Home ทั้งหมด ตกลงกันที่สถานีตำรวจว่าจะไปหย่ากัน หนังสือดังกล่าวถือเป็นบันทึกข้อตกลงในการหย่าหรือไม่

ตกลงกันที่สถานีตำรวจว่าจะไปหย่ากัน หนังสือดังกล่าวถือเป็นบันทึกข้อตกลงในการหย่าหรือไม่

1543

ตกลงกันที่สถานีตำรวจว่าจะไปหย่ากัน หนังสือดังกล่าวถือเป็นบันทึกข้อตกลงในการหย่าหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2533

คดีนี้ในศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องว่า

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยแต่งงานจดทะเบียนสมรส แล้วอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาและมีทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,693,900 บาท เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2527 เวลาประมาณ 15นาฬิกา จำเลยได้ทำร้ายร่างกายและพยายามฆ่าโจทก์ นอกจากนั้นจำเลยยังมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงรับใช้ในบ้าน การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง จนโจทก์ไม่อาจทนอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยอีกต่อไป ต่อมาเมื่อวันที่10 มิถุนายน 2527 โจทก์จำเลยตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาต่อหน้าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง โดยทำบันทึกตกลงยินยอมหย่าเป็นหนังสือต่อหน้าพยานเกินกว่า 2 คน โดยจะไปจดทะเบียนหย่ากันตามกฎหมายต่อไป แต่จนบัดนี้จำเลยก็ยังไม่ยอมจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ และแบ่งสินสมรสกับโจทก์ตามที่ตกลง ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยแบ่งสินสมรสแก่โจทก์กึ่งหนึ่งหากตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง หรือให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์แทนการแบ่งสินสมรสเป็นเงิน 846,950 บาท

จำเลยต่อสู้คดีว่า

จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์ไม่มีมูล จำเลยมิได้มีพฤติการณ์ดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่อย่างใด การไปตกลงหย่าต่อหน้าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงไม่มีผลเป็นการหย่าโดยถูกต้อง เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและพยานรับรองลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ขอให้ยกฟ้อง

 

ศาลชั้นต้นตัดสิน

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลบยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันหากจำเลยไม่ได้จดทะเบียนหย่าให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้โจทก์จำเลยมีส่วนเท่ากันในสินสมรสตามเอกสารหมายจ.4 เฉพาะรายการที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 12 ที่ 13ที่ 14 ที่ 15 ที่ 16 และที่ 17 หากตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ก็ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินแบ่งกันคนละครึ่ง และให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์จำนวน 471,550 บาทด้วย หรือให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์จำนวน 846,950บาท แทนการแบ่งสินสมรสทั้งหมด

ใครยื่นอุทธรณ์

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า โจทก์จำเลยมีส่วนคนละครึ่งในสินสมรสตามบัญชีทรัพย์เอกสารหมาย จ.4 อันดับที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 9ที่ 10 ที่ 14 หากตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง หรือหากไม่ขายทอดตลาดก็ให้จำเลยชำระเงิน 686,750 บาทให้โจทก์แทนการแบ่งสินสมรสดังกล่าว

ศาลฎีกาตัดสินว่า

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกัน ณ สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2523 และตกลงทำสัญญาก่อนสมรสไว้ตามเอกสารหมาย จ.1 โจทก์จำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาจนถึงวันที่ 10 มิถุนายน2527 โจทก์จำเลยได้ไปพบพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงและแจ้งให้พนักงานสอบสวนทำบันทึกข้อตกลงไว้ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.10

จุดที่ศาลฎีกาวินิจฉัย

มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า บันทึกตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวเป็นการหย่าโดยความยินยอมตามกฎหมายหรือไม่ทรัพย์สินตามบัญชีเอกสารหมาย จ.4 อันดับที่ 1 ถึงที่ 6ที่ 9 ที่ 10 และที่ 14 เป็นสินสมรสหรือไม่

