Home บทความคดีแพ่ง ด่าโจทก์ว่าแก่แล้วพูดกลับไปกลับมา ถือเป็นเหตุฟ้องเนรคุณหรือไม่

ด่าโจทก์ว่าแก่แล้วพูดกลับไปกลับมา ถือเป็นเหตุฟ้องเนรคุณหรือไม่

1341

ด่าโจทก์ว่าแก่แล้วพูดกลับไปกลับมา ถือเป็นเหตุฟ้องเนรคุณหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2984/2538

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ด่า โจทก์ ต่อหน้า คน หลาย คนหลาย ครั้ง ต่อ บุคคล ที่ สาม การกระทำ ของ จำเลย เป็น การ หมิ่นประมาทโจทก์ อย่างร้ายแรง ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย เสียชื่อเสียงถือได้ว่า จำเลย ประพฤติ เนรคุณ ขอให้ บังคับ จำเลย เพิกถอน สัญญาให้ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1904 และ เลขที่ 14460 และ จดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ทั้ง สอง โฉนดดังกล่าว กลับ เป็น ของ โจทก์ เหมือนเดิมหาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย

จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย พูด ด่า ว่า หมิ่นประมาท โจทก์แต่อย่างใด นับแต่ เกิดเหตุ ถึง วันฟ้อง เป็น เวลา เกิน หก เดือน แล้วคดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ

ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง

โจทก์ อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน

โจทก์ และ จำเลย ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ใน ประเด็น เรื่อง อายุความที่ จำเลย ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ แล้ว เพราะ เหตุการณ์ ที่ โจทก์อ้างว่า จำเลย หมิ่นประมาท โจทก์ อย่างร้ายแรง เกิดขึ้น ตั้งแต่เดือน เมษายน 2533 เวลา ได้ ล่วงเลย ไป แล้ว เกิน หก เดือน นับแต่ เหตุดังกล่าว ได้ ทราบ ถึง โจทก์ โจทก์ จึง ไม่อาจ จะ ถอน คืน การ ให้ ได้ นั้นโจทก์ และ จำเลย นำสืบ ตรง กัน ว่า โจทก์ ไป หา และ เจรจา เรื่อง ดังกล่าวกับ จำเลย เมื่อ ประมาณ เดือน สิบ สอง หรือ เดือน ธันวาคม 2533 โจทก์ นำสืบ ว่าจำเลย ยัง กล่าว ถ้อยคำ ตาม ฟ้อง หมิ่นประมาท โจทก์ อย่างร้ายแรง อีกจาก ข้อ นำสืบ ของ โจทก์ จะ เห็น ได้ว่า โจทก์ กล่าวอ้าง ว่า จำเลย กล่าวถ้อยคำ ตาม ฟ้อง หมิ่นประมาท โจทก์ อย่างร้ายแรง หลาย ครั้ง หลาย คราวคือ ตั้งแต่ เดือน เมษายน 2533 จน กระทั่ง ครั้งสุดท้าย เมื่อ เดือน สิบ สองซึ่ง ตรง กับ เดือน พฤศจิกายน หรือ เดือน ธันวาคม 2533 ดังนั้น ระยะเวลาหลังจาก จำเลย กล่าว ถ้อยคำ ตาม ฟ้อง นับ ถึง วันที่ 10 เมษายน 2534ซึ่ง เป็น วันที่ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ ยัง ไม่เกิน หก เดือน นับแต่ โจทก์ได้ ทราบ ว่า ถูก จำเลย ประพฤติ เนรคุณ ฟ้อง ของ โจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 533 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาของ ศาลอุทธรณ์ ใน ประเด็น นี้ ต้องด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของจำเลย ฟังไม่ขึ้น

