Home คดีครอบครัว บทวิเคราะห์และการวินิจฉัย การฟ้องหย่าตามกฎหมายโดยละเอียด

บทวิเคราะห์และการวินิจฉัย การฟ้องหย่าตามกฎหมายโดยละเอียด

2935

บทวิเคราะห์และการวินิจฉัย การฟ้องหย่าตามกฎหมายโดยละเอียด

การฟ้องหย่า จะต้องเริ่มต้นคดีอย่างไร เหตุหย่าตามกฎหมายมีอะไรบ้าง การจ้างหรือใช้ทนายความในการดำเนินการให้ มีค่าใช้จ่ายจะสูงหรือเปล่า จะต้องเตรียมเอกสารและพยานหลักฐานใดอะไรบ้าง จะต้องมีพยานไหมต้องมีกี่คนอย่างไร ต้องขึ้นศาลกี่ครั้ง ใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะได้ใบหย่า มีขั้นตอนหลังจากการได้คำพิพากษาแล้วนำไปจดทะเบียนหย่าอย่างไรต้องทำอะไรบ้าง

คำถามเล่านี้มักเกิดกับทุกคนที่ต้องการดำเนินคดีฟ้องหย่า ทีมงานทนายกฤษดา จะขออนุญาตจะมาตอบคำถามทุกคำถามที่คุณอยากจะรู้ ในการฟ้องหย่า พร้อมอธิบายขั้นตอนวิธีการอย่างละเอียดครับ

เหตุฟ้องหย่ามีอะไรบ้าง ฟ้องได้หรือไม่ สรุปสั้นมีเหตุอะไรบ้าง

สรุปง่ายๆ เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายของบ้านเรานั้น มีอยู่ด้วยกัน 10 ประการ ทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตสรุปเป็นเหตุง่ายๆดังนี้

1ยกย่องหญิงอื่น เป็นชู้หรือมีชู้

2ประพฤติชั่ว

3.ทำร้ายร่างกายหรือทรมานจิตใจ หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามบุพพากรี

4.จงใจทิ้งร้างเกินหนึ่งปี /ต้องคำพิพากษาจำคุก /สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี

5.ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

6.ไม่ช่วยเหลืออุปการะ หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา

7วิกลจริต

8ผิดฑัณณ์บนที่ตกลงกัน

9.เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง

10 ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

รายละเอียดที่ตัวบทกฎหมายนิยามไว้

ทีมงานทนายกฤษดาขอสรุป ซึ่งมีรายละเอียดที่ระบุในกฎหมายอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์    อยู่ในมาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้

(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง  ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง  ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

เหตุฟ้องหย่าแต่ละมาตรานั้น มีแนวคำพิพากษา มีหลักเกณฑ์ ข้อยกเว้นที่แตกต่างกันไป ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อกฎหมายแล้วต้องพิจารณาและปรึกษาทนายความว่าควรใช้เหตุใดในการปรับข้อเท็จจริงเข้าฟ้องหย่า

 

ดังนั้น เหตุการณ์ของท่าน จะสามารถฟ้องหย่าตามกฎหมายได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ทนายความจะต้องสอบข้อเท็จจากท่านโดยละเอียด เพื่อวินิจฉัยเข้ากับข้อกฎหมาย จึงจะได้คำตอบที่ถูกต้องชัดเจนที่สุด 

 

การเริ่มต้นคดีฟ้องหย่าต้องทำอย่างไร 

ทีมงานทนายกฤษดาขออธิบายว่า หากท่านมีความประสงค์ในการฟ้องคดีหย่า จุดเริ่มต้นของการฟ้องร้องคดีหย่า ท่านจะต้องมาพบกับทนายความ หรือโทรศัพท์สอบถาม หรือส่งไลน์ อีเมล์ปรึกษากับทนายความ เพื่อเล่าเรื่องทั้งหมดให้กับทนายความฟัง ว่าสาเหตุที่คุณต้องการจากกับคู่สมรสนั้นเป็นเหตุเพราะอะไร

