เทคนิคการกำหนดเป้าหมายในการสืบพยานมีอะไรบ้าง
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา จะขออนุญาตแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการถามพยาน การถามพยานนั้นต้องเริ่มจากการคิดเสียก่อน ว่าต้องการให้พยานตอบอย่างไร ซึ่งปกติได้แก่คำตอบที่จะให้ข้อเท็จจริง ที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีของฝ่ายเรา ทําให้เราจําเป็นต้องมีขั้นตอนของ การกำหนดเป้าหมายในการถามพยานดังนี้คือ
1. ต้องวางรูปคดีไว้เสียก่อนว่าจะต่อสู้คดีอย่างไร
โดยอาศัย ความรู้ความเข้าใจข้อกฎหมายเป็นหลักและให้อยู่บนพื้นฐานของ ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ในกรณีที่เป็นโจทก์ก็ต้องคิดให้รอบคอบว่าควรจะฟ้อง จําเลยด้วยข้อหาหรือฐานความผิดอย่างไรถ้าเป็นฝ่ายจําเลยก็ต้องดูว่า ควรจะโต้แย้งคำฟ้องของโจทก์ว่าอย่างไร และต้องตั้งประเด็นนั้นขึ้น ในคำคู่ความที่ยื่นต่อศาลไว้ตามกฎหมายด้วย ถ้าเป็นคดีแพ่งก็ต้อง ระมัดระวังให้ประเด็นที่เราหยิบยกขึ้นมานั้นได้ถูกกำหนดอยู่ในประเด็น ข้อพิพาทจากการชี้สองสถานด้วยมิฉะนั้นจะไม่มีสิทธินำสืบข้อเท็จจริง ตามนั้น
2. กำหนดภาพรวมของข้อเท็จจริงทั้งหมดในคดีให้รู้ว่าต้องนำ
เสนอข้อเท็จจริงอะไรบ้างจึงจะครบถ้วนสมบูรณ์ตามข้อกฎหมายที่ ต้องการวางโครงสร้างของการนำเสนอข้อเท็จจริงว่าต้องใช้วิธีการใด เพียอาศัยพยานเอกสาร พยานวัตถุ หรือพยานบุคคล อย่างใด บ้าง เพียงใด ในส่วนของการนำสืบพยานบุคคลก็ต้องพิจารณาว่าพยานบุคคล ใดรู้เห็นข้อเท็จจริงใดเพื่อจัดแบ่งข้อเท็จจริงไปตามความรู้เห็นของพยานแล้วนำเอาข้อเท็จจริงที่จัดแบ่งไว้นี้มาเป็นเป้าหมายในการถามพยาน บุคคลแต่ละคน
การกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมในการต่อสู้คดีนั้นต้องอาศัย ความสัมพันธ์สอดคล้องกันของข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
กล่าวคือ ข้อเท็จจริงที่หยิบยกมานั้นต้องมีผลตามกฎหมายทางใดทางหนึ่งส่วน ข้อกฎหมายที่อ้างอิงก็ต้องมีข้อเท็จจริงรองรับการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่ ไม่มีผลใดๆ ต่อรูปคดีจะเป็นการเปล่าประโยชน์ขณะที่การอ้างข้อกฎหมาย โดยไม่มีข้อเท็จจริงรองรับเพียงพอจะเป็นจุดอ่อนในการต่อสู้คดีได้ และ เนื่องจากการถามพยานคือการนำเสนอข้อเท็จจริงเชิงเหตุผลมิใช่เชิง บอกเล่า ดังนั้นเนื้อหาของเรื่องราวที่นำเสนอจึงต้องมีที่มาที่ไปหรือเหตุผล ของเรื่องราวนั้นประกอบอยู่ด้วย
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในการกำหนดเป้าหมายของการถามพยานคือ ความสามารถในการสืบพยาน เพราะเรากำหนดเป้าหมายขึ้นมาเพื่อที่จะไปให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น ดังนั้น นอกจากต้องคำนึงถึงความควรทำ” แล้วก็ต้องเป็นสิ่งที่สามารถที่ทำได้ด้วย สิ่งใดที่เกินความสามารถหรือไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ก็ไม่ ควรนำมาเป็นเป้าหมาย
ข้อจํากัดด้านความสามารถในการสืบพยานมีทั้งข้อจำกัดภายนอก ซึ่งได้แก่การมีข้อสันนิษฐานของกฎหมายหรือที่ เรียกว่าถูกกฎหมายปิดปาก การถูกบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ รวมทั้งการไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ และ จำกัดภายในได้แก่ระดับของความสามารถของผู้ถามเอง ซึ่งในทัศนะ ของผู้เขียนเองเห็นว่าน่าจะแบ่งเป็น 4 ระดับคือ
1. ระดับต่ำ ที่แม้แต่ซักถามพยานของตนเองยังวกวนและขาดตกบกพร่อง
2. ระดับพอใช้ สามารถซักถามพยานตนเองได้ดีแต่มีปัญหาง ในการถามค้านหรือถามถึง
3. ระดับดี สามารถซักถามพยานตนเองหรือถามค้านได้ดีแต่ยัง มีข้อจำกัดในการถามถึง
4. ระดับดีมาก สามารถซักถาม ถามค้านและถามติงได้ดีทั้งหมด
การคำนึงถึงความสามารถในการถามพยานนี้เป็นหน้าที่ของแต่ละ คนที่จะบอกตนเองว่ามีความสามารถในระดับใด หากมีความสามารถ ต่ำกว่า “ระดับดี” ก็ต้องเร่งพัฒนาตนเอง เพราะการไม่สามารถถามค้าน ได้ดีจะเป็นจุดอ่อนสำหรับการหักล้างพยานฝ่ายตรงข้าม
สำหรับใน คดีอาญาหากทนายจำเลยไม่สามารถถามค้านพยานโจทก์ให้ศาลสงสัย หรือมีช่องให้ยกข้อต่อสู้ได้แล้วศาลก็มักจะพิพากษาว่าจำเลยผิดจริง ส่วนในคดีแพ่งการไม่สามารถถามค้านอย่างได้ผลนั้นจะทำให้ศาลรับฟัง และเชื่อถือข้อนำสืบของฝ่ายตรงข้ามมากขึ้นกลายเป็นการเพิ่มภาระของ ฝ่ายเราที่จะต้องนำสืบให้มีน้ำหนักมากกว่าเพื่อมิให้เสียหายแก่คดี
นอกจากนี้เราต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักเกณฑ์ใน การชั่งน้ำหนักพยานบุคคลของศาลและจิตวิทยาในการเบิกความของ พยานมาเป็นเครื่องช่วยบอกว่าควรถามพยานในเรื่องใดเพียงใด โดย หลักเกณฑ์ในการชั่งน้ำหนักพยานบุคคลของศาลจะช่วยบอกเราว่า ข้อเท็จจริงที่เราตั้งใจจะนำเสนอนั้นสอดคล้องกับแนวทางในการพิจารณา วินิจฉัยของศาลหรือไม่ เพื่อที่จะได้สามารถนำเสนอข้อเท็จจริงครบถ้วน สมบูรณ์เพียงพอให้คำวินิจฉัยของศาลเป็นไปตามที่เราคาดหวัง ในขณะที่ จิตวิทยาในการเบิกความของพยานจะช่วยให้เราคาดหวังได้ว่าจะได้หรือ ไม่ได้ข้อเท็จจริงอะไรบ้างจากพยานบุคคลแต่ละคน
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th