Home ทั้งหมด หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเยาวชน ในการกระทำความผิดของศาลอาญา

หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเยาวชน ในการกระทำความผิดของศาลอาญา

4705

หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุในการกระทำความผิดของศาลอาญา

วิธีการนับอายุ

วิธีการนับอายุของเด็กหรือเยาวชน ให้เริ่มนับแต่วันเกิด ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๑๕ มิใช่นับวันรุ่งขึ้นเหมือนเช่นการนับอายุความหรือระยะเวลาอุทธรณ์ฎีกา เช่น จำเลยเกิดวันที่ ๕ กรกฎาคม อายุจะครบ ๑ ปีบริบูรณ์ ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ในปีถัดไป

ถ้าจำเลยเกิดวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๒๕

๑. จำเลยจะมีอายุครบ ๑๐ ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๕

๒. จำเลยจะมีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐

๓. จำเลยจะมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ฉะนั้น

ถ้าจำเลยกระทำผิดในวันที่  ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ถือว่าขณะกระทำผิดยังเป็น “เด็ก” อยู่ เพราะยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ถ้ากระทำผิดอีกครั้งในวันที่ 4 กรกฎาคม ๒๕๕๓ จำเลยมิใช่ “เยาวชน” แล้วเพราะอายุถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ (คำวินิจฉัยฯ ที่ ยช. ๑๓/๒๕๕๖ ๓๗/๒๕๕๕ ๓/๒๕๕๐, ๕/๒๕๕๓, วยช. ๒๗/๒๕๖๐, ฎีกาที่ ๑๑๐๙/๒๕๔๖)

มาตรา ๑๐ บัญญัติว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี มาตรา ๔ บัญญัติว่า “เด็ก” ดังต่อไปนี้ (๑) คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุเกินกว่าอายุที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๗๓ แห่งประมวลกฎหมาย อาญา แต่ยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์

“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ และมาตรา ๕ บัญญัติว่า คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชน กระทำความผิด ให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนนั้นในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น โดยการนับ อายุของบุคคลมีบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖ บัญญัติไว้เป็นการ เฉพาะว่า การนับอายุของบุคคล ให้เริ่มนับแต่วันเกิด กรณีจึงต้องเริ่มนับอายุของจำเลยที่ ๒ ตั้งแต่ วันเกิดเป็นหนึ่งวันเต็มโดยไม่คำนึงถึงจำนวนชั่วโมง เมื่อปรากฏตามสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของจำเลยที่ ๒ เอกสารท้ายคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาของจำเลยที่ ๒ ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ว่า จำเลยที่ ๒ เกิดวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ จำเลยที่ ๒ จึงมีอายุครบ สิบแปดปีบริบูรณ์ตั้งแต่วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ อันเป็นวันเกิดเหตุตามฟ้องของโจทก์คดีในส่วน ของจำเลยที่ ๒ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราช บัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๐ (๑)

ความหมายที่ศาล ตีความคำว่าเยาวชน

“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี บริบูรณ์

“เยาวชน” หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ แม้จะบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส ถ้ากระทำผิดขณะที่อายุยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ ก็ต้องถือว่า เยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด ต้องบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ (อายุเกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์ หมายถึง ๑๕ ปี 9 วัน ขึ้นไป ถ้าอายุ ๑๕ ปี พอดี ถือว่ายังเป็นเด็กอยู่ ดังนั้น ถ้าผู้กระทำผิดเป็นเยาวชน การดำเนินคดีต่อเยาวชนก็ให้แยกดังนี้ (ก) ถ้าเป็นความผิดในคดีที่พนักงานสอบสวนอาจ เปรียบเทียบได้ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจเปรียบเทียบปรับไปได้ตามปกติเหมือนเช่นผู้ใหญ่ กระทำความผิด แต่หากเห็นว่าเยาวชนนั้นควรได้รับโทษถึงจำคุก จะไม่เปรียบเทียบปรับก็ได้ หรือ พยายามเปรียบเทียบปรับในคดีที่มีค่าทดแทนแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ พนักงาน สอบสวนก็ต้องดำเนินคดีต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้ (ข) ถ้ากระทำความผิดในคดีอื่น ๆ ที่ไม่ อาจเปรียบเทียบได้ พนักงานสอบสวนก็ต้องดำเนินคดีตามพระราชบัญญัตินี้ทันที กล่าวคือ ถ้าเริ่มต้นจากการจับกุม ไม่ว่าจับกุมโดยมีหมายจับหรือตามข้อยกเว้นไม่มีหมายจับตามประมวล

 

 

Facebook Comments