Home ทั้งหมด บทวิเคราะห์และการวินิจฉัย การฟ้องหย่าตามกฎหมายโดยละเอียด

บทวิเคราะห์และการวินิจฉัย การฟ้องหย่าตามกฎหมายโดยละเอียด

1166

บทวิเคราะห์และการวินิจฉัย การฟ้องหย่าตามกฎหมายโดยละเอียด

การฟ้องหย่า จะต้องเริ่มต้นคดีอย่างไร เหตุหย่าตามกฎหมายมีอะไรบ้าง การจ้างหรือใช้ทนายความในการดำเนินการให้ มีค่าใช้จ่ายจะสูงหรือเปล่า จะต้องเตรียมเอกสารและพยานหลักฐานใดอะไรบ้าง จะต้องมีพยานไหมต้องมีกี่คนอย่างไร ต้องขึ้นศาลกี่ครั้ง ใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะได้ใบหย่า มีขั้นตอนหลังจากการได้คำพิพากษาแล้วนำไปจดทะเบียนหย่าอย่างไรต้องทำอะไรบ้าง

คำถามเล่านี้มักเกิดกับทุกคนที่ต้องการดำเนินคดีฟ้องหย่า ทีมงานทนายกฤษดา จะขออนุญาตจะมาตอบคำถามทุกคำถามที่คุณอยากจะรู้ ในการฟ้องหย่า พร้อมอธิบายขั้นตอนวิธีการอย่างละเอียดครับ

เหตุฟ้องหย่ามีอะไรบ้าง ฟ้องได้หรือไม่ สรุปสั้นมีเหตุอะไรบ้าง

สรุปง่ายๆ เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายของบ้านเรานั้น มีอยู่ด้วยกัน 10 ประการ ทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตสรุปเป็นเหตุง่ายๆดังนี้

1ยกย่องหญิงอื่น เป็นชู้หรือมีชู้

2ประพฤติชั่ว

3.ทำร้ายร่างกายหรือทรมานจิตใจ หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามบุพพากรี

4.จงใจทิ้งร้างเกินหนึ่งปี /ต้องคำพิพากษาจำคุก /สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี

5.ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

6.ไม่ช่วยเหลืออุปการะ หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา

7วิกลจริต

8ผิดฑัณณ์บนที่ตกลงกัน

9.เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง

10 ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

รายละเอียดที่ตัวบทกฎหมายนิยามไว้

ทีมงานทนายกฤษดาขอสรุป ซึ่งมีรายละเอียดที่ระบุในกฎหมายอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์    อยู่ในมาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้

(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง  ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง  ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

เหตุฟ้องหย่าแต่ละมาตรานั้น มีแนวคำพิพากษา มีหลักเกณฑ์ ข้อยกเว้นที่แตกต่างกันไป ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อกฎหมายแล้วต้องพิจารณาและปรึกษาทนายความว่าควรใช้เหตุใดในการปรับข้อเท็จจริงเข้าฟ้องหย่า

 

ดังนั้น เหตุการณ์ของท่าน จะสามารถฟ้องหย่าตามกฎหมายได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ทนายความจะต้องสอบข้อเท็จจากท่านโดยละเอียด เพื่อวินิจฉัยเข้ากับข้อกฎหมาย จึงจะได้คำตอบที่ถูกต้องชัดเจนที่สุด 

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

Facebook Comments