สรุปรายละเอียดการฟ้องหย่า และเรื่องที่ควรรู้ก่อนฟ้องหย่า
เกริ่นนำ
หากถามถึงความเข้าใจของท่านที่มีความต้องการจะฟ้องหย่าสามีภรรยาต่อศาลนั้นท่านควรจะทราบเรื่องอะไรบ้างมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่มีขั้นตอนในการดำเนินคดีอย่างไรบ้างนั้นทีมงานทนายกฤษดาจะขออนุญาตอธิบายให้ฟังดังนี้
ทนายกฤษดา เคยทำคลิปเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนในการฟ้องไว้โดยละเอียด คลิก
เกี่ยวกับเหตุฟ้องหย่า
เหตุที่ใช้ในการฟ้องหย่านั้นมีอะไรบ้างจริงๆแล้วตามกฏหมายนั้นมีเหตุฟ้องหย่าทั้งสิ้น 12 เหตุ ซึ่งมีทั้งที่ตีความโดยกว้างและโดยแคบมีเหตุที่ค่อนข้างจะใช้กันบ่อยหรือเหตุที่ศาลจะนำมาวินิจฉัยในคดีที่ศาลมองแล้วว่าความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยานั้นไม่สามารถดำเนินต่อไปกันได้ ซึ่งมีเหตุอะไรบ้างนั้นทนายกฤษดาเคยเขียนบทความอธิบายไว้ดังนี้
การเริ่มต้นฟ้องคดีหย่านั้น
ตามปกติแล้วหากท่านมีปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องหย่า
ท่านควรจะโทรหรือปรึกษาทนายความเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประกอบพยานหลักฐานว่ามีเหตุที่จะฟ้องหย่าได้หรือไม่ เพื่อเล่าเรื่องหรือแจ้งรายละเอียดกับทนายความว่ารายละเอียดเกี่ยวกับการฟ้องหย่านั้นมีความเป็นไปได้หรือไม่
ในกรณีที่คดีความไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนมาก การวินิจฉัยคดีของทนายความประกอบพยานหลักฐานที่มีอยู่นั้นย่อมทำให้ความเป็นไปได้ในการฟ้องคดีเกิดขึ้นและมีโอกาสที่จะหย่าได้
ในกรณีที่คดีมีความยุ่งยากซับซ้อนทนายความจะวินิจฉัยพยานหลักฐานที่มีพฤติกรรมและพฤติการณ์ที่เกี่ยวกับเหตุที่จะฟ้องหย่าหากตรวจสอบแล้วพบว่าพยานหลักฐานในคดีนั้นและพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการฟ้องคดีมีเหตุเพียงพอที่สมควรฟ้องและมีโอกาสที่จะหย่าได้ทนายความจะดำเนินการฟ้องคดีแต่ในกรณีที่พยานหลักฐานไม่เพียงพอเมื่อทนายความตรวจสอบแล้วจะปรึกษาหารือกับท่านเกี่ยวกับแนวทางในการแสวงหาพยานหลักฐานอื่นใดเพื่อมาประกอบการฟ้อง
ค่าธรรมเนียมศาลโดยประมาณในการฟ้องหย่า
1.ฟ้องหย่าธรรมดาไม่มีสินสมรส
200 บาท ค่าส่งคำคู่ความ 500-1000 บาท
2.ฟ้องหย่าธรรมดา มีค่าเลี้ยงชีพ ค่าเลี้ยงดูบตร
200 บาท ค่าส่งคำคู่ความ 500-1000 บาท
3ฟ้องหย่า มีสินสมรส มีค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน ค่าเลี้ยงดูบตร
2 เปอร์เซ็นต์ของทุนทรัพย์ หักส่วนค่าเลี้ยงดู ค่าส่งคำคู่ความ 500-1000 บาท
ข้อมูลหรือเอกสารที่ต้องเตรียมให้ทนายความ ในการฟ้องหย่า
ปกติแล้วหากพยานหลักฐานค่อนข้างครบถ้วนแล้วการวินิจฉัยเหตุแห่งการฟ้องคดีและการเตรียมการในการฟ้องคดีนั้นย่อมลดความยุ่งยากลงซึ่งความจำเป็นของทนายความที่จะต้องร่างฟ้องนั้นเอกสารหรือหลักฐานที่ควรจะเตรียมมีดังนี้
1.บัตรประชาชน
2.ทะเบียนบ้าน
3.ใบทะเบียนสมรส
4.สูติบัตรบุตรผู้เยาว์
5.ประวัติส่วนตัวหรือประวัติการศึกษา
6.บันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีเหตุการณ์การรู้จักกันการอยู่กินร่วมกันที่อยู่หรือสถานที่ที่เคยอยู่กินกันและรายละเอียดการแยกกันอยู่หรือการหย่าร้างกัน
7.ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการสมรสหรือสัญญาที่เกิดหรือมีขึ้นก่อนหรือขณะสมรส
8.หลักฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าทำเนียมการศึกษาของบุตรผู้เยาว์หรือแผนการศึกษา
การฟ้องหย่า จะต้องขึ้นศาลกี่ครั้ง
ทนายความกฤษดาขอชี้แจงว่าตามปกติแล้วหน้าที่ส่วนใหญ่ในการดำเนินคดีหย่านั้นเป็นหน้าที่ของทนายความที่จะดำเนินการหรือประสานงานต่อศาลโดยส่วนมากการดำเนินการนั้นในการที่คู่ความจะต้องไปศาลนั้นความจำเป็นที่จะต้องไปจริงๆมีอย่างน้อย3ครั้ง
ซึ่งรายละเอียดที่จะต้องไปหรือขั้นตอนในการดำเนินการนั้นมีดังนี้
