หลักการพื้นฐานในการต่อสู้คดีอาญามีอย่างไร
การต่อสู้คดีมีหลักการอย่างไรบ้าง
ในคดีอาญา
กฎหมายไม่ได้บังคับให้จำเลยต้องยื่นคำให้การ จำเลยจะไม่ยื่น หรือจะให้การอย่างไรก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลไว้ในคำให้การดังเช่นคดีแพ่ง จะให้การไว้เพียงลอย ๆ หรือจะให้การเป็นเรื่องราวอธิบายถึงเหตุที่เกิดขึ้นอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อจำเลยประสงค์จะต่อสู้คดีแล้วก็ต้องให้การปฏิเสธ ซึ่งหากจำเลยไม่ยื่นคำให้การต่อ ศาลก็ต้องเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสอบคำให้การจำเลยและบันทึกคำให้การของจำเลย ไว้และอ่านคำให้การที่บันทึกไว้นั้นให้จำเลยฟัง
ในทางปฏิบัติแล้วทำอย่างไร
ในทางปฏิบัติเมื่อจำเลยเข้ามาในห้อง พิจารณาและศาลออกนั่งพิจารณาแล้ว ศาลจะเรียกชื่อนามสกุลจำเลย เมื่อเชื่อว่าเป็น จำเลยแล้วศาลจะอ่านคำฟ้องโดยย่อให้จำเลยฟัง แล้วถามว่าจำเลยจะให้การอย่างไร จะปฏิเสธฟ้องหรือจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อจำเลยประสงค์ต่อสู้คดีก็ต้องแถลง ต่อศาลว่าขอให้การปฏิเสธหรือหากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ จำเลยก็ เพียงแต่ให้การไว้ในแบบคำให้การว่า “ข้าพเจ้าขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น” หรือ ข้อความอื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นข้อความสั้น ๆ โดยไม่ต้องอ้างเหตุผลหรือเหตุแห่งการ ปฏิเสธดังเช่นคดีแพ่งก็ถือเป็นคำให้การของจำเลยที่สมบูรณ์แล้ว ส่วนการนำสืบต่อสู้ของ ๆ จำเลยนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งจำเลยจะนำสืบต่อสู้ไปในทางใดก็ได้ตามที่ได้เลือกไว้เพื่อ หักล้างพยานหลักฐานของโจทก์
ดังนั้น การต่อสู้คดีของจำเลยจึงเปิดกว้างให้จำเลยต่อสู้ คดีได้อย่างเต็มที่ตามหลักกฎหมายในทางนิติปรัชญาและหลักสากลที่ทั่วโลกให้การ ยอมรับ เพราะความรับผิดทางอาญาเป็นการลงโทษแก่ตัวผู้กระทำความผิดโดยตรง จึง ต้องให้โอกาสแก่จำเลยได้แก้ข้อกล่าวหาของตนจนสิ้นกระแสความโดยไม่กีดกัน พยานหลักฐานของจำเลย
การต่อสู้คดีอาญามีหลักเกณฑ์ตายตัวหรือไม่
การต่อสู้คดีอาญานั้นไม่สามารถกำหนดเป็นหลักตายตัวลงไปได้ว่าต้องต่อสู้ใน ประเด็นหนึ่งประเด็นใดเป็นการเฉพาะเจาะจงเท่านั้นจึงจะชนะคดีหรือสามารถหักล้าง พยานหลักฐานของโจทก์ได้ หรือทำให้น้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ หรือไม่มั่นคงพอที่จะลงโทษจำเลย หรือทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ต้องเป็นที่สงสัย ตามสมควรว่าจําเลยได้กระทําความผิดหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม การต่อสู้คดีอาญาก็ต้องมีหลักหรือแนวทางในการต่อสู้คดีไปในทางใดทางหนึ่งหรือในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง มิใช่สู้คดีแบบเหวี่ยงแหไม่มีเป้าหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการถามค้านและนำสืบ หักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ต่อไป การไม่ได้ตั้งหรือกำหนดข้อต่อสู้ไว้ก็ดีหรือทำการ ต่อสู้คดีไปทุกเรื่องหรือทุกประเด็นก็ดี จะมีผลทำให้รูปคดีเสียไปและอาจแพ้คดีไปในที่สุด ซึ่งถ้าหากจำเลยกระทำความผิดจริงก็ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นผลร้ายแก่จำเลย แต่ถ้าหากจำเลยต้องถูกศาลพิพากษาลงโทษโดยที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดดังที่ โจทก์ฟ้องมา นอกจากทนายจำเลยจะถูกตำหนิแล้วยังจะต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงทางสังคม และยังจะเกิดตราบาปอยู่ภายในใจด้วย ฉะนั้น ทนายจำเลยที่ดีจึงต้องเตรียมประเด็น ข้อต่อสู้ไว้เป็นแนวทางในการนำสืบพยาน
ภายหลังที่ได้ประมวลข้อเท็จจริงและตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วมีความเชื่อว่า คดีนี้ความจริงเป็นดังที่จำเลยบอกเล่ามา ทนายจำเลยต้องกำหนดแนวทางในการต่อสู้ คดีขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
พื้นฐานการสู้อย่างแรก
ยกข้อต่อสู้อ้างฐานที่อยู่ คือการปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดดังที่ โจทก์ฟ้องและจำเลยไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุในขณะที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ซึ่งการ ต่อสู้กรณีนี้จะง่ายต่อการนำสืบของฝ่ายจำเลย และมีผลดีในกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้อง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๔ ห้ามมิให้ศาลอนุญาตให้ โจทก์แก้ฟ้องหากจำเลยหลงต่อสู้ เช่นเดียวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๒ วรรคสองและวรรคสาม ที่ให้ศาลยกฟ้องคดีที่ศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องและจำเลยหลงต่อสู้ ตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖/๒๕๐๑ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความทำผิดใน วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้อ้างฐาน ที่อยู่ ครั้นเมื่อสืบพยานโจทก์ไปหมดแล้วและสืบพยานจำเลย โจทก์จึงมาขอแก้ฟ้องเป็น ว่าเหตุเกิดเมื่อระหว่างวันที่ 7 ถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด แม้เป็นการแก้ไขในรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้อง แต่ถือว่าจำเลยได้หลงต่อสู้คดีไปตามที่โจทก์ฟ้องผิดวันนั้นแล้ว ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องที่ผิดวันเวลาไปนั้นไม่ได้ ต้องยกคำร้องขอแก้ฟ้องนั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๓/๒๕๕๒ โจทก์ฟ้องว่าเหตุเกิดระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ แต่ได้ความว่าเหตุคดีนี้เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ ๔ ถึง 5 มกราคม ๒๕๕๒ จำเลยต่อสู้ว่าในช่วงเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยรับราชการเป็นทหาร กองประจำการอยู่ที่โรงเรียน ก. จำเลยไม่ได้ลาออกไปข้างนอกโดยมีนายทหารประจำ โรงเรียน ก. มาเบิกความสนับสนุนและส่งเอกสารสำเนาบัญชีคุมการจำหน่ายเวลาปฏิบัติ ราชการของจำเลยเป็นพยานด้วย โจทก์ฟ้องผิดวันเป็นเวลาประมาณ ๑ เดือน แม้ว่าข้อ แตกต่างนี้จะเป็นเพียงรายละเอียด แต่การที่ฟ้องผิดวันไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ จึง ต้องยกฟ้องตามมาตรา ๑๙๒ วรรคสาม
พื้นฐานการสู้เรื่องการปฏิเสธการกระทำ
๒. ปฏิเสธการกระทำ คือการปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดดังที่ถูกกล่าวหา หรือไม่ได้กระทำดังเช่นที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในส่วนองค์ประกอบภายนอกของความผิด แต่จำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุหรือครอบครองทรัพย์ของกลางไว้หรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ในทางหนึ่งทางใดแต่ไม่ได้กระทำผิดต่อผู้ตายหรือผู้เสียหายแต่ประการใด
พื้นฐานการสู้แบบอื่นๆมีอะไรบ้าง
๓.ยกเหตุที่ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา คือการให้การยอมรับว่าได้กระทำไป ๓. ดังที่ถูกกล่าวหาแต่เป็นการกระทำไปโดยขาดเจตนาหรือกระทำไปเพื่อป้องกันตัวหรือ กระทำไปด้วยความจำเป็น กระทำไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานอันชอบด้วยกฎหมาย กระทำไปเพราะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หรือกระทำไปในขณะวิกลจริต หรือ จำเลยมีอำนาจที่จะกระทำการนั้นได้อันเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดตามประมวล กฎหมายอาญา
๔. ยกเหตุบรรเทาโทษ คือให้การรับว่ากระทำไปดังที่โจทก์ฟ้องแต่ได้กระทำ ไปเพราะเหตุบันดาลโทสะ ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ หรือจำเลยได้บรรเทาผลร้ายที่ทำ ไปแล้วอันเป็นการลุแก่โทษ เช่น ฟ้องเท็จแล้วถอนฟ้องหรือเบิกความเท็จแล้วกลับแจ้ง ความจริงก่อนศาลมีคำพิพากษา หรือเหตุบรรเทาโทษอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๗๘ เป็นต้น
๕. พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนัก คือพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร ของโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้หรือยังเป็นที่สงสัยตามสมควรว่าจำเลย จะได้กระทำความผิดหรือไม่ เพื่อประกอบการยกข้อต่อสู้ตามข้อ ๑ และข้อ ๒
ข้อต่อสู้ดังกล่าวไม่ใช่ข้อต่อสู้ที่ต้องยึดเป็นหลักตายตัวในการยกขึ้นแก้คดี แต่ อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสภาพการณ์ของคดีหากปรากฏว่ารูปคดีของโจทก์ไม่ตรงกับที่ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงมาจากจำเลย หรือเปลี่ยนแปลงไปเพราะโจทก์ไม่สามารถนำ พยานมาสืบได้ก็ต้องเปลี่ยนประเด็นข้อต่อสู้ตามไปด้วย เช่น เดิมตั้งรูปคดีต่อสู้ไว้ว่าที่ จำเลยกระทำไปเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อสืบพยานโจทก์ไปกลับ ปรากฏว่าโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นคนร้าย เพราะเหตุที่พยานโจทก์ไม่สามารถ จดจำคนร้ายได้หรือพนักงานอัยการโจทก์ไม่สามารถติดตามพยานมาเบิกความได้ ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจําเลยอาจเปลี่ยนไปยกข้อต่อสู้ในเรื่องฐานที่อยู่แทนหรือต่อสู้ว่าไม่ได้กระทํา การใด ๆ ดังที่โจทก์ฟ้องก็ได้ ทั้งนี้ก็เพราะ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพิสูจน์ ความผิดของจำเลยต่อศาล แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงข้อต่อสู้ดังกล่าวต้องกระทำ เสียก่อนที่จะถามค้านพยานโจทก์การจะยกข้อต่อสู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นอ้างนั้นก็แล้ว องหนึ่งขึ้นอ้างนั้นก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นคดี ๆ ไป โดยขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานของโจทก์ในแต่ละคดีเป็นสำคัญ
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th