก่ โจทก์ ก็ เป็น การแสดง เจตนา ยกให้ หลังจาก แบ่งแยก ที่ดินพิพาทออกจาก ที่ดิน โฉนด ที่ 13721 แล้ว และ เมื่อ ไม่ได้ จดทะเบียน จึง ไม่มีผล สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย ทั้ง การ ครอบครอง ของ โจทก์ และ การ ใช้ สัญจร ของประชาชน ยัง ไม่ถึง 10 ปี โจทก์ จึง ไม่ได้ สิทธิ ใน ที่ดินพิพาทจำเลย ที่ 3 ปิด กั้น และ ถม ดิน ใน ที่ดินพิพาท ตาม สิทธิ ของ จำเลย ที่ 3โจทก์ ไม่มี สิทธิ ขอ ห้าม และ ไม่มี สิทธิ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 3 รื้อถอนขอให้ ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง

โจทก์ อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ เพิกถอน โฉนด ที่ดิน และ ใบแทนโฉนด ที่ดิน เลขที่ 63881 ตำบล หนองแขม อำเภอหนองแขม (ภาษีเจริญ) กรุงเทพมหานคร และ เพิกถอน นิติกรรม การ โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน แปลงดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 กับ เพิกถอน นิติกรรม การ ยกให้ ระหว่างจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้ จำเลย ที่ 3 รื้อถอน เสา ไม้ รื้อ ลวดหนาม และขน ดิน ออก ไป จาก ที่ดิน ตาม ฟ้อง ห้าม จำเลย ที่ 3 และ บริวาร เข้าเกี่ยวข้อง ใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว อีก ต่อไป

จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ข้อ แรก ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ อุทิศที่ดิน ให้ เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 รวมทั้งที่ดินพิพาท ซึ่ง ต่อมา ได้ แบ่งแยก ออก เป็น ที่ดิน โฉนด เลขที่ 63881เนื้อที่ 37 ตารางวา ด้วย หรือไม่ จำเลย ที่ 1 ให้การ ต่อสู้ ว่าการ อุทิศ ให้ ดังกล่าว ไม่ได้ รวม ถึง ที่ดินพิพาท โดย จำเลย ที่ 1กำลัง ดำเนินการ แบ่งแยก ที่ดินพิพาท ออก เป็น โฉนด ใหม่ เพื่อ ทำการ จัดสรรขาย ให้ แก่ บุคคล ทั่วไป ได้ พิจารณา หนังสือ อุทิศ ที่ดิน ให้ เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ยอมรับ ว่า ได้ อุทิศที่ดิน ของ ตน ให้ เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ ตาม เอกสาร ฉบับนี้ แล้ว ปรากฏว่า หนังสือ ดังกล่าว ทำ ขึ้น เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2524 ที่ดิน ที่จำเลย ที่ 1 ระบุ ไว้ ใน เอกสาร หมาย จ. 1 คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 13721เลขที่ ดิน 241 ระวาง 4ต/9ฎ หน้า สำรวจ 1294 ตำบล หนองแขม อำเภอ หนองแขม (ภาษีเจริญ) จังหวัด กรุงเทพมหานคร และ มี ข้อความ ใน หนังสือ ดังกล่าว ว่า “ขอ อุทิศ ที่ดิน บางส่วน ใน โฉนด นี้ ให้ เป็น ทางสาธารณประโยชน์ ตาม สำเนา โฉนด ที่ดิน ที่ ได้ แนบ มา พร้อม นี้ แล้ว โดยมี รายละเอียด ดังนี้

1. ถนน เมนต์ ขนาด กว้าง 8.00 เมตร ยาว ประมาณ 118 เมตร

2. ถนน ซอย แยก 1 ขนาด กว้าง 6.00 เมตร ยาว ประมาณ 95.00 เมตร

3. ถนน ซอย แยก 2 ขนาด กว้าง 6.00 เมตร ยาว ประมาณ 45 เมตร

4. ถนน ซอย แยก 3 ขนาด กว้าง 6.00 เมตร ยาว ประมาณ 65.00 เมตร

5. ถนน ซอย แยก 4 ขนาด กว้าง 6.00 เมตร ยาว ประมาณ 60.00 เมตร

6. ถนน ซอย แยก 5 ขนาด กว้าง 6.00 เมตร ยาว ประมาณ 33.00 เมตรเพื่อ ประชาชน ได้ ใช้ ร่วมกัน ตั้งแต่ บัดนี้ เป็นต้น ไป ” เมื่อ พิจารณาข้อความ ใน หนังสือ อุทิศ ที่ดิน ให้ เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ ตาม เอกสาร หมายจ. 1 ประกอบ กับ สำเนา โฉนด ที่ดิน และ แผนที่ หลัง โฉนด ตาม เอกสาร หมายจ. 2 ด้วย แล้ว เห็น ได้ว่า ใน แผนที่ รูป ที่ดิน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าวปรากฏว่า มี ถนน เมนต์ 1 สาย และ ถนน ซอย แยก 5 สาย ทั้ง ถนน เมนต์และ ถนน ซอย แยก ใน รูป แผนที่ มี ข้อความ ระบุ ขนาด ของ ถนน ทั้ง ส่วน กว้างและ ยาว กำกับ บอก ให้ ทราบ ไว้ ทุก ถนน ซึ่ง ตรง กับ ข้อความ ที่ ระบุ ไว้ ในเอกสาร หมาย จ. 1 ทุกประการ โดยเฉพาะ ถนน เมนต์ระบุ ไว้ ว่า มี ขนาด กว้าง8.00 เมตร ยาว ประมาณ 118 เมตร มิได้ ระบุ ยกเว้น ไม่ อุทิศถนน เมนต์บางส่วน แต่อย่างใด นอกจาก พยานเอกสาร ดังกล่าว แล้วโจทก์ ยัง มี พยานบุคคล คือ นายมังคุด และนายมะหาด ซึ่ง รู้เห็น การ ที่ จำเลย ที่ 1 อุทิศ ที่ดิน และ ได้ ลงชื่อ เป็น พยานใน เอกสาร หมาย จ. 1 ได้ เบิกความ ยืนยัน ว่า เหตุ ที่ จำเลย ที่ 1ทำ หนังสือ อุทิศ ที่ดิน ให้ เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1ก็ เนื่องมาจาก บรรดา ผู้ซื้อ ที่ดิน จัดสรร ของ จำเลย ที่ 1 ได้ ปรึกษากัน และ มี ความเห็น ให้ จำเลย ที่ 1 ยอม ยก ทาง ดังกล่าว ให้ เป็น ทางสาธารณประโยชน์ เพื่อ ทางราชการ จะ ได้ ปรับปรุง ให้ ดี ขึ้น จาก ที่ เป็น ทางลูกรัง มี หลุม บ่อ ไม่ สะดวก แก่ การ ใช้ สัญจร ต่อมา ทางราชการ โดย สำนักงานเขต หนองแขม จึง เข้า ปรับปรุง เป็น ถนน ดี ขึ้น เมื่อ ปี 2526 ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 29 และ จ. 30 กับ ได้ วาง ท่อระบายน้ำ และ ปรับ ผิวจราจร ใน ปี 2529 ตาม เอกสาร หมาย จ. 28 นายมะขาม พยานโจทก์ อีก ปาก หนึ่ง ซึ่ง เป็น หัวหน้า หมวด รักษา ที่สาธารณะสำนักงาน เขต หนองแขม ก็ ได้ เบิกความ ยืนยัน รับรอง ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ข้อเท็จจริง จึง รับฟัง ได้ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ อุทิศ ถนน เมนต์ให้ เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ ทั้งหมด ถนน เมนต์ตลอด ทั้ง สาย จึง ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดย สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย ทันที ที่ จำเลย ที่ 1ได้ แสดง เจตนา อุทิศ ให้ เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ โดย ไม่จำต้องจดทะเบียน โอนสิทธิ การ ให้ ทาง โฉนด ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ดังนั้น แม้ ข้อความใน ตอนท้าย ของ เอกสาร หมาย จ. 1 ได้ ระบุ ว่า จำเลย ที่ 1 จะ ไปจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าว ณ สำนักงาน ที่ดิน ให้ ต่อไปจึง หา มีผล ทำให้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ที่ อุทิศ ยัง ไม่ โอน ไป ไม่ ที่ จำเลยทั้ง สาม นำสืบ ต่อสู้ ว่า เฉพาะ ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 37 ตารางวา ซึ่งเป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ถนน เมนต์ดังกล่าว อยู่ ปลายทาง ไม่รวม อยู่ ในที่ดิน ที่ จำเลย ที่ 1 แสดง เจตนา อุทิศ ให้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 เพราะจำเลย ที่ 1 ได้ จัดสรร ที่ดิน ดังกล่าว ออก เป็น แปลง ย่อย ตั้งแต่ ปี 2514แต่ ได้ มอบอำนาจ ให้ นายแดง ตาม หนังสือมอบอำนาจ ฉบับ ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2523 ยื่น คำขอ แบ่งแยก ที่ดิน ออกจาก กัน4 แปลง โดย แบ่งแยก ใน นาม เดิม ตาม สำเนา เอกสาร หมาย ล. 1/5 และ นายแดง ได้ ยื่น หนังสือ คำขอ แบ่งแยก นั้น ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัดกรุงเทพมหานคร สาขา ธนบุรี เมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2524 อันเป็นเวลา ก่อน ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ อุทิศ ที่ดิน ให้ เป็น ทางสาธารณประโยชน์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 นั้น ได้ พิเคราะห์ ข้อความใน เอกสาร หมาย ล. 1/5 ซึ่ง ระบุ ว่า “ข้าพเจ้า จะ นำ ชี้ เขต เองใน วัน รังวัด ต่อไป เพื่อ ให้ เจ้าหน้าที่ ปัก หลักเขต ให้ เป็น ที่ แน่นอนต่อไป ” แสดง ว่า ตาม คำขอ ดังกล่าว ยัง ไม่มี ระบุ เขต ที่ดิน ที่ ประสงค์จะ แบ่งแยก นอกจาก นี้ ต่อมา ยัง ปรากฏ อีก ว่า แม้ จำเลย ที่ 1 โดยนายแดง ซึ่ง เป็น ผู้รับมอบอำนาจ ดังกล่าว จะ ได้ ยื่น คำขอ แบ่งแยก ตาม เอกสาร หมาย ล. 1/5 จาก 4 แปลง เหลือ 3 แปลง ตาม เอกสาร หมายล. 1/7 โดย ให้ ใช้ แทน คำขอ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1/5 มี ข้อความ ระบุถึง บันทึก ถ้อยคำ ของ ช่างแผนที่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2525 ซึ่ง ตาม แผนที่เอกสาร หมาย ล. 1/6 ที่ จัดทำ ตาม คำขอ เอกสาร หมาย ล. 1/5 มี ข้อความระบุ ว่า นายแดง ผู้รับมอบอำนาจ จาก จำเลย ที่ 1 รับรอง ว่า การ รังวัด แบ่งแยก ตาม แผนที่ ที่ ปรากฏ ซึ่ง มี ที่ดินพิพาท รวม อยู่ ด้วยถูกต้อง ตาม ความ ประสงค์ แล้ว แต่ ก็ เห็น ได้ ชัดแจ้ง ว่า เป็น การ รับรองเมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2525 ภายหลัง จาก การ ทำ หนังสือ อุทิศ ที่ดินให้ เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 แล้ว การ ออก โฉนดที่ดิน เลขที่ 63881 ซึ่ง เป็น ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2525 จึง เป็น การ ออก โฉนด ภายหลัง จาก ที่ดินพิพาท ได้ ตกเป็น ทาง สาธารณประโยชน์ แล้ว การ ออก โฉนด ที่ดินพิพาทตาม สำเนา โฉนด เอกสาร หมาย ล. 2/6 จึง เป็น การ ออก โดยมิชอบและ ศาล ย่อม มีอำนาจ เพิกถอน ได้ ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61วรรคท้าย ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น

ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม มี ว่าการ ที่ จำเลย ที่ 2 ซื้อ ที่ดินพิพาท จาก การ ขายทอดตลาด ตาม คำสั่งศาลจะ ถือว่า จำเลย ที่ 2 ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท โดยชอบ หรือไม่ข้อ นี้ เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1307 ได้ บัญญัติ ว่า”ท่าน ห้าม มิให้ ยึดทรัพย์สิน ของ แผ่นดิน ไม่ว่า ทรัพย์สิน นั้น จะ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือไม่ ” และ มาตรา 1305 บัญญัติ ว่า”ทรัพย์สิน ซึ่ง เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จะ โอน แก่ กัน มิได้เว้นแต่ อาศัย อำนาจ แห่งกฎหมาย เฉพาะ หรือ พระราชกฤษฎีกา ” เมื่อข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ดัง วินิจฉัย มา แล้ว ข้างต้น ว่า ที่ดินพิพาท เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การ ออก โฉนด สำหรับ ที่ดินพิพาท ภายหลังจาก ที่ดินพิพาท ได้ ตกเป็น ทาง สาธารณประโยชน์ เป็น การ มิชอบ ดังนั้นจำเลย ที่ 2 ซึ่ง ซื้อ ที่ดินพิพาท มา ตาม โฉนด ที่ ออก โดยมิชอบ ดังกล่าวแม้ จะ ได้ ซื้อ ขาย จาก การ ขายทอดตลาด ของ ศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ก็ ตาม จำเลย ที่ 2 ก็ ไม่ได้รับ ความคุ้มครอง ตาม มาตรา 1330 จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาท และ ไม่มี อำนาจ โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 3จำเลย ที่ 3 ผู้รับโอน ไว้ ย่อม ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ เช่นเดียวกันจำเลย ที่ 3 จึง ไม่มี สิทธิ เข้า ไป ครอบครอง ทำ รั้ว ปิด กั้น และ ถม ดินใน ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น ที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น ปัญหา ข้อ อื่น แม้ จะวินิจฉัย ไป ก็ ไม่ทำ ให้ ผล ของ คดี เปลี่ยนแปลง ไม่เป็น สาระ แก่ คดีจึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย ”

พิพากษายืน

สรุป

จำเลยที่1อุทิศถนนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ทั้งหมดถนนทั้งสายจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีที่จำเลยที่1ได้แสดงเจตนาอุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ทางโฉนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา525แม้ข้อความในตอนท้ายของหนังสืออุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ได้ระบุว่าจำเลยที่1จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวณสำนักงานที่ดินต่อไปหามีผลทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อุทิศยังไม่โอนไปไม่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทหลังจากที่ดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์เป็นการมิชอบดังนั้นจำเลยที่2ซึ่งซื้อที่ดินพิพาทมาตามโฉนดที่ออกโดยมิชอบแม้จะซื้อขายจากการขายทอดตลาดของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1330ก็ตามจำเลยที่2ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา1330จำเลยที่2จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่3จำเลยที่3ผู้รับโอนไว้ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นเดียวกันในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1305

Facebook Comments