1.ปรึกษาและมอบพยานหลักฐานให้ทนายเพื่อดำเนินการฟ้องหย่า
2.ขั้นตอนการแต่งตั้งทนายและตรวจการร่างฟ้อง
3.ขั้นตอนการยื่นฟ้องต่อศาลและชำระค่าทำเนียม
4.ในกรณีที่มีบุตรจะต้องให้ปากคำต่อเจ้าพนักงานสถานพินิจภายใน7-15จะต้องมีการติดต่อเพื่อให้ปากคำ *ในขั้นตอนนี้ทางตัวความหรือผู้ที่ฟ้องคดีมีความจำเป็นจะต้องไปเท่านั้น
5.นัดไกล่เกลี่ยซึ่งจะเป็นนัดแรกหรือนัดที่นัดรวมกับนัดชี้สองสถานให้การหรือสืบพยาน
ในนัดนี้นั้นหมายความว่าในกรณีที่คู่ความทั้งสองฝ่ายคือโจทก์และจำเลยมาศาลศาลจะดำเนินการไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้หรือไม่หากมีการตกลงกันได้นั้นจะดำเนินการทำสัญญาประนีประนอมยอมความไป
หากตกลงกันไม่ได้และมีการยื่นคำให้การ ในคดีฟ้องหย่า
นั้นศาลจะ ดำเนินการชี้สองสถานหรือภาษาที่เข้าใจง่ายคือการกำหนดประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยว่ามีเรื่องอะไรบ้างเพื่อทำการสอบถามจำนวนพยานที่จะใช้ในการสืบพยานเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษา
แต่หากตกลงกันไม่ได้และไม่ได้ยื่นคำให้การ ในคดีฟ้องหย่า
นั้นศาลจะสอบถามจำเลยในโอกาสแรกก่อนว่าหากจำเลยมาศาลและประสงค์จะต่อสู้คดีหรือไม่หากมาศาลและประสงค์จะต่อสู้คดี รวมทั้งยังอยู่ในระยะเวลาที่มีสิทธิ์ยื่นคำให้การหรือไม่หากยังอยู่ในระยะเวลาที่ยังมีสิทธิ์ยื่นคำให้การนั้นก็จะกำหนดให้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาแต่หากเป็นกรณีที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้น หากศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้วนั้นหากจำเลยมีทนายความจำเลยจะมีสิทธิ์เพียงว่าซักค้านในพยานหลักฐานโจทก์โดยไม่มีสิทธิ์ยื่นคำให้การ
เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อสืบพยาน ในคดีฟ้องหย่า
1.หลักฐานเกี่ยวกับอาชีพ
2.หลักฐานเกี่ยวกับชื่อสกลุ ของ เรา และคู่สมรส
3.หลักฐานเกี่ยวกับ ความอบอุ่นและสถานะทางการเงิน
4.หลักฐานเกี่ยวกับบุตร การศึกษาเล่าเรียน
5.หลักฐานเกี่ยวกับเหตุหย่า
6.หลักฐานเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่สมควรของ คู่สมรส
7.หลักฐานเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
8.หลักฐานเกี่ยวกับเหตุในการถอนอำนาจปกครอง
ข้อควรระวังก่อนสืบพยาน ในคดีฟ้องหย่า
ตรวจเช็คคำฟ้องและคำให้การ ของตนเองและคู่กรณีว่ามีอะไรขาดตกบกพร่องหรือควรเสริมหรือไม่
ตรวจเช็คและตรวจดูหรือดำเนินการออกหมายเรียกก่อนการสืบพยานและเตรียมพยานหลักฐานให้เรียบร้อย
ขั้นตอนการสืบพยาน ในคดี ฟ้องหย่า
โดยส่วนใหญ่แล้วศาลมักจะให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อน ตามข้ออ้างที่ปรากฎในคำฟ้อง และสืบแก้ในส่วนที่จำเลยต่อสู้ หลังจากนั้นจะให้จำเลยสืบแก้ วิธีการคือนำพยานเข้าเบิกความเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนเเต่ละฝ่าย รายละเอียดทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตเขียนบทความเพื่ออธิบายอีกครั้งในครั้งต่อไป
หลังสืบพยาน ศาลจะมีคำพิพากษาภายในกี่วัน ในคดี ฟ้องหย่า
โดยปกติแล้วศาลจะมีคำพิพากษาภายใน30-45วันแล้วแต่เนื้อหาแห่งคดี
ในกรณีไม่พอใจคำตัดสิน สามารถทำอย่างไรได้บ้าง ในคดีฟ้องหย่า
สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลถึงประเด็นที่ไม่เห็นด้วย ต่อศาลอุทธรณ์
บทความอื่นๆเพิ่มเติมที่สำคัญประกอบการฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่ฟ้องหย่าได้ไหม อ่านบทความ คลิก
ฟ้องหย่าชาวต่างชาติ อ่านบทความ คลิก
หรืออ่านบทความเกี่ยวกับการหย่าอื่นๆ คลิก
หากมีปัญหาต้องการฟ้องหย่า เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน หรือคดีครอบครัว สามารถปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th