กรณีข้อเท็จจริงไม่ยุ่งยากซับซ้อน

หากมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หากเป็นคดีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น  คู่สมรสแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปีแล้ว หรือคู่สมรสละทิ้งร้าง เกินกว่า 1 ปี คู่สมรสมีชู้โดยเปิดเผย เช่นนี้ การวินิจฉัยว่าสามารถฟ้องหย่าได้หรือไม่ก็ทำได้ไม่ยาก ซึ่งสามารถปรึกษาทีมงานทนายกฤษดาได้

กรณีข้อเท็จจริงมีความยุ่งยากซับซ้อนต้องทำอย่างไร

แต่หากข้อเท็จจริงมีความซับซ้อน หรือพยานหลักฐานอาจจะยังไม่ชัดเจน ต้องหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม เช่นนี้แนะนำให้มานั่งคุยกันโดยละเอียด ถึงจะให้คำปรึกษาและวางรูปคดีได้ถูกว่าจะสามารถฟ้องหย่าได้หรือไม่

หลังจากมีการสอบข้อเท็จจริงแล้ว

หลังจากสอบข้อเท็จจริงแล้ว ทนายความจะทำการวินิจฉัยข้อเท็จจริงปรับเข้ากับข้อกฎหมายว่า เรื่องราวของคุณสามารถจะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้หรือไม่

จุดที่ทนายความวินิจฉัย ว่าพยานหลักฐานเพียงพอต่อการฟ้องคดีหรือไม่

หากข้อเท็จจริงสามารถฟ้องหย่าได้ตามกฎหมาย ทนายความก็จะจัดการร่างฟ้องและยื่นฟ้องคดีต่อศาลต่อไป

หากข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอ ทนายความอาจจะแนะนำ หรือให้ความช่วยเหลือในการหาพยานหลักฐานให้ชัดเจนต่อไป

ซึ่งจะต้องพิจารณาแต่ละเคสและแต่ละคดีเป็นไปตามพยานหลักฐานของแต่ละบุคคล

ข้อมูลที่ต้องเตรียมมาให้ทนายความ เพื่อดำเนินคดีฟ้องหย่า

ทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตแจ้งว่า อย่างที่แจ้งไว้ในข้อข้างบน การที่ทนายความจะวินิจฉัยรูปคดีและให้คำปรึกษากับคุณได้ถูกต้องนั้นทนายความจะต้องสอบข้อเท็จจริงโดยละเอียด

ซึ่งธรรมดาแล้วข้อเท็จจริงที่ทนายความจะสอบถามและท่านจะต้องเตรียมตัวมาก็คือ

หลักฐานที่ควรเตรียมมาฟ้องหย่า

  • หลักฐานเกี่ยวกับ บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน สูติบัตรบุตร ใบสำคัญการสมรสหลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุล
  • ประวัติส่วนตัวของทั้งตัวท่านและคู่สมรสที่จะทำการยื่นฟ้อง เช่น เป็นคนที่ไหน จบการศึกษาจากไหนมา ประกอบอาชีพอะไร พักอาศัยอยู่ที่ไหน มีรายได้ต่อเดือนเท่าไหร่
  • เริ่มรู้จักคบหากับคู่สมรสตั้งแต่เมื่อไหร่
  • มีบุตรด้วยกันหรือไม่ ใครเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
  • ใครเป็นคนเลี้ยงดูบุตร และเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร
  • จดทะเบียนสมรสกันเมื่อไหร่ ที่ไหน
  • อยู่กินกันมาที่ไหนบ้าง และปัจจุบันอยู่กินด้วยกันไหม
  • มีทรัพย์สินสมรสด้วยกันหรือไม่
  • สาเหตุที่จะฟ้องหย่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เล่าแบบละเอียดตั้งแต่เริ่มต้นเหตุการณ์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพื่อให้ทนายความวิเคราะห์คดีและนำมาใช้เป็นเหตุฟ้องหย่า
  • แนวทางหรือผลคำพิพากษาที่ท่านมีความประสงค์หรืออยากให้ทนายความวางรูปคดี

