Home ทั้งหมด คดีหย่าในกรณีที่จำเลยมาศาล หรือมาให้การต่อสู้คดี มีขั้นตอนอย่างไร

คดีหย่าในกรณีที่จำเลยมาศาล หรือมาให้การต่อสู้คดี มีขั้นตอนอย่างไร

1933

คดีหย่าในกรณีที่จำเลยมาศาล หรือมาให้การต่อสู้คดี 

หากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี และแต่งตั้งทนายความเข้ามาในวันนัด หรือเดินทางมาศาลในวันนัด หรืออาจจะมอบให้เสมียนทนายความเลื่อนคดีนัดแรก ซึ่งเป็นสิทธิที่ฝ่ายจำเลยจะกระทำได้ (เป็นขั้นตอนปกติของการสู้คดี)

ศาลจะจัดให้คู่ความทั้งสองฝ่าย เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ โดยจะมีผู้ไกล่เกลี่ยและประนีประนอมคดีครอบครัว มาเป็นคนกลาง ช่วยไกล่เกลี่ยให้กับทั้งสองฝ่าย

ผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอมคดีครอบครัวนี้ ไม่ใช่ผู้พิพากษา ไม่ใช่ข้าราชการ แต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีคุณสมบัติตามที่ศาลคัดเลือก และมีจิตอาสาต่อสังคม มาช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรมให้ทุกฝ่าย ด้วยการใช้ความรู้และประสบการณ์ของตน มาช่วยไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันด้วยดี ซึ่งหากมีการไกล่เกลี่ยและตกลงกันได้

ซึ่งธรรมดาแล้วในคดีครอบครัวประเภทเรื่องหย่านั้น ทุกฝ่ายมักเจรจาตกลงกันได้ เพราะธรรมดาแล้วหากคนไม่รักกันแล้ว เป็นการยากที่จะให้กลับไปอยู่ด้วยกันอีกและไม่เป็นประโยชน์ที่จะให้ถือทะเบียนสมรสอยู่ด้วยกัน

ทนายความคดีครอบครัว ที่มีความชำนาญและประสบการณ์จะรู้ดีว่า การต่อสู้คดีในลักษณะนี้ ไม่ค่อยเกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย แต่การร่วมกันพูดคุยหาทางออกร่วมกัน จะเป็นประโยชน์มากที่สุดกับทุกฝ่าย

ผลของการไกล่เกลี่ยในคดีครอบครัว มักจบลงด้วยการหย่า

ดังนั้นธรรมดาแล้ว คดีลักษณะแบบนี้ จึงมักจะจบด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ย และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นส่วนมาก ประมาณร้อยละ 90 ที่คดีมักจบลงด้วยการไกล่เกลี่ย

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments