Home ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพทนายความ ผู้เช่าซื้อรถโดยสารถือเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิเอาประกันภัยได้หรือไม่

ผู้เช่าซื้อรถโดยสารถือเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิเอาประกันภัยได้หรือไม่

1468

ผู้เช่าซื้อรถโดยสารถือเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิเอาประกันภัยได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2539

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ รถยนต์โดยสาร หมายเลข ทะเบียน10-8592 กรุงเทพมหานคร โดย เช่าซื้อ จาก นายขาว มุนินทร์นิมิตร์ พร้อม สิทธิ ใน การ เดินรถ ร่วม กับ บริษัท ขนส่ง จำกัด และ ได้ เอา ประกันภัย รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไว้ กับ จำเลย เพื่อ ความเสียหาย ต่อบุคคลภายนอก เมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2531 นายมังคุด วรรณสิทธิ์ ผู้ขับ รถยนต์ ของ โจทก์ ได้ ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไป เกิดเหตุ เฉี่ยว ชนกับ รถยนต์บรรทุก หมายเลข ทะเบียน 80-0788 ร้อยเอ็ด และ รถยนต์บรรทุกหมายเลข ทะเบียน 80-1766 ปทุมธานี ต่อมา บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ผู้รับประกันภัย รถยนต์บรรทุก ทั้ง 2 คัน ดังกล่าว ได้ ยื่นฟ้องนายมังคุด นายขาว บริษัท ขนส่ง จำกัด และ จำเลย ต่อ ศาลแขวง พระนครเหนือ และ ศาลแพ่ง ให้ ร่วมกัน รับผิด คดี ของ ศาลแขวง พระนครเหนือ บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ถอนฟ้อง เนื่องจาก ได้รับ ชดใช้ จาก จำเลย จน เป็น ที่ พอใจ ส่วน คดี ของ ศาลแพ่งบริษัท ร.ส.พ. ประกันภัย จำกัด ถอนฟ้อง จำเลย อื่น คง ดำเนินคดี แก่ บริษัท ขนส่ง จำกัด ผู้เดียว ศาลแพ่ง พิพากษา ให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด ชดใช้ เงิน ค่าเสียหาย แก่ บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด เป็น เงิน 31,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย คดีถึงที่สุด บริษัท ขนส่ง จำกัด จึง ได้ มี หนังสือ แจ้ง ให้ โจทก์ นำ เงิน ตาม คำพิพากษา รวมค่าฤชาธรรมเนียม จำนวน 41,000 บาท ไป ชำระ ให้ แก่ บริษัท เพื่อจะ ได้ นำ ไป ชำระ ให้ แก่ บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด โจทก์ ได้ นำ เงิน จำนวน ดังกล่าว ไป มอบ ให้ แก่ บริษัท ขนส่ง จำกัด เมื่อ วันที่ 23 มกราคม 2534 จำเลย จึง มี หน้าที่ ต้อง ชดใช้ จำนวนเงิน ดังกล่าวคืน โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ชดใช้ เงิน จำนวน 42,853.54 บาท พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 41,000 บาท นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์

จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของ หรือ ผู้มีส่วนได้เสียใน รถ คัน ดังกล่าว ใน ขณะที่ นำ มา ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย สัญญาประกันภัยไม่ผูกพัน คู่สัญญา จำเลย จะ รับผิด ต่อ บุคคลภายนอก ใน นาม ผู้เอาประกันภัยเมื่อ ผู้เอาประกันภัย ต้อง รับผิด ต่อ บุคคลภายนอก แต่ ใน คดี ของ ศาลแพ่งตาม ฟ้อง บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ ให้ รับผิด โจทก์ จึง ไม่มี ความรับผิด โจทก์ ชำระหนี้ ให้ แก่ บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด โดย ไม่มี มูลหนี้ ต่อ กัน จึง ไม่มี สิทธิ เรียก ให้ จำเลย ชดใช้ คืน และ โจทก์ ชำระหนี้ ให้ แก่ บุคคลภายนอก โดย ไม่ได้รับ ความ ยินยอม จาก จำเลย ก่อน เป็น การ ผิด เงื่อนไข ใน กรมธรรม์ประกันภัยขอให้ ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 41,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่23 มกราคม 2534 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์แต่ ดอกเบี้ย ถึง วันฟ้อง ไม่ให้ เกิน 1,853.54 บาท