แนวทางที่ควรเตรียมมา

ทั้งนี้หากคุณพอมีเวลา ถ้าจะพิมพ์เรื่องราวรายละเอียดดังกล่าวส่งให้กับทนายความมาด้วย  ทนายความก็จะชอบมาก และจะเป็นประโยชน์และรวดเร็วในการทำคดีและตรงกับข้อเท็จจริงในการให้คำปรึกษา

เอกสารที่ต้องเตรียมมาให้ทนายความเพื่อเริ่มต้นทำคดี

ทีมงานทนายกฤษดาขออนุญาตอธิบาย เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องหย่าที่ต้องใช้ในคดี และต้องเตรียมมาให้กับทนายความ มีดังนี้

  1. ใบสำคัญการสมรสของท่านและคู่สมรส หรือสำเนาที่คัดจากสำนักงานเขต หากไม่มีสามารถมอบหมายให้ทนายความคัดให้ได้
  2. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของลูกทุกคน ถ้าหากมีลูกด้วยกัน
  3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ทั้งของสามีภรรยาและบุตร กรณีมีการเปลี่ยนชื่อนามสกุล และเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดี
  4. ทะเบียนบ้านที่ สามีภรรยาและบุตรพักอาศัยอยู่ด้วยกัน ที่อยู่อาศัยปัจจุบันของคู่สมรส
  5. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาพาสปอร์ตหนังสือเดินทางของตนเองและคู่สมรส (ของคู่สมรสไม่จำเป็นเท่าไหร่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร )
  6. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่จะฟ้องหย่า เช่น หลักฐานการสนทนาผ่านโปรแกรม line หรือ facebook รูปถ่ายคู่สมรสกับชู้ คลิปเสียงหรือคลิปวีดีโอเหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น รูปถ่ายพฤติการณ์ที่เป็นการฟ้องหย่า
  7. หลักฐานเกี่ยวกับสินสมรส เช่น โฉนดที่ดิน สำเนาทะเบียนรถยนต์ สมุดบัญชีผู้ถือหุ้น สมุดบัญชีธนาคาร เป็นต้น (เฉพาะกรณีที่มีประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสด้วย )
  8. หลักฐานเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ เช่นหลักฐานการศึกษา การส่งเสียเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ (เฉพาะคดีที่มีประเด็นเรื่องอำนาจปกครองบุตร )
  9. หลักฐานที่นำมาประกอบและใช้เพื่อให้มีผลคดีในทางที่ดี

 

คำแนะนำในการส่งมอบเอกสารให้ทนายความในคดีฟ้องหย่า

สำเนาเท่านั้น

เอกสารทุกอย่างที่นำมามอบให้กับทนายความให้นำแต่สำเนามามอบให้เท่านั้น ทนายความจะไม่เก็บหรือขอตัวจริงไว้ เพราะเอกสารตัวจริงจะต้องนำไปใช้ในวันขึ้นศาลเท่านั้น

การฟ้องหย่า จะต้องมีพยานบุคคลด้วย หรือไม่

คดีฟ้องหย่า จะต้องใช้พยานบุคคลประกอบด้วยหรือไม่ แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ

1.กรณีพยานหลักฐานที่เป็นพยานเอกสารหรือพยานวัตถุยังไม่ชัดเจน 

 

ตัวอย่างเช่น คดีฟ้องหย่าที่อ้างเหตุคู่สมรสมีชู้ แต่ยังไม่มีรูปถ่าย คลิปวีดีโอ ที่ปรากฏเรื่องการเป็นชู้อย่างชัดเจนมีแต่เพียงพยานบุคคลที่พบเห็นเหตุการณ์

กรณีเช่นนี้ย่อมจะต้องใช้พยานบุคคลมาประกอบด้วย ซึ่งท่านจะต้องนำพยานบุคคลดังกล่าวมาพบทนายความ และนำไปเบิกความในชั้นศาล