ส่วน ปัญหา ที่ ว่า ถ้อยคำ ที่ จำเลย ด่า ว่า โจทก์ เป็น ถ้อยคำ ที่หมิ่นประมาท โจทก์ อย่างร้ายแรง หรือไม่ นั้น เห็นว่า จำเลย ใน ฐานะบุตร ที่ ดี และ รู้ คุณ กตัญญู ต่อ โจทก์ ไม่ควร จะ ด่า ว่า โจทก์ ผู้เป็น มารดาด้วย ถ้อยคำ ที่ รุนแรง โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เหตุ ที่ โจทก์ ต้อง ถูก จำเลยใช้ ถ้อยคำ ที่ รุนแรง ด่า ว่า ก็ เนื่องมาจาก การ ที่ โจทก์ ไป ขอ ที่ดินเพียง บางส่วน จาก ที่ดิน ที่ โจทก์ เคย ยกให้ แก่ จำเลย ถึง 40 ไร่ มา ให้นายดำ ของ จำเลย เอง ทำ ถนน เชื่อม ระหว่าง ที่ดิน ของ นายต้อยติ่ง สู่ ถนน สาธารณะ ซึ่ง เกิดจาก ความ รัก ความผูกพัน ของ โจทก์ ที่ มี ต่อบุตร ทุกคน เท่านั้น เอง หาก จำเลย จะ ไม่ยอม ให้ ที่ดิน ตาม ที่ โจทก์ของ จำเลย ก็ ไม่สมควร ใช้ ถ้อยคำ รุนแรง ด่า ว่า โจทก์ ถ้อยคำ ที่ จำเลยใช้ ด่า ว่า โจทก์ แม้ บาง คำ จะ ไม่ รุนแรง ถึง ขนาด หมิ่นประมาท โจทก์อย่างร้ายแรง ก็ ตาม แต่ ก็ มี บาง คำ เป็นต้น ว่า “โจทก์ แก่ แล้ว อายุ ตั้ง90 ปี พูด กลับ ไป กลับมา พูด เหมือน เด็ก เล่น ขาย ของ จำเลย ไม่มี แม่ไป แล้ว อย่า มา อีก เลย ” เป็น ถ้อยคำ ที่ มี ความหมาย อยู่ ใน ตัว ว่า โจทก์แม้ จะ มี อายุ 90 ปี แล้ว ก็ เป็น คน ไม่ ต่าง อะไร ไป จาก เด็ก เล่น ขาย ของที่ ไม่รู้ จัก เดี ยงสา พูดจา เชื่อถือ ไม่ได้ เลย คน เราเมื่อ ถูก ประณาม ว่าเป็น คน ที่ พูดจา เชื่อถือ ไม่ได้ ก็ เท่ากับ ถูก ประณาม ว่า ไม่มี ค่า แห่งความ เป็น คน ย่อม เป็น ถ้อยคำ ที่ หมิ่นประมาท กัน อย่างร้ายแรง ในทำนอง เดียว กัน การ ที่ จำเลย ใช้ ถ้อยคำ ด่า โจทก์ ว่า “จำเลย ไม่มี แม่ “และ ไล่ โจทก์ ว่า “ไป แล้ว อย่า กลับมา อีก เลย ” เท่ากับ จำเลย ประณามว่า โจทก์ เลว จน จำเลย รับ เป็น มารดา ไม่ได้ จำเลย ย่อม ไม่มี มารดาเสีย ดีกว่า ให้ โจทก์ เป็น มารดา ของ จำเลย เมื่อ โจทก์ ออกจาก บ้าน ของ จำเลยไป แล้ว ขอ อย่า ให้ โจทก์ ไป ที่ บ้าน ของ จำเลย อีก ซึ่ง เท่ากับ ว่า ถ้า โจทก์ไป ที่ บ้าน ของ จำเลย อีก โจทก์ จะ เป็น คน นำ ความ ไม่ดี ไม่ งาม ไป สู่ จำเลยถ้อยคำ ของ จำเลย ที่ ใช้ ด่า ว่า โจทก์ เช่นนี้ เป็น ถ้อยคำ ที่ หมิ่นประมาทโจทก์ อย่างร้ายแรง หาใช่ เพียง ถ้อยคำ ที่ กระทบ กระ เทียบ เปรียบเปรยหรือ ส่อ เสีย ดหยาบคาย ดัง ข้อ วินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ หรือ ข้อ ฎีกาของ จำเลย ไม่ เมื่อ จำเลย ผู้ได้รับ การ ยกให้ ซึ่ง ที่ดิน โดยเสน่หาจาก โจทก์ หมิ่นประมาท โจทก์ ผู้ ให้ อย่างร้ายแรง จำเลย ก็ ได้ ชื่อ ว่าประพฤติ เนรคุณ ต่อ โจทก์ โจทก์ ก็ ชอบ ที่ จะ เรียก ถอน คืน การ ให้ เพราะ เหตุจำเลย ประพฤติ เนรคุณ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2)ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ว่า ถ้อยคำ ของ จำเลย ยัง ไม่เป็น หมิ่นประมาท โจทก์อย่างร้ายแรง จึง ไม่เป็น การ ประพฤติ เนรคุณ ต่อ โจทก์ นั้น ไม่ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา แต่ อย่างไร ก็ ตาม ความ ปรากฎ ตาม ที่ คู่ความทั้ง สอง ฝ่าย นำสืบ รับ กัน ว่า ที่ดิน จำนวน 40 ไร่ ที่ โจทก์ ยกให้ แก่จำเลย นั้น ส่วน หนึ่ง จำเลย ได้ แบ่ง ขาย ให้ แก่ บุคคลภายนอก ไป แล้วและ อีก ส่วน หนึ่ง จำนวน 6 ไร่ 2 งาน เศษ จำเลย ได้ จดทะเบียน ยกให้ แก่ภริยา ของ จำเลย แล้ว ตาม ที่ ปรากฏ ใน โฉนด ที่ 1904 ตำบล ดำเนินสะดวก อำเภอ กระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร คงเหลือ เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย อยู่ ใน ขณะที่ โจทก์ ยื่นฟ้อง เฉพาะ ตาม ที่ ปรากฏ ใน โฉนด ที่ 14460ตำบล สวนส้ม (ดำเนินสะดวก) อำเภอบ้านแพ้ว (กระทุ่มแบน) จังหวัด สมุทรสาคร เนื้อที่ 20 ไร่ 72 ตารางวา ซึ่ง เป็น โฉนด ที่แบ่งแยก ออก ไป ใหม่ เท่านั้น ดังนั้น โดย นัย แห่ง ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 142(2) ศาลฎีกา เห็นว่า เฉพาะ ส่วน ที่ จำเลย แบ่ง ขายให้ แก่ บุคคลภายนอก และ ส่วน ที่ จำเลย จดทะเบียน แบ่งแยก ยกให้ เป็นกรรมสิทธิ์ แก่ ภริยา ของ จำเลย จำนวน 6 ไร่ 2 งาน เศษ แล้ว โจทก์ไม่มี สิทธิ เรียกคืน โจทก์ คง มีสิทธิ เรียก ถอน คืน การ ให้ จาก จำเลย ได้เฉพาะ ส่วน ที่ ยัง คง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ตาม โฉนด เลขที่ 14460ตำบล สวนส้ม (ดำเนินสะดวก) อำเภอบ้านแพ้ว (กระทุ่มแบน) จังหวัด สมุทรสาคร เนื้อที่ 20 ไร่ 76 ตารางวา เพียง โฉนด เดียวเท่านั้น ฎีกา ของ โจทก์ ใน ประเด็น นี้ ฟังขึ้น บางส่วน ส่วน ฎีกา ของ จำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ถอน คืน การ ให้ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 14460ตำบล สวนส้ม (ดำเนินสะดวก) อำเภอบ้านแพ้ว (กระทุ่มแบน) จังหวัด สมุทรสาคร เนื้อที่ 20 ไร่ 72 ตารางวา โดย ให้ จำเลย ไป จัดการจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน แปลง ดังกล่าว คืน แก่ โจทก์ หาก จำเลยไม่ยอม ปฏิบัติ ตาม ก็ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลยนอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