พิเคราะห์แล้ว ในปัญหาที่ว่า บันทึกตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.10เป็นการหย่าโดยความยินยอมตามกฎหมายหรือไม่ ตามบันทึกดังกล่าวระบุว่า”นายกระโดน และนางยี่หุบจะทำการหย่าร้างจากการเป็นสามีภริยากันให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลัง…ส่วนเรื่องทรัพย์สินของสามีภริยาส่วนตัวจะไปทำความตกลงกันเอง…”เห็นว่า ข้อความในบันทึกดังกล่าวระบุอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์จำเลยจะทำการหย่าร้างกันตามกฎหมาย และโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าว กรณีถือได้ว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงที่จะหย่ากันตามกฎหมายแล้ว นอกจากนี้บันทึกดังกล่าวมีร้อยตำรวจตรีเหลือง พนักงานสอบสวนและจ่าสิบตำรวจ1 นายแคแสดในบันทึกดังกล่าวไว้ แม้ในบันทึกดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองลงลายมือชื่อในฐานะพยาน แต่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวก็กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามหน้าที่ และรับรู้ข้อตกลงดังกล่าวของโจทก์จำเลย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงการหย่าโดยความยินยอมแล้ว

ศาลฎีกาเห็นว่า

ดังนั้นบันทึกตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมายจ.10 เป็นการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์จำเลย โดยทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514 วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

ในปัญหาที่ว่า ทรัพย์สินตามบัญชีเอกสารหมาย จ.4 อันดับที่ 1ถึงที่ 6 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 14 เป็นสินสมรสหรือไม่ ทรัพย์สินอันดับที่ 1 เป็นที่ดินโฉนดที่ 158554 พร้อมบ้าน โจทก์เบิกความว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวโจทก์และจำเลยซื้อร่วมกันและช่วยกันชำระเงินชำระเงินดาวน์เป็นเงินประมาณ 100,000 บาท โดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2523 จึงได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านดังกล่าวกันตามเอกสารหมาย จ.2 จ.3 และคงค้างชำระที่ดินและบ้านอีกประมาณ 500,000 บาท ซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้ โจทก์จำเลยช่วยกันผ่อนชำระจนครบและไถ่ถอนประมาณเดือนมกราคม 2526 เห็นว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2523จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรส ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าจำเลยซื้อไว้ก่อนจดทะเบียนสมรสตามสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.1นั้น ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวข้อ 2 ระบุว่า ผู้ซื้อยอมชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่ผู้ขายดังที่จะกล่าวต่อไป