2.กรณีพยานหลักฐานที่เป็นพยานเอกสารหรือพยานวัตถุชัดเจนแล้ว 

 

ตัวอย่างเช่น คดีฟ้องชู้ที่มีรูปถ่าย คลิปวีดีโอ กล้องวงจรปิด หรือมีพฤติการณ์ ปรากฏตามสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆอย่างชัดเจน

เช่นนี้ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้พยานบุคคล มาเป็นพยานในชั้นศาลหรือมาพบทนายความแต่อย่างใด

 

ฟ้องหย่า ต้องขึ้นศาลกี่ครั้ง ต้องไปศาลหรือไม่

ในกรณีฟ้องหย่า ตัวโจทก์ซึ่งเป็นคนฟ้องหย่าจะต้องมาศาลกี่ครั้งนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ

1.จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ไม่มาศาล และไม่ต่อสู้คดี

ในคดีฟ้องหย่า อย่างน้อยตัวคุณซึ่งเป็นคนฟ้องคดีนั้นจะต้องมาศาล 1 ครั้ง  ณ ตอนนี้สามารถขอพิจารณาคดีในระบบออนไลน์ได้ โดยผ่านระบบ Google meet

กล่าวคือตัวคุณต้องมาศาลในนัดแรก ซึ่งธรรมดาแล้วศาลจะนัดไกล่เกลี่ย / สืบพยานโจทก์ พร้อมกันในนัดแรก  แต่หากจำเลยไม่ยื่นคำให้การหรือไม่มาศาล ศาลพิจารณาให้ชนะคดีโดยขาดนัดแต่เนื่องด้วยเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว ศาลจะให้สืบพยานไปฝ่ายเดียว

ในนัดพิจารณาคดีครั้งแรกนั้น หากจำเลยไม่ได้มาศาล และไม่ได้ส่งทนายความมาขอเลื่อนคดี แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ต่อสู้คดี

ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลก็จะให้คุณสาบานตัวตามกฎหมาย ตามศาสนา และเบิกความเล่าเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นต่อศาลเลยว่าสาเหตุที่ฟ้องหย่าคู่สมรส เป็นเพราะอะไร โดยทนายความจะทำหน้าที่เป็นผู้ถามคุณ พร้อมกับส่งเอกสารหลักฐานต่างๆให้ศาลตรวจสอบ

การเตรียมตัวก่อนวันขึ้นศาล

ซึ่งก่อนวันขึ้นศาล ทนายความจะทำการซักซักการถามตอบ เตรียมคำถามคำตอบ รวมทั้งเตรียมเอกสารหลักฐานกับคุณก่อนวันขึ้นศาลก่อนอยู่แล้ว

เมื่อศาลฟังเรื่องเล่าจากคุณแล้วเห็นว่า เป็นสาเหตุที่จะสามารถฟ้องหย่าได้ตามกฎหมาย ศาลจะพิพากษาให้คุณและคู่สมรสหย่าขาดจากกัน

จะได้คำพิพากษาตอนไหน 

ทางปฏิบัติแล้ว เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาแล้ว จะยังคัดคำพิพากษาวันนั้นเลยไม่ได้ แต่ต้องรออีกประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ศาลและผู้พิพากษาทุกคนลงลายมือชื่อให้ครบก่อน

จะได้หนังสือรับรองคดีถึงที่สุดตอนไหน

หลังจากศาลพิพากษาให้หย่าขาดกันแล้ว อีก 1 เดือน คุณจึงสามารถนำคำพิพากษาของศาลพร้อมหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดไปจดทะเบียนหย่าที่ว่าการอำเภอได้

สาเหตุที่ต้องรอ 1 เดือน เนื่องจากการนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนหย่าขาดกันที่สำนักงานทะเบียน หรือที่ว่าการอำเภอนั้น จะต้องมี “ หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด “ ไปพร้อมกับคำพิพากษาด้วย

