Home ทั้งหมด การหย่าโดยความยินยอมคืออะไร มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

การหย่าโดยความยินยอมคืออะไร มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

2444

การหย่าโดยความยินยอมคืออะไร มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

1.1 การหย่าโดยความยินยอม

การหย่าโดยความยินยอม คือ การที่คู่สมรสตัดสินใจยุติความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง ในฐานะสามีภริยาโดยการตกลงกัน เป็นการหย่าที่ไม่มีคู่สมรสฝ่ายใดทำความผิดต่อหน้าที่การเป็น สามีภริยา การหย่าโดยความยินยอมเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่คู่สมรสสามารถแยกทางจากกันอย่างสันติ และเป็นมิตร เนื่องจากในการขอหย่าคู่สมรสไม่ต้องให้เหตุผลหรือแจกแจงความผิดของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมักมีผลเสียมากกว่าผลดีดังที่หลวงจำรูญเนติศาสตร์ ได้เคยเขียนไว้ว่า การคิดจะหย่ากันนั้น เมื่อไปหาทนายความก็ดี ฟ้องร้องเป็นคดีก็ดี จำต้องเปิดเผยเหตุการณ์ต่างๆ บางเรื่องก็น่าอับอาย บางเรื่องก็เป็นความลับแต่เฉพาะระหว่างตนกับภริยาหรือสามีของตนเท่านั้น เขาว่าเป็นการซักผ้า ที่สกปรกให้คนเห็น เนื่องจากการหย่าแบบนี้เกิดจากความต้องการของทั้งสองฝ่ายทำให้สามารถ ประหยัดเงินและไม่ต้องเสียเวลาไปฟ้องร้องกันให้เรื่องอื้อฉาวออกไปอีก ทั้งยังไม่ทำให้กรณีพิพาท ในครอบครัวยืดเยื้ออันจะเป็นผลร้ายต่อความรู้สึกของเด็กที่พ่อแม่แยกทางกัน คู่สมรสสามารถตกลง กันก่อนหย่าในเรื่องทรัพย์สิน อำนาจปกครองและการอุปการะเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนค่าเลี้ยงชีพ การหย่าโดยความยินยอมจึงน่าจะเน้นถึงความรับผิดชอบของคู่หย่าต่ออีกฝ่าย และต่อบุตรธิดา มากกว่าที่จะไปให้ความสำคัญว่าใครเป็นฝ่ายผิด โดยสรุปแล้ว บทกฎหมายเกี่ยวกับการหย่าต้อง ส่งเสริมทุกทางให้คู่สมรสตรึกตรองอย่างรอบคอบและตกลงกันเองอย่างมีเหตุมีผล เพื่อให้ผลของ การหย่าออกมาอย่างเรียบร้อยโดยสันติวิธีที่สุด

โดยที่การหย่าตามวิธีนี้เป็นความประสงค์ร่วมกันของคู่สมรส กฎหมายจึงไม่ได้กำหนด เงื่อนไขไว้ซับซ้อนมากนัก เพียงแต่ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน ก็พอ (มาตรา 1514 วรรคสอง) หลังจากนั้นก็นำไปจดทะเบียนก็เป็นอันสมบูรณ์ตามกฎหมายทุก ประการ (มาตรา 1515) หนังสือยินยอมหย่านั้นกฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องทำที่บ้านของคู่กรณี จะทำที่ไหนก็ได้ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนการหย่า เมื่อได้ความว่าหนังสือยินยอมหย่าทำขึ้นที่ ว่าการอำเภอก่อนที่จะมีการจดทะเบียนการหย่าโดยทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อไว้และมีพยานลงลายมือ ชื่อสองคนถูกต้อง จึงเป็นหนังสือยินยอมหย่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย (ฎ. 595/2534)

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments