จดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติ สามารถหย่ากันด้วยความยินยอมได้หรือไม่
การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
ทีมงานทนายกฤษดาขอเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบว่า การที่สามีและภริยาประสงค์จะยุติการสมรสระหว่างบุคคลทั้งสองนั้นกฎหมายยินยอม ให้ทั้งคู่ตกลงหย่าขาดกันได้ โดยไม่ต้องมีเหตุผลใด ๆ เพราะ ถือว่าการสมรสเป็นสัญญาทางแพ่งเมื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายประสงค์จะเลิกสัญญาก็ย่อมมีสิทธิที่จะ กระทำได้ หลักการที่กฎหมายยินยอมให้สามีภริยาตกลงหย่าขาดจากกันได้นี้มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน
ซึ่งประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย เช่น ฝรั่งเศสก็ยอมรับให้มีการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายได้ แต่สำหรับประเทศที่ใช้ ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ไม่มีบทบัญญัติให้ มีการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย โดยถือหลักว่าการทำให้การสมรสสิ้นสุดลง เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะเท่านั้นซึ่งแต่เดิมเป็นอำนาจของศาลศาสนาที่จะมีคำสั่ง
แม้คู่สมรส ทั้งสองฝ่ายจะยินยอมหย่าขาดจากกันก็จะต้องฟ้องคดีต่อศาลอ้างเหตุหย่า โดยคู่สมรสฝ่ายที่เป็น จำเลยขาดนัดเพื่อให้ศาลพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว ในประเทศไทยเรานั้นแต่เดิม กฎหมายลักษณะผัวมีย บทที่ ๖๕ ก็อนุญาตให้สามีภริยาหย่าขาดจากกันโดยความยินยอม ได้อยู่แล้วโดยบัญญัติว่า “สามีภริยาวิวาทจะหย่ากัน สามีให้หนังสือแก่ภริยา ภริยาให้หนังสือ แก่สามีต่อหน้าผู้เฒ่าผู้แก่ ท่านว่าฟังเอาหนังสือสามีภริยานั้นได้ เขาสามีภริยาขาดจากผัวเมียกัน ในปัจจุบันกฎหมายก็ยังคงหลักการให้มีการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายได้โดย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานสองคน
มาตรา ๑๕๑๔ การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดย คําพิพากษาของศาลการหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายนั้นสามีและภริยาต้องยินยอมหย่าขาดจากกัน โดย การทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อยสองคนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๑๔
ในกรณีที่จดทะเบียนสมรสกับคนไทย หรือคนไทยจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาตินั้น สามารถหย่าด้วยความยินยอมได้
มีปัญหาคดีความปรึกาาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th