สรุป

คำว่า”โจทก์แก่แล้วอายุตั้ง90ปีพูดกลับไปกลับมาพูดเหมือนเด็กเล่นขายของจำเลยไม่มีแม่ไปแล้วอย่ามาอีกเลย”เป็นถ้อยคำที่มีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์แม้จะมีอายุ90ปีแล้วก็ไม่ต่างอะไรไปจากเด็กเล่นขายของที่ไม่รู้จักเดียงสาพูดจาเชื่อถือไม่ได้เลยซึ่งเท่ากับถูกประณามว่าไม่มีค่าแห่งความเป็นคนเป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาทกันอย่างร้ายแรงการที่จำเลยด่าโจทก์ว่า”จำเลยไม่มีแม่”และไล่โจทก์ว่า”ไปแล้วอย่ากลับมาอีกเลย”เท่ากับประณามว่าโจทก์เลวจนรับเป็นมารดาไม่ได้จำเลยไม่มีมารดาเสียดีกว่าให้โจทก์เป็นมารดาของจำเลยเมื่อโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยไปแล้วขออย่าให้โจทก์ไปที่บ้านของจำเลยอีกเท่ากับว่าถ้าโจทก์ไปที่บ้านจำเลยอีกโจทก์จะเป็นคนนำความไม่ดีไม่งามไปสู่บ้านจำเลยถ้อยคำเช่นนี้เป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงถือได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา531(2) เมื่อจำเลยจำหน่ายที่ดินที่ได้รับไปแล้วบางส่วนโจทก์จึงมีสิทธิเรียกถอนคืนการให้เฉพาะส่วนที่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเท่านั้น จำเลยกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงหลายครั้งเมื่อระยะเวลาหลังจากจำเลยกล่าวถ้อยคำนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน6เดือนนับแต่โจทก์ได้ทราบว่าถูกจำเลยประพฤติเนรคุณฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา533วรรคหนึ่ง

Facebook Comments