ซึ่งหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดนี้ จะออกได้หลังศาลพิพากษาไปแล้วเกินกว่า 30 วันเท่านั้น

——————————————————————————–

2.ในกรณีที่จำเลยมาศาล หรือมาให้การต่อสู้คดี 

หากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี และแต่งตั้งทนายความเข้ามาในวันนัด หรือเดินทางมาศาลในวันนัด หรืออาจจะมอบให้เสมียนทนายความเลื่อนคดีนัดแรก ซึ่งเป็นสิทธิที่ฝ่ายจำเลยจะกระทำได้ (เป็นขั้นตอนปกติของการสู้คดี)

ศาลจะจัดให้คู่ความทั้งสองฝ่าย เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ โดยจะมีผู้ไกล่เกลี่ยและประนีประนอมคดีครอบครัว มาเป็นคนกลาง ช่วยไกล่เกลี่ยให้กับทั้งสองฝ่าย

ผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอมคดีครอบครัวนี้ ไม่ใช่ผู้พิพากษา ไม่ใช่ข้าราชการ แต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีคุณสมบัติตามที่ศาลคัดเลือก และมีจิตอาสาต่อสังคม มาช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรมให้ทุกฝ่าย ด้วยการใช้ความรู้และประสบการณ์ของตน มาช่วยไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันด้วยดี ซึ่งหากมีการไกล่เกลี่ยและตกลงกันได้

ซึ่งธรรมดาแล้วในคดีครอบครัวประเภทเรื่องหย่านั้น ทุกฝ่ายมักเจรจาตกลงกันได้ เพราะธรรมดาแล้วหากคนไม่รักกันแล้ว เป็นการยากที่จะให้กลับไปอยู่ด้วยกันอีกและไม่เป็นประโยชน์ที่จะให้ถือทะเบียนสมรสอยู่ด้วยกัน

ทนายความคดีครอบครัว ที่มีความชำนาญและประสบการณ์จะรู้ดีว่า การต่อสู้คดีในลักษณะนี้ ไม่ค่อยเกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย แต่การร่วมกันพูดคุยหาทางออกร่วมกัน จะเป็นประโยชน์มากที่สุดกับทุกฝ่าย

ผลของการไกล่เกลี่ยในคดีครอบครัว มักจบลงด้วยการหย่า

ดังนั้นธรรมดาแล้ว คดีลักษณะแบบนี้ จึงมักจะจบด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ย และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นส่วนมาก ประมาณร้อยละ 90 ที่คดีมักจบลงด้วยการไกล่เกลี่ย

กรณีตกลงกันได้ ต้องทำอย่างไรมีขั้นตอนอย่างไร

ถ้าทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ ซึ่งโดยมากก็คือ ทั้งสองฝ่ายตกลงสมัครใจหย่า หรือ ฝ่ายที่เป็นฝ่ายผิดยอมหย่าให้ หรือฝ่ายที่ต้องการหย่า ยอมชดใช้เงินให้ส่วนหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายยอมหย่าให้

ทนายความก็จะจัดการให้ทั้งสองฝ่ายทำ “สัญญาประนีประนอมยอมความ” โดยเนื้อหาของสัญญาประนีประนอมยอมความก็คือ ทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าขาดจากกันและจะไปหย่าขาดกันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด

ตัวอย่างเนื้อหาในสัญญาประนีประนอมยอมความ เช่น

โจทก์และจำเลยยินยอมหย่าขาดจากกัน โดยจะไปจดทะเบียนหย่าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ 

หลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว ผู้พิพากษาก็จะตรวจดูว่า สัญญาประนีประนอมยอมความของเรา ขัดกับกฎหมายหรือไม่ ถ้าผู้พิพากษาตรวจแล้วเห็นว่าถูกต้อง ก็จะมีคำพิพากษาให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิและหน้าที่ตามที่ปรากฎตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มีข้อตกลงและมีบทบังคับที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่

