การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หมายถึง การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งหยิบยกเอาเหตุหย่า ตามที่กฎหมายกำหนดไว้มาฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นกรณีที่คู่ สมรสไม่สามารถตกลงหย่าโดยความยินยอมหรืออาจจะไม่มีการพยายามตกลงหย่ากันก่อนการฟ้อง v ก็ได้
เนื่องจากการหย่าเป็นการยุติชีวิตครอบครัวของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อ คู่หย่าเอง ต่อบุตรธิดาและต่อบุคคลภายนอก ทั้งยังเป็นกรณีการหย่าที่ต้องอาศัยบุคคลที่สามคือ ศาลเข้ามาชี้ขาด ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงต้องกำหนดเหตุแห่งการหย่าไว้อย่างรัดกุมและรอบคอบ กล่าวคือ จะต้องมีความร้ายแรงเพียงพอไม่ใช่เป็นเรื่องลิ้นกระทบฟันธรรมดาของสามีภริยาทั่วไป นอกจากนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 36 วรรคสอง ในคดีฟ้องขอหย่าหรือฟ้องชายชู้ ให้ศาลห้ามมิให้มี การเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใดๆ ที่ศาลเห็นเป็นการไม่สมควร หรือพอจะเห็นได้ว่า จะทำให้เกิดความเสียหาย อันไม่เป็นธรรมแก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีข้อน่าคิดว่าหากเรา ไม่ยอมรับหลักการหย่าโดยความยินยอมโดยให้มีแต่การหย่าโดยคำพิพากษาสถานเดียว เราก็ต้อง กำหนดเหตุการฟ้องหย่าให้กว้าง แต่กฎหมายครอบครัวไทยมีหลักให้หย่าโดยความยินยอมได้อยู่ แล้ว จึงจำต้องจำกัดเหตุหย่าให้มีแต่เฉพาะในเรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิตสมรสอย่างร้ายแรงจริงๆ
ดังนั้น เมื่อกฎหมายได้บัญญัติเหตุฟ้องหย่าไว้โดยเฉพาะแล้ว