(1) เมื่อผู้ขายมีคำบอกล่าวแจ้งให้ผู้ซื้อมารับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อขายกัน และผู้ซื้อได้ชำระเงินให้แก่ผู้ขายจำนวน 14,000บาท พร้อมทั้งผู้ซื้อได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาปลูกสร้างอาคาร และชำระเงินค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารครบถ้วนถูกต้องแล้ว ผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อขายดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ เห็นว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวยังไม่มีการชำระเงินค่าที่ดินในวันทำสัญญา คงมีแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการที่จะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและวิธีการชำระค่าที่ดินเท่านั้น และหลังจากทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ไม่มีหลักฐานการชำระค่าที่ดิน คงมีแต่ใบเสร็จรับเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่จำเลยจ่ายให้บริษัทผู้รับเหมาไปก่อนสมรสเพียง 2 งวด เป็นเงิน 40,000 บาท ตามเอกสารหมาย ล.2 ล.3 ทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสตามเอกสารหมาย จ.1และจำเลยยังเบิกความตอบคำถามค้านว่า จำเลยปลูกบ้านดังกล่าวเพื่ออยู่กินกับโจทก์ และเพื่อให้มารดาและพี่สาวอยู่อาศัย จำเลยเริ่มผ่อนราคาบ้านดังกล่าวก่อนแต่งงานกับโจทก์และหลังแต่งงานก็ยังผ่อนอยู่คำเบิกความดังกล่าวของจำเลยจึงต้องกันกับคำเบิกความของโจทก์ และจำเลยก้เบิกความยอมรับอกีว่าจำเลยรู้จักโจทก์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521โดยทำงานร่วมกันที่บริษัทนารายณ์สากลประกันภัย จำกัด เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวประกอบกันแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์จำเลยร่วมกันซื้อที่ดินและบ้านดังกล่าว ดังนั้นทรัพย์สินอันดับที่ 1 จึงเป็นสินสมรสสำหรับทรัพย์สินอันดับที่ 2 ถึงที่ 6 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 14 โจทก์เบิกความยืนยันว่า ทรัพย์สินดังกล่าวได้มาในระหว่างสมรส เห็นว่าทรัพย์สินอันดับที่ 2 เป็นที่ดินโฉนดที่ 158568 ซื้อมาเมื่อวันที่13 กรกฎาคม 2526 โจทก์จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ปรากฏตามโฉนดเอกสารหมาย จ.5 ทรัพย์สินอันดับที่ 3 ที่ 4 เป็นรถยนต์ โจทก์ซื้อมาหลังจากโจทก์จำเลยแต่งงานกันแล้วตามเอกสารหมาย จ.6 จ.7ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างสมรส ส่วนทรัพย์สินอันดับที่ 5 ที่ 6 เป็นตู้เย็น อันดับที่ 9 ที่ 10 เป็นโทรทัศน์สีอันดับที่ 14 เป็นตู้ลำโพง 1 ตู้ ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของใช้ภายในบ้าน และจำเลยยอมรับว่าทรัพย์สินอันดับที่ 5 โจทก์ซื้อมา ส่วนทรัพย์สินอันดับที่ 9 ที่ 10 และที่ 14 จำเลยไม่นำสืบโต้แย้งว่าได้มาก่อนสมรส พยานหลักฐานโจทก์ก็มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานจำเลยฟังได้ว่าทรัพย์สินอันดับที่ 5 ที่ 6 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 14 ได้มาในระหว่างสมรสเช่นกัน ในปัญหาที่ว่าจำเลยใช้เงินซึ่งเป็นสินส่วนตัวซื้อทรัพย์สินดังกล่าวเว้นทรัพย์สินอันดับที่ 5 หรือไม่ จำเลยเบิกความว่าจำเลยซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์สินอันดับที่ 2 ด้วยตนเองโจทก์ไม่ได้ร่วมซื้อด้วยเห็นว่า จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนว่าเงินที่ซื้อที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัว แต่ได้เบิกความตอบคำถามค้านว่า เงินส่วนที่จำเลยนำไปซื้อทรัพย์สินดังกล่าวนั้นหมายถึงเงินที่ได้จากการค้าขายพลอยและเงินที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย จึงเห็นได้ชัดว่าเงินที่จำเลยอ้างมาดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส เมื่อจำเลยนำเงินซึ่งเป็นสินสมรสไปซื้อทรัพย์สินมา ทรัพย์สินดังกล่าวจึงตกเป็นสินสมรสดังนั้นทรัพย์สินตามบัญชีเอกสารหมาย จ.4 อันดับที่ 2 ถึงที่ 6 ที่ 9ที่ 10 และที่ 14 เป็นสินสมรสส่วนทรัพย์สินอันดับที่ 5 ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยขายไปเพื่อนำเงินมาชำระหนี้นั้น จำเลยไม่ได้ให้การไว้ว่าจำเลยได้ขายไปแล้วในระหว่างสมรส ทั้งไม่ได้ถามค้านโจทก์ไว้จำเลยจึงเบิกความลอย ๆ ไม่น่าเชื่อ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยขายทรัพย์สินอันดับที่ 5 ไปเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น”

พิพากษายืน.

สรุป

การที่โจทก์ จำเลย ประสงค์จะหย่าขาดจากกันจึงไปทำบันทึกในรายงานประจำวัน ณ สถานีตำรวจมีข้อความว่าโจทก์และจำเลยจะทำการหย่าร้างจากการเป็นสามีภริยากันให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลังส่วนเรื่องทรัพย์สินของสามีภริยาส่วนตัวจะไปทำความตกลงกันเองโดยโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าว และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 2 นายแคแสดไว้ด้วย นั้น แม้ในบันทึกดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนายแคแสดในฐานะพยาน แต่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวก็กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามหน้าที่และรับรู้ข้อตกลงของโจทก์จำเลย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงนี้ เมื่อข้อความในบันทึกดังกล่าวระบุอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์ จำเลยจะทำการหย่าร้างกันตามกฎหมาย โดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึก และมีพยานลงลายมือชื่ออีก 2 คนแล้วบันทึกดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงการหย่าโดยความยินยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1514 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนหย่าได้ ที่ดินและบ้านโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มาหลังจากทำการสมรสกับจำเลยแล้วโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันซื้อมา จึงเป็นสินสมรส ตู้เย็น โทรทัศน์สี และตู้ลำโพง อันเป็นของใช้ภายในบ้านเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส ที่ดินซึ่งจำเลยซื้อมาในระหว่างสมรสและมีชื่อ โจทก์ จำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โดยจำเลยนำเงินที่ได้จากการค้าขายและเงินเดือนไปซื้อ นั้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส การที่จำเลยนำเงินที่เป็นสินสมรสไปซื้อที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสด้วย.

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

Facebook Comments