ทั้งนี้หากทั้งสองฝ่ายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว ฝ่ายใดไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าตามกำหนด

ขั้นตอนหลังจากมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

ทีมงานทนายกฤษดา ขออธิบายและสรุปขั้นตอนอย่างง่ายดังนี้

ฟ้องหย่า –>ตกลงกันได้->ศาลพิพากษาตามยอม->ไปจดทะเบียนหย่าตามที่ตกลง ->กรณีไม่ไปสามารถเอาคำพิพากษาไปจดทะเบียนได้

อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถนำเอา สัญญาประนีประนอมยอมความ คำพิพากษาที่พิพากษาให้เป็นตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ไปดำเนินการจดทะเบียนหย่าขาดที่อำเภอได้ฝ่ายเดียวเลย

กรณีตกลงกันไม่ได้ ต้องทำอย่างไร มีกระบวนการในการพิจารณาคดีอย่างไร

หากผู้ไกล่เกลี่ยไม่สามารถเจรจาให้ทั้งสองฝ่ายตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ผู้ไกล่เกลี่ยก็จะส่งสำนวนคืนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลอีกครั้งหนึ่ง

ซึ่งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้น ก็อาจจะทำการเจรจาไกล่เกลี่ยอีกรอบนึง ในบัลลังก์ศาล ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็อาจจะตกลงกันได้ในรอบนี้

ซึ่งหากตกลงกันได้ ก็จะเข้าสู่กระบวนการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อไป

แต่หากทั้งสอง ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้อีก ศาลก็จะนัดสืบพยานของทั้งสองฝ่ายอีกต่อไป

และเมื่อสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นแล้ว ศาลก็จะมีคำพิพากษาว่าให้หย่าหรือไม่ให้หย่าต่อไป

ซึ่งรวมแล้ว กรณีที่จำเลยมาศาลต่อสู้คดี ตัวโจทก์จะต้องมาศาลตั้งแต่ละประมาณ 2 ถึง 5 ครั้ง แล้วแต่กรณี

ฟ้องหย่า->ยื่นคำให้การ->ชี้สองสถานกำหนดประเด็น->สืบพยาน->ตัดสิน

โดยปกติแล้วจะมาประมาณ 2 ครั้ง คือในนัดแรก และนัดสืบะยาน

 ฟ้องหย่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงได้จดทะเบียนหย่า

สามารถอธิบายโดยละเอียดได้ แบ่งออกเป็น 3 กรณีด้วยกัน

ไม่มาศาล

1.กรณีจำเลยไม่มาศาลและไม่มาต่อสู้คดี นับแต่วันที่เริ่มฟ้องศาลมีคำพิพากษาจนได้คำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เพื่อไปใช้จดทะเบียนหย่าประมาณ 3 เดือน

มาศาลแต่ตกลงกันได้

2.กรณีจำเลยมาศาลและมาต่อสู้คดี ถ้าสามารถพูดคุยเจรจาตกลงกันได้ ใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน นับแต่วันยื่นฟ้อง จนได้จดทะเบียนหย่า แล้วแต่ว่าจะสามารถตกลงกันได้ช้าหรือเร็ว

มาศาลและสู้คดีเต็มรูปแบบ

3.กรณีจำเลยมาศาล มาต่อสู้คดีและไม่สามารถตกลงกันได้ ใช้เวลาตั้งแต่เริ่มคดีจนจบในศาลชั้นต้นประมาณ 6 เดือน – 9 เดือน และชั้นอุทธรณ์ ฎีกา อีกประมาณ 1-2 ปี รวมแล้วใช้เวลา 6 เดือนถึง 2 ปี ถึงจะได้หย่า

ขั้นตอนในการจดทะเบียนหย่าหลังได้คำพิพากษาให้หย่าแล้วต้องทำอย่างไร 

สรุป

ได้คำพิพากษา->หนังสือรับรองคดี->นัดไปจดทะเบียนหย่า->อีกฝ่ายไม่ไปไป%8

Facebook Comments