จำเลย อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

โจทก์ ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ทุนทรัพย์ ที่พิพาท ใน ชั้นฎีกา ไม่เกินสอง แสน บาท ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ ฎีกาใน ข้อกฎหมาย ว่า จำเลย ผู้รับประกันภัย ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้ แก่ โจทก์ ผู้เอาประกันภัย หรือไม่ ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ดังกล่าวศาลฎีกา จำต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบ มาตรา 247 ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง มา ว่า เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2525 โจทก์ ได้ เช่าซื้อ รถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 10-8592 กรุงเทพมหานคร พร้อม สิทธิ ใน การ เดินรถ ร่วมกับ บริษัท ขนส่ง จำกัด มาจาก นายขาว ต่อมา ได้ เอา ประกันภัย รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไว้ กับ จำเลย เมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2531ซึ่ง อยู่ ใน ระหว่าง สัญญาประกันภัย นายมังคุด ลูกจ้าง ของ โจทก์ ได้ ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว รับขน คนโดยสาร บน เส้นทาง ที่ 960-3 ระหว่างกรุงเทพมหานคร -บ้าน แพน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา แล้ว เกิดเหตุ เฉี่ยว ชนกับ รถยนต์บรรทุก หมายเลข ทะเบียน 80-0788 ร้อยเอ็ด และ หมายเลข ทะเบียน80-1766 ปทุมธานี เป็นเหตุ ให้ รถยนต์บรรทุก ทั้ง สอง คัน ได้รับความเสียหาย บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ผู้รับประกันภัย รถยนต์บรรทุก ทั้ง สอง คัน ฟ้อง นายมังคุด นายขาว บริษัท ขนส่ง จำกัด และ จำเลย ต่อ ศาลแขวง พระนครเหนือ ให้ ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ที่ รถยนต์บรรทุก หมายเลข ทะเบียน 80-1766 ปทุมธานีได้รับ ความเสียหาย ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 381/2532 ของศาลแขวง พระนครเหนือ นายมังคุด กับพวก ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด จน เป็น ที่ พอใจ และ ถอนฟ้อง ไป และ บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ฟ้อง นายมังคุด นายขาว บริษัท ขนส่ง จำกัด และ จำเลย ต่อ ศาลแพ่ง ให้ ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ที่ รถยนต์บรรทุก หมายเลข ทะเบียน 80-0788 ร้อยเอ็ดได้รับ ความเสียหาย ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 15731/2532 ของ ศาลแพ่งระหว่าง พิจารณา บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ถอนฟ้อง นายมังคุด นายขาว และ จำเลย คง ดำเนินคดี แก่ บริษัท ขนส่ง จำกัด ผู้เดียว ศาลแพ่ง พิพากษา ให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย รวมทั้ง ค่าฤชาธรรมเนียม ให้ แก่ บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด เป็น เงิน 41,000 บาท โจทก์ ได้ มอบ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด เมื่อ วันที่ 23 มกราคม 2534 เพื่อ นำ ไป ชำระ ให้ แก่ บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ตาม คำพิพากษา เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า โจทก์ เป็น ผู้เช่าซื้อ รถยนต์โดยสารหมายเลข ทะเบียน 10-8592 กรุงเทพมหานคร คัน เกิดเหตุ โจทก์ ย่อมมีสิทธิ ครอบครอง และ ใช้ ประโยชน์ ตลอดจน รับผิด ใน ความ สูญหาย หรือบุบสลาย อย่างใด อัน เกิด แก่ รถยนต์โดยสาร ที่ เช่าซื้อ มา ตาม สัญญาเช่าซื้อและ เมื่อ ชำระ ค่าเช่าซื้อ ครบถ้วน ตาม สัญญาเช่าซื้อ แล้ว รถยนต์โดยสารที่ เช่าซื้อ มา ก็ จะ ตกเป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ หรือ ใน กรณี ต้อง เลิกสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ ก็ มี หน้าที่ จะ ต้อง ส่ง คืน รถยนต์โดยสาร ที่ เช่าซื้อ มาให้ แก่ ผู้ให้เช่าซื้อ โจทก์ จึง เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย ใน รถยนต์โดยสารที่ เช่าซื้อ มา จึง มีสิทธิ ที่ จะ เอา ประกันภัย ความเสียหาย อัน อาจ เกิด แก่รถยนต์โดยสาร ที่ เช่าซื้อ มา สัญญาประกันภัย ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลยตาม ฟ้อง จึง มีผล ผูกพัน ตาม กฎหมาย และ การ ที่ โจทก์ นำ รถยนต์โดยสารที่ เช่าซื้อ มา ไป ร่วม รับ ส่ง คนโดยสาร กับ บริษัท ขนส่ง จำกัด ซึ่ง ประกอบ กิจการ ขนส่ง โดย นายมังคุด ลูกจ้าง ของ โจทก์ เป็น ผู้ขับ เพื่อ หา ประโยชน์ ร่วมกัน ระหว่าง โจทก์ กับ บริษัท ขนส่ง จำกัด เช่นนี้ เมื่อ ปรากฏว่า นายมังคุด ขับ รถ ที่ จำเลย รับประกัน ภัย ไว้ ไป ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย ต่อ บุคคลภายนอก โจทก์ และ บริษัท ขนส่ง จำกัด จึง ต้อง ร่วมกัน รับผิด ใน ความประมาท เลินเล่อ ที่นายมังคุด คนขับ รถ คัน ดังกล่าว ได้ ก่อ ขึ้น และ ต้อง ถือว่า วินาศภัย ที่ เกิดขึ้น นี้ โจทก์ ผู้ เอาประกันภัย จะ ต้อง รับผิดชอบ ด้วย กรณี จึง ต้องด้วย หลักเกณฑ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรก ซึ่ง จำเลย ผู้รับประกันภัยค้ำจุน ต้อง รับผิด ต่อ บุคคลภายนอก ใน นาม ของ โจทก์ ผู้ เอาประกันภัย เมื่อ โจทก์ ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ไป โจทก์ จึง มีสิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย ผู้รับประกันภัย ค้ำจุนรับผิด ใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ส่วน ที่ จำเลย อ้างว่า โจทก์ชำระหนี้ ให้ แก่ บุคคลภายนอก โดย ผิด เงื่อนไข กรมธรรม์ประกันภัยตาม เอกสาร หมาย จ. 5 ข้อ 1.5.1 ที่ ว่า ผู้เอาประกันภัย จะ ต้องไม่ ตกลง ยินยอม เสนอ หรือ ให้ สัญญา ว่า จะ ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ บุคคล ใดโดย ไม่ได้ รับ ความ ยินยอม จาก จำเลย เว้นแต่ จำเลย มิได้ จัดการ ต่อการ เรียกร้อง นั้น เป็น ข้อตกลง เพื่อ ป้องกัน มิให้ ผู้เอาประกันภัย ไปตกลง ชดใช้ ค่าเสียหาย หรือ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ บุคคลภายนอกใน กรณี ที่ ผู้เอาประกันภัย เป็น ฝ่าย ถูก เท่านั้น แต่ กรณี นี้ โจทก์เป็น ฝ่าย ต้อง รับผิด จำเลย จะ ยก เอา เงื่อนไข ดังกล่าว มา ปัดความรับผิดไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ มา ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”

พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

สรุป

โจทก์ผู้เช่าซื้อรถโดยสารเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถที่เช่าซื้อมีสิทธิเอาประกันภัยความเสียหายอันอาจเกิดแก่รถนั้นได้เมื่อโจทก์นำรถนั้นไปร่วมรับส่งคนโดยสารกับบริษัท ขนส่ง จำกัดเพื่อหาประโยชน์ร่วมกันแล้วไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกโดยประมาทเลินเล่อโจทก์และบริษัท ขนส่ง จำกัดจึงต้องร่วมกันรับผิดโดยจำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในนามของโจทก์เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายไปแล้วจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดใช้เงินดังกล่าวแก่โจทก์ส่วนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยเป็นข้อตกลงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้นจำเลยจะยกเอาเงื่อนไขนี้มาปัดความรับผิดไม่ได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

Facebook Comments