Home ทั้งหมด  ฟ้องหย่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงได้จดทะเบียนหย่า

 ฟ้องหย่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงได้จดทะเบียนหย่า

3186

 ฟ้องหย่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงได้จดทะเบียนหย่า

สามารถอธิบายโดยละเอียดได้ แบ่งออกเป็น 3 กรณีด้วยกัน

ไม่มาศาล

1.กรณีจำเลยไม่มาศาลและไม่มาต่อสู้คดี นับแต่วันที่เริ่มฟ้องศาลมีคำพิพากษาจนได้คำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เพื่อไปใช้จดทะเบียนหย่าประมาณ 3 เดือน

มาศาลแต่ตกลงกันได้

2.กรณีจำเลยมาศาลและมาต่อสู้คดี ถ้าสามารถพูดคุยเจรจาตกลงกันได้ ใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน นับแต่วันยื่นฟ้อง จนได้จดทะเบียนหย่า แล้วแต่ว่าจะสามารถตกลงกันได้ช้าหรือเร็ว

มาศาลและสู้คดีเต็มรูปแบบ

3.กรณีจำเลยมาศาล มาต่อสู้คดีและไม่สามารถตกลงกันได้ ใช้เวลาตั้งแต่เริ่มคดีจนจบในศาลชั้นต้นประมาณ 6 เดือน – 9 เดือน และชั้นอุทธรณ์ ฎีกา อีกประมาณ 1-2 ปี รวมแล้วใช้เวลา 6 เดือนถึง 2 ปี ถึงจะได้หย่า

ขั้นตอนในการจดทะเบียนหย่าหลังได้คำพิพากษาให้หย่าแล้วต้องทำอย่างไร 

สรุป

ได้คำพิพากษา->หนังสือรับรองคดี->นัดไปจดทะเบียนหย่า->อีกฝ่ายไม่ไปไปจดฝ่ายเดียว

 เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกันแล้ว และคดีถึงที่สุดโดยไม่มีฝ่ายใดยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกา

หรือในกรณีที่ทั้งสองฝ่าย สามารถตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันได้ และตกลงหย่าขาดจากกัน และคดีถึงที่สุดแล้ว

คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สามารถถือเอาใบสำคัญการสมรส คำพิพากษาของศาล หรือสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ไปดำเนินการจดทะเบียนหย่าแต่ฝ่ายเดียวได้เลย

ทั้งนี้ตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ที่ออกตามความใน ตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว2478  ที่วางหลักไว้ว่า

ข้อ ๒๒  เมื่อมีผู้ร้องขอจดทะเบียนการหย่าโดยนำสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้สามีภริยาหย่าขาดจากกัน และมีคำรับรองถูกต้องมาแสดง ให้นายทะเบียนดำเนินการดังนี้

(๑) ตรวจสอบคำร้อง หลักฐานตามข้อ ๘ ของผู้ร้อง สำเนาคำพิพากษาและคำรับรองถูกต้อง

(๒) ลงรายการของคู่หย่าในทะเบียนการหย่า (คร. ๖) และใบสำคัญการหย่า (คร.๗) ให้ครบถ้วน

(๓) บันทึกข้อความลงในช่องบันทึกของทะเบียนการหย่า (คร. ๖) ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับศาล เลขที่คดี วันเดือนปีที่พิพากษา และสาระสำคัญของคำพิพากษานั้น

(๔) ดำเนินการตามข้อ ๒๐ (๓) (๔) (๕) และ (๖) สำหรับในกรณีที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องเพียงฝ่ายเดียว ให้เก็บรักษาใบสำคัญการหย่า (คร. ๗) ฉบับที่เหลือไว้ แล้วแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งมารับไป

ซึ่งตามปกติสามารถมอบหมายให้บันทึกสถานะทางทะเบียนครอบครัวได้

ฟ้องหย่าเป็นคดีอะไร ประเภทคดีอะไร ขึ้นศาลๆไหน

ฟ้องหย่า เป็นคดีแพ่ง และยังเป็นคดีแพ่งประเภทพิเศษที่จะต้องขึ้นศาลพิเศษคือศาลเยาวชนและครอบครัว ไม่ใช่ศาลจังหวัดทั่วไป

โดยในคดีหย่านั้น ยังกระบวนพิจารณาต่างๆยังมีความพิเศษและแตกต่างไปจากคดีแพ่งทั่วไปหลายประการ

เพราะศาลมองว่าสถาบันครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญอีกทั้งคดีที่เกี่ยวกับครอบครัวนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงสมควรจัดตั้งศาลพิเศษขึ้นมาพิจารณาคดีประเภทนี้โดยเฉพาะ

โดยกฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

